ถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพัฒนาการและปัจจัยแห่งความสำเร็จของชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ แกนนำชมรมฯ สมาชิกชมรมฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชมรมฯ การถอดบทเรียนทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ผลการวิจัย: ชมรมฯ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2555 ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรพยา มีสมาชิกเริ่มแรก 10 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้แทนประชาชน ในปี 2557 สมาชิกเพิ่มเป็น 54 คน ครอบคลุมสมาชิกจากเทศบาลตำบลตลุก ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และปราชญ์ชาวบ้าน กิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่จัดเน้นตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกมีบทบาทร่วมคิด ร่วมทำ และหาแหล่งงบประมาณ แต่ไม่พบการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จเชิงรูปธรรมที่ชัดเจน ผลงานสำคัญคือ การแก้ไขปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร การแจ้งเบาะแสร้องเรียนการจัดฟันแฟชั่นเถื่อนและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกินจริง และการจัดตั้งแผงจำหน่ายผักและข้าวปลอดสารพิษ ผลการดำเนินงานทำให้ชมรมฯ ได้รับรางวัลมากมายในระดับภูมิภาค ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ แกนนำชมรมฯ มีทักษะในการทำงานชุมชน การได้รับการการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลและกองทุนสุขภาพตำบล การมีสมาชิกที่มาจากหลายภาคส่วน และการมีภาครัฐเป็นที่ปรึกษา สรุป: แม้ชมรมฯ จะกำเนิดจากนโยบายภาครัฐ แต่พัฒนาการของชมรมฯ ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ผู้เกี่ยวข้องควรพัฒนาศักยภาพชมรมฯ ให้เป็นองค์กรภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ซึ่งมีอิสระในการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของชมรมฯ ที่เป็นรูปธรรม ภาครัฐต้องปรับบทบาทเป็นที่ปรึกษา และผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและทรัพยากรตามความเหมาะสม
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Hirunra P. Formation of woman groups in rural area: a case study of Ban Si Don Hun, Chomphu sub-district, saraphi district, Chiang Mai province [master thesis]. Chiang Mail: Chiang Mai University; 1996.
3. NGO Coordinating Committee on Development in Northeast. Esan Ngos: alternative power for change. Khon Kaen: Pimdee Publishing; 2000.
4. Deepo N, Pladpol S, Wasusophapol S, Baiya T. Societal organization and development on Tambol Civil Society : case study in Tambon Muang Jung, Nan Province. [online]. 2000 [cited 2015 Mar 9]. Available from: URL:http://kb.hsri.or.th/dspace/han dle/11228/1680?locale-attribute=th.
5. Chiewsothorn A. Group dynamics. Chiang Mail: Chiang Mai University; 1989.
6) Jindawattana A, et al. Research report on proposal for the direction of support for health promotion community. Nontaburi: National Health System Reform Office; 2004.
7) Ongkasea D. Women’s group collaboration and development in rural communities. [master thesis]. Chiang Mail: Chiang Mai University; 1997.