ผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้พาราควอตและแนวทางจัดการความเสี่ยง กรณีศึกษา ตำบลปงสนุก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

Main Article Content

พันธ์เทพ เพชรผึ้ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้พาราควอตในการเกษตรและจัดทำโครงการนำร่องเพื่อจัดการความเสี่ยงโดยใช้กลไกแบบมีส่วนร่วมของชุมชน วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางซึ่งเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ใช้พาราควอตในการเกษตร 147 คนที่เลือกมาอย่างสุ่มจากทั้งหมด 220 คนในตำบลปงสนุก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน การเก็บข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายใช้การสัมภาษณ์ตามแบบบันทึกข้อมูลที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยพัฒนาแนวทางจัดการความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้มาตรการการลดปริมาณการใช้พาราควอต ผลการวิจัย: เกษตรกรร้อยละ 54.4 รายงานว่าเกิดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพจากการใช้พาราควอต โดยร้อยละ 41.5 เกิดผิวหนังอักเสบ ร้อยละ 17.0 เกิดอาการตาอักเสบ ร้อยละ 6.8 เกิดภาวะหายใจลำบากหรือไอ ร้อยละ 12.2 เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 2.0 เล็บมีลักษณะผิดรูป และร้อยละ 12.9 เกิดอาการเวียนศีรษะ เพศชายรายงานว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าเพศหญิง 2.5 เท่าตัว (odds ratio = 2.50; 95%CI=1.1-5.7, p=0.039)  ปริมาณการใช้พาราควอตในไร่ข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูฝนที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ลิตรสัมพันธ์กับโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ 1.03 เท่า (odds ratio = 1.03; 95%CI= 1.00-1.06, p=0.039) การไม่สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกหรือสวมเป็นครั้งคราว สัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสเกิดผลกระทบ 6.03 เท่าตัว (95%CI = 2.55-14.26, p<0.001) การไม่สวมถุงมือหรือสวมเป็นครั้งคราวเพิ่มโอกาสเกิดผลกระทบ 3.80 เท่าตัว (95%CI = 1.70-8.52, p<0.001) ชุดและอุปกรณ์ป้องกันที่เกษตรกรมักปฏิเสธการใส่เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ผ้ายางคลุมตัว แว่นกันสารเคมี ถุงมือ หน้ากากปิดปากปิดจมูก และเสื้อแขนยาว (ร้อยละ 67.4, 53.1, 8.8, 6.1, และ 2.0 ตามลำดับ)  สำหรับโครงการนำร่องเพื่อจัดการความเสี่ยงที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษานี้คือ การใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ผสมเพื่อลดปริมาณการใช้พาราควอตในการกำจัดวัชพืช และการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สรุป: ผลกระทบทางสุขภาพเกือบครึ่งหนึ่งเกิดที่ผิวหนัง การใช้พาราควอตปริมาณมากเกิดจากการทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนพาราควอตบางส่วนในการกำจัดวัชพืชและการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจจะเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบทางสุขภาพได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Agricultural Regulatory Office, Department of Agriculture. Summary report on the import of dangerous substances for agriculture uses [online]. 2014 [cited 2015 Feb 24]. Available from: URL: http://www.doa.go.th/ard/FileUpload/Hazzard/ StatisticsHazardTop57.pdf

2. Wananukul W, Sriapha C, Tongpoo A, Sadabthammarak U, Wongvisawakorn S, Kaojarern S. 2007. Human poisoning in Thailand: The Ramathibodi Poison Center’s experience (2001–2004). Clin Toxicol 45:582-8.

3. UNEP. 1999. PIC CIRCULAR X-December 1999. Interim Secretariat for the Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade. United Nations Environment Programme. [online]. 1999 [cited 2015 Feb 21]. Available from: URL: http://www.pic.int/en/Circular/ CIRC10EN.pdf.

4. Nan Agriculture Office. Knowledge on innovation for reducing the use of pesticides in growing corn at Banluang district, Nan province [online]. 2014 [cited 2015 Feb 24]. Available from: URL: http:/ /www.nan.doae.go.th/lamyaj2557/bl2557.2.pdf.

5. Sanannam A, Tartrakoon W. Potential study of semi-bio pig production for small-scale farmer application. Journal of Community Development Research 2010; 3: 55-64.

6. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970; 30: 607-10.

7. Bureau of Occupational and Environmental Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Handbook on the provision of occupational health services for health workers: clinics for farmers. The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Limited; 2013.