การบูรณาการการเรียนรู้ชุมชนในหลักสูตรบริบาลเภสัชกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพรรณนาผลการเรียนรู้ชุมชนของนิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 2) เพื่อสรุปความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการเรียนรู้ชุมชน วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา การดำเนินกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ชุมชนจัดทำผ่านรายวิชาทางเภสัชศาสตร์สังคมโดยมีกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือ การเรียนรู้ชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น และการสำรวจสถานการณ์สุขภาพชุมชน นิสิตจำนวน 101 คนได้ฝึกใช้เครื่องมือเรียนรู้ชุมชนและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสุขภาพในชุมชนขนาดประมาณ 200 ครัวเรือน การวิเคราะห์ผลการสำรวจสุขภาพใช้สถิติพรรณนา หลังจากกิจกรรมเสร็จสิ้น ผู้วิจัยสุ่มเลือกตัวแทนนิสิตจำนวน 15 คนให้แสดงความคิดเห็นต่อกิจกรรมด้วยการตอบคำถามปลายเปิด 3 ข้อ และสรุปข้อมูลความคิดเห็นด้วยวิธีการวิเคราะห์ประเด็น ผลการวิจัย: นิสิตได้สร้างผลงานตามเครื่องมือเรียนรู้ชุมชนครบทั้ง 7 ชิ้น และเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจสุขภาพอย่างสมบูรณ์จากประชาชน 111 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา พบพฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 18.9 สูบบุหรี่ร้อยละ 12.6 มีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 57.3 และมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานใน 12 ปีในระดับสูงร้อยละ 58.3 ร้อยละ 26.5 ของผู้ตอบจะซื้อยาเพื่อรักษาตัวเองเป็นวิธีแรกในการรักษา และพบว่ามีผู้ที่เคยใช้ยาชุดถึงร้อยละ 33.0 นิสิตมีความเห็นต่อกิจกรรมบูรณาการเรียนรู้ชุมชนว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน การเรียนรู้สุขภาพชุมชน และการฝึกทักษะการทำงานในชุมชน แต่อยากให้ปรับจำนวนชั่วโมงที่ออกชุมชนให้เหมาะสมและควรมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมออกชุมชนด้วย สรุป: การบูรณาการการเรียนรู้ชุมชนในหลักสูตรบริบาลเภสัชกรรม เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคี คือ ชุมชนได้ข้อมูลทราบสถานการณ์สุขภาพ และนิสิตได้ฝึกทักษะการทำงานในชุมชน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Primary Care Pharmacy Working Group. Handbook for pharmacist to work in primary care unit. Bangkok: Office of Health Consumer Protection Plan; 2011.
3. Pearson ML, Hubball HT. Curricular integration in pharmacy education. Am J Pharm Educ 2012; 76:1-8.
4. Smith MAM, Koronkowski MJ, Petersen NM. Enhancing student learning through integrating community-based geriatric educational outreach into ambulatory care advanced practice experiential training. Am J Pharm Educ 2004; 68: 1-12.
5. Chaiyasong S, Saramunee K, Arpasrithongsahul S, Ploylearmsang C, Phadungkit M, Kanjanasilp J, et al. Effects of health promotion and quality use of medicine project in Makok community. Mahasarakham: Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University; 2014.
6. Jungsateansap K, Tengrung K, Pinkaew R, Petkong W. Community Life- 7 Instruments help working in community more easily, effectively and fun. Nonthaburi: Sooksala; 2012.
7. Aekplakorn W. Development of diabetes risk score. Bangkok: Center of Community Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi hospital; 2005.
8. Ploylearmsang C, Satayavongthip B, Suttajit S, Arpasrithongsakul S. Student’s professinalism and leasership influenced pharmacy education and institutional socialisation. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2006; 2: 1-12.
9. Jaisa-ard R, Kanjanarach T. Needs for competency improvement in pharmacy service at a primary care level. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 10: 71-9.
10. Thongkumchareaon R. Family medicine and elderly health: chalenging role in primary care. The Thai Journal of Primary Care and Family Medicine 2009; 1: 53-6.
11. Wibunpholprasert S. Thai health profile. Bangkok: Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health; 2011.
12. Yooprasert R. Evaluation of the model solving the use of Ya-Chud. Nonthaburi: Food and Drug Administration of Thailand; 2000.
13. Thai Pharmaceutical Manufacturers Association. Consumers mostly complain problem regarding Ya-Chud to FDA. Khow-sod. February 2, 2010: 28.
14. Tunsatean P. Self-treatment using medicine among Thais. Journal of Hematology and Transfusion Medicine 2009; 19: 309-16.
15. Gillam S. What we mean by community orientation – and how do we teach it?. Educ Prim Care 2010; 21: 68-71.