การประเมินการสั่งใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

จิตตวดี กมลพุทธ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการใช้ยา cefoperazone/sulbactam (C/S) ของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ในด้านรูปแบบการสั่งใช้ยา ผลการรักษา และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาที่ประเมินการใช้ยาแบบควบคู่ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่ใช้ยา C/S ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ผู้วิจัยประเมินการใช้ยาตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและบำบัด  ผลการวิจัย: ในช่วงเวลาของการวิจัย ผู้ป่วยใช้ยา C/S  จำนวน 32 ราย แพทย์สั่งใช้ยาแบบคาดการณ์ล่วงหน้าในผู้ป่วย จำนวน 29 ราย (ร้อยละ 90.63) ตำแหน่งที่พบเชื้อมากที่สุด คือ ปอด ซึ่งพบในผู้ป่วย จำนวน 20 ราย (ร้อยละ 62.50) การประเมินการสั่งใช้ยาพบว่ามีความสอดคล้องกับแนวทางการใช้ยาที่กำหนดไว้ จำนวน 25 ราย (ร้อยละ 78.12) มีการสั่งใช้ยาในขนาดยาที่ไม่เหมาะสม จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 12.50) ไม่มีการติดตามการทำงานของไตหลังจากผู้ป่วยได้รับยามากกว่า 7 วัน ในผู้ป่วย จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 9.37) ด้านผลการรักษาพบว่า ผู้ป่วยดีขึ้นหรือหายขาด จำนวน 13 ราย (ร้อยละ 40.63) ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 18.75) เนื่องจากเป็นผู้ป่วยสูงอายุและเสียชีวิตจากโรคอื่นที่เป็นร่วมด้วย มีการปรับเปลี่ยนยาปฏิชีวนะ จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 9.37) มีการส่งต่อผู้ป่วย จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 9.37) พบภาวะผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 6.25) มูลค่าการใช้ยารวมเท่ากับ 85,827 บาท (2682 ต่อราย) มูลค่ายาที่สูญเสียจากการใช้ยาที่ไม่สอดคล้องตามแนวทางการใช้ยาและผลการรักษาผู้ป่วยไม่ดีขึ้น มีมูลค่า 7,380 บาท (ร้อยละ 8.59 ของมูลค่ายา C/S ที่ใช้ไปทั้งหมด)  สรุป: การสั่งใช้ยา C/S ในโรงพยาบาลมีความเหมาะสมปานกลาง โรงพยาบาลควรพัฒนาแนวทางการใช้ยา โดยควรติดตามการทำงานของตับและไตในผู้ป่วยที่ได้รับยามากกว่า 7 วัน และให้ vitamin K เพื่อป้องกันผลไม่พึงประสงค์ต่อเกล็ดเลือด นอกจากนี้ควรมีการให้ข้อมูลแก่บุคคลากรทางการแพทย์ในเรื่องการสั่งใช้ยา C/S ตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัด เมื่อการใช้ยาไม่ตรงตามแนวทางการใช้ยา เภสัชกรควรแจ้งเตือนแพทย์และติดตามผลหลังการให้คำแนะนำ โรงพยาบาลควรควบคุมและประเมินการใช้ยา C/S ของโรงพยาบาลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Phumart P, Phodha T, Thamlikitkul V, RiewpaI- boon A, Prakongsai P, Limwattananon S. Health and economic impacts of antimicrobial resistant infections in Thailand: a preliminary study. Journal of Health Systems Research 2012; 6: 352-60.

2. Giske CG, Monnet DL, Cars O, Carmeli Y. Clinical and economic impact of common multidrug-resist- ant gram-negative bacilli. Antimicrob Agents Chemother 2008; 52: 813-21.

3. Gaynes R, Edwards JR. Overview of nosocomial infections caused by gram-negative bacilli. Clin Infect Dis 2005; 41: 848-54.

4. Rew W, Pan H, Wang P, Lan L, Chen W, Wang Y et al. Clinical analysis of pulmonary infection in hemodialysis patients. Exp Ther Med 2014; 7: 1713-7.

5. Werarak P, Kiratisin P, Thamlikitkul V. Hospital-acquired pneumonia and ventilator-associated pneumonia in adults at Siriraj Hospital: etiology, clinical outcomes, and impact of antimicrobial resistance. J Med Assoc Thai 2010; 93(Suppl 1): S126-38.

6. Werarak P, Waiwarawut J, Tharavichikul P, Pothirat C, Rungruanghiranya S, Geater SL et al. Acinetobacter baumannii nosocomial pneumonia in tertiary care hospitals in Thailand. J Med Assoc Thai 2012; 95(Suppl 2): S23-33.

7. Park SY, Choo JW, Kwon SH, Yu SN, Lee EJ, Kim TH et al. Risk factors for mortality in patients with Acinetobacter baumannii bacteremia. Infect Chemother 2013; 45: 325-30.

8. National Antimicrobial Resistance Surveillance Center, Thailand. Antibiogram 2015 [online]. 2015 [cited 2016 Jan 9]. Available from: http://narst. dmsc.moph.go.th/

9. National Drug System Development Committee. National List of Essential Medicines [Internet]. 2015 [cited 2016 Jan 9]. Available from: http://drug .fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/

10. Willemsen I, Groenhuijzen A, Bogaers D, Stuur- man A, Keulen PV, Kluytmans J. Appropriateness of antimicrobial therapy measured by repeated prevalence surveys. Antimicrob Agents Chemother 2007; 51: 864-7.

11. Papsamoot N, Chanbancherd P, Budnampet K, Pumapirat W, Kumkaew J. development of a guideline of cefoperazone/sulbactam use in Nop- parat Rajathanee hospital Thai Pharm Health Sci J 2010; 5: 107-13.

12. Augtametagul P. Drug utilization evaluation of cefoperazone/sulbactam in a general hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice 2014; 6: 77-83.