การจัดทำกรอบบัญชีรายการยาของจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อจัดทำกรอบบัญชีรายการยาของจังหวัดพะเยาที่มีลักษณะลดหลั่นตามระดับของหน่วยบริการ วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของเภสัชกรทุกโรงพยาบาลในจังหวัด ผู้วิจัยมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและร่วมดำเนินการให้ได้กรอบรายการยาของจังหวัด คณะทำงานจัดซื้อยาร่วมกันของจังหวัดซึ่งมีองค์ประกอบ คือ เภสัชกรผู้มีหน้าที่จัดซื้อยาของทุกโรงพยาบาลในจังหวัดเป็นผู้ร่วมจัดทำบัญชีรายการยาของจังหวัด และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาในระดับจังหวัด ซึ่งมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นประธาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป ผู้แทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเป็นกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ใช้กรอบรายการของจังหวัด ผลการวิจัย: การคัดเลือกรายการยาของโรงพยาบาลใช้กระบวนการตามแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2542 ปัจจัยที่มีผลต่อทำกรอบบัญชีรายการยาจังหวัด ได้แก่ สถานะการเงินและนโยบายของผู้อำนวยการโรงพยาบาลในเรื่องการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านยา กรอบรายการยาของจังหวัดซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาระดับจังหวัด มีลักษณะลดหลั่นกันในระดับของโรงพยาบาล (โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชน) แม้ว่ารายการยาที่มีใช้เฉพาะโรงพยาบาลชุมชนเหลือเพียง 24 รายการ แต่เป็นรายการที่มีชื่อสามัญเดียวกับยาของโรงพยาบาลทั่วไปแต่ขนาดความแรงน้อยกว่า และบางรายการเป็นยาที่โรงพยาบาลทั่วไปผลิตทำให้ไม่มีรายการยาในแผนจัดซื้อของโรงพยาบาลทั่วไป ส่วนรายการยาของโรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่งยังไม่สามารถจัดให้มีลักษณะลดหลั่นกัน เนื่องจากรายการยาที่แตกต่างกันส่วนใหญ่เป็นรายการยาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาเป็นผู้ใช้ การพิจารณาคัดเลือกควรใช้ข้อมูลการเปรียบเทียบต้นทุนประสิทธิผลระหว่างยาที่รักษากลุ่มอาการหรือโรคเดียวกัน ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย รวมทั้ง สถานะการเงินของโรงพยาบาล สรุป: การจัดทำกรอบบัญชีรายการยาเพื่อให้มีลักษณะลดหลั่นกันตามศักยภาพของโรงพยาบาลนั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้อำนวยการโรงพยาบาล แพทย์ผู้สั่งจ่าย และเภสัชกร ซึ่งควรต้องมีการประชุมหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหลายครั้ง รวมทั้งมีการใช้ข้อมูลวิชาการที่ชัดเจน ได้แก่ ข้อมูลทางเภสัชเศรษฐศาสตร์มาประกอบการคัดเลือกรายการยาที่เหมาะสม
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. World Health Organization. WHO policy perspectives of medicines–the selection of essential medicines [online]. 2002 [cited 2015 Feb 1]. Available from: URL:http://whqlibdoc.who.int/hq/ 2002/who_edm_2002.2.pdf
3. World Health Organization. WHO medicines strategy: expanding access to essential drugs [online]. 2001 [cited 2015 Feb 10]. Available from: URL:http://apps.who.int/gb/archive/pdf-files/EB109/eeb1097.pdf
4. Food and Drug Administration. Selection of national list of essential medicines [online]. 2013 [cited 2015 Jan 31]. Available from: URL:http://drug.fda. moph.go.th:81/nlem.in.th/principles/medicine/measurement.
5. Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. Thailand Health Profile 2008-2010. Bangkok : Publishing House of the War Veterans Organization; 2011.
6. Limwattananon C, Thammatacharee N, Waleekha- chonloet O, Thamwanna P, Limwattananon S, Srithamrongsawat S. expenditure of civil servant medical benefit scheme and the use of non-essential medicines. Journal of Health Systems Research 2011; 5:149-59.
7. Office of the Permanent Secretary for Public Health Ministry. Improving the efficiency of the system for management of medical supplies. Publishing House of the War Veterans Organization; 1999.
8. Kanokwongnuwat P. Model of hospital manage-ment on breakthrough financial crisis. Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center 2013; 30: 106–22.
9. Pongcharoensuk P, Saengnapakas A, Pattanapra- teep O. Determination of 2010 reimbursed drug price and its budget impaction public hospitals in Thailand. Journal of Health Systems Research 2012; 6: 185–92.
10. Teerawattananon Y. Assessing the feasibility of using economic evaluation in reimbursement of health care services in Thailand [dissertation]. England: University of East Anglia; 2006.
11. Sittisuk S. Thai clinical practice guideline for ischemic heart diseases. 2nd ed. Bangkok: Srimaung press; 2014.