ความชุกและลักษณะของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ภาณุ วิริยานุทัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ตัวอย่างคือ ร้านชำ 173 ร้าน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลงาวและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลทั้ง 12 แห่งในอำเภอ ซึ่งเลือกมาจากประชากรร้านชำทั้งหมด 316 ร้าน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามพื้นที่รับผิดชอบของสถานพยาบาลของรัฐ ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ขายในร้านชำโดยใช้แบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของร้านชำ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่าย แหล่งที่มาของยา การเก็บรักษายาที่จำหน่าย และเหตุผลในการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ ผู้ช่วยวิจัยเป็นผู้สังเกตยาที่มีจำหน่ายและถ่ายรูป พร้อมกับบันทึก


ชื่อการค้า ส่วนประกอบ ความแรง รูปแบบของยา และเลขทะเบียนยา ผลการวิจัย: ความชุกของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในอำเภองาว จังหวัดลำปางเท่ากับร้อยละ 37.0 กลุ่มยาปฏิชีวนะที่มีจำหน่ายมากที่สุด คือ กลุ่ม tetracycline รองลงมาเป็นกลุ่ม penicillins ร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่อยู่ห่างจากสถานพยาบาลของรัฐในช่วง 1-5 กิโลเมตร ส่วนมากเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามานาน 1-10 ปี การจำหน่ายสินค้าเป็นแบบขายปลีกเกือบทุกร้าน แหล่งที่มาของยาปฏิชีวนะของร้านชำทุกแห่งคือร้านขายยา ผู้ขายส่วนใหญ่กล่าวว่า เหตุผลของการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ คือ การถามหาของคนในชุมชน  ปัจจัย 4 ประการที่มีความสัมพันธ์กับการจำหน่ายยาปฏิชีวนะในร้านชำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ จำนวนปีที่เปิดร้านชำ (p=0.010) ลักษณะการจำหน่ายสินค้า (p=0.003) การถามหาของคนในชุมชน และการแนะนำจากแหล่งที่ร้านชำไปซื้อยา (p<0.001) สรุป: ปัญหาการจำหน่ายยาปฏิชีวนะของร้านชำยังคงมีอยู่ในชุมชนและสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของคนในชุมชน การแก้ไขปัญหาเรื่องยาในชุมชนนั้น ต้องเข้าใจมุมมองของคนในชุมชนต่อการใช้ยาและปรับทัศนคติในการมองปัญหาด้านยาให้เหมาะสม โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Chongtrakul P. Guidelines for rational uses of antibiotics. 2nd ed. Bangkok: Aksorn graphic and design; 2011.

2. National Antimicrobial Resistance Surveillance Center of Thailand. Situations of drug resistance in Thailand [online]. 2014 [cited 2014 Oct 30]. Available from: URL: http://nih.dmsc.moph.go.th /fsheet/showimgpic.php?id=5.

3. Phumart P, Phodha T, Thamlikitkul V, Riewpaiboon A, Prakongsai P, Limwattananon S. Health and economic impacts of antimicrobial resistant infections in Thailand: a preliminary study. Journal of Health Systems Research 2012; 6: 352-60.

4. Health System Research Institute. Drug resistant microorganism: crisis and solution for Thai society. HSRI Forum 2012;1: 3–6.

5. Pentongdee K. Interventions for inappropriate drugs in communities: case studies of Yasothorn. In: Sirisinsuk Y, editors. Report on situation on drug system in 2011. Bangkok: Usa printing; 2011. P. 64-5.

6. Plengchai S. Interventions for inappropriate distribution of drugs in communities. Roi-Et: Health Consumer Protection Program; 2011. Report No.: 52-00-0360 / 52-12.

7. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970; 30: 607-10.

8. National Committee on Drug System Development. Essential drug list B.E. 2556. Bangkok: Publishing House of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2013.

9. Worrall GJ. Acute sore throat. Can Fam Physician 2007;53:1961-62.