การประเมินการดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในชุมชนของจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พรรณนภา ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของการดำเนินงานของศูนย์แจ้งเตือนภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนของจังหวัด   ศรีสะเกษ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง CIPP   วิธีการวิจัย: การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 17 คน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์แจ้งเตือนภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้ง 17 แห่ง พร้อมทั้งสังเกตการปฏิบัติงานในศูนย์ และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลทำระหว่างวันที่ พฤษภาคม 2557-ธันวาคม  2557  การวิเคราะห์เนื้อหาทำใน 4 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ผลการวิจัย: ในด้านบริบทพบว่า นโยบายระดับจังหวัดที่กำหนดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ส่วนในด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ด้านงบประมาณ สื่อประชาสัมพันธ์  บุคลากร แผนการดำเนินงาน และสถานที่ เพียงพอและมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงาน ในด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า มีจุดเด่นของการดำเนินงานเป็นเครือข่ายที่มีทีมงานที่เข้มแข็งและการให้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ แต่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลใน single window และอินเทอร์เน็ตของผู้มีส่วนร่วมในชุมชน ส่วนในด้านผลผลิต มีการใช้มาตรการทางสังคมร่วมด้วย ประชาชนตื่นตัวจากการที่ได้มีส่วนร่วม การได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง การเข้าถึงกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ง่ายขึ้นทั้งในด้านของการแจ้งเรื่องร้องเรียน และสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นปัญหาและทราบผลได้อย่างรวดเร็ว  จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 26 เรื่อง ศูนย์สามารถจัดการเรื่องร้องเรียนจนได้ข้อยุติจำนวน 24เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 92.30     สรุป: ระบบการจัดการข้อร้องเรียนเชิงรุกควรมีในทุกพื้นที่โดยการเพิ่มจำนวนศูนย์แจ้งเตือนภัยฯ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้มากขึ้น    แรงขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์แจ้งเตือนภัยฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การพัฒนานโยบายสาธารณะของชุมชนโดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายในรูปของเทศบัญญัติหรือข้อตกลงในการจัดการตนเองในชุมชนหรือมาตรการทางสังคม  การพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่จำเป็น การนำเสนอประเด็นที่เป็นปัญหาในพื้นที่เพื่อผลักดันให้เป็นวาระในสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด และการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2550. Royal Gazette No. 124, Part 47A (Aug 24, 2007).

2. Compliant Management Center, Ministry of Public Health. Operating procedure for compliant management [online]. 2012 [cited 2015 Feb 18]. Available from: URL: http://ictapp.moph.go.th/ser vicelink/complaint/index.php?page=vision.

3. Center for Surveillance and Compliant Processing, Food and Drug Administration. Procedure for compliant management: criteria for preliminary screening [online]. 2014 [cited 2014 Nov 20]. Available from: URL::http://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/index.php/.

4. Division of Consumer Protection and Public Health Pharmacy, Srisaket Provincial Public Health Office. Summary of the activities on consumer protection during 2010-2014. Srisaket: Srisaket Provincial Public Health Office; 2015.

5. Division of Consumer Protection and Public Health Pharmacy, Srisaket Provincial Public Health Office. Plans for consumer protection. Srisaket: Srisaket Provincial Public Health Office; 2014.

6 Stufflebeam DL. The CIPP model for evaluation. In: Stufflebeam DL, Kellaghan T, editors. The international handbook of educational evaluation. Boston, MA: Kluwer Academic Publishers; 2003.

7. Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Procedures for processing compliant of health services from consumers [online]. 2013 [cited 2015 Feb 18]. Available from: URL: http://pmsn.hss.moph.go.th/uploadFiles/news/N000000013829179.pdf

8. Meeprempree W. Establishment of compliant management system for senate standing committee [online]. 2013 [cited 2015 Feb 18]. Available from: URL: http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/sec/5/Main(กใบริหาร)/21ผลงานที่ปรึกษา/2556/06รวมเล่มที่ปรึกษาวราภรณ์มีเปรมปรีดิ์.pdf.

9. Sornlertlumvanich P, Pinjareon S. Complaint management at Songklanagarind hospital. Songkla Med J 2012; 30: 277-285.