การเสริมสร้างความเข้มแข็งของมาตรการควบคุมการผลิตน้ำแข็งหลอดในจังหวัดชัยนาท

Main Article Content

มาริสา ไก่แก้วกาญจนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อค้นหาแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิธีการกำกับดูแลน้ำแข็งหลอดทั้งในช่วงก่อนและหลังออกสู่ตลาดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท และศึกษาปัจจัยที่ทำให้น้ำแข็งหลอดตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ วิธีการวิจัย : งานวิจัยนี้วิเคราะห์การดำเนินงานที่ผ่านมาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 ถึง 2557 ได้แก่ ผลการตรวจสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านจุลินทรีย์ของน้ำแข็งหลอดที่เก็บ ณ สถานที่ผลิต และผลการดำเนินคดี ผู้วิจัยยังได้สัมภาษณ์พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และใช้การสนทนากลุ่มระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ด้านอาหารในเขตสุขภาพที่ 3 เพื่อค้นหาสิ่งที่ควรปรับปรุงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่วิธีการกำกับดูแลน้ำแข็งหลอด ผลการวิจัย : มาตรการในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังออกสู่ตลาดที่ควรปรับปรุง คือ การเรียกเอกสารผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีของแหล่งน้ำผิวดินที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็งหลอด และผลการตรวจวิเคราะห์น้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต นอกจากนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจประเมินควรได้รับการพัฒนาในความรู้เรื่องกระบวนการผลิตและเครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต การศึกษายังพบว่า หลักเกณฑ์ GMP สุขลักษณะทั่วไปที่ใช้ประเมินสถานที่ผลิตน้ำแข็งหลอดขาดความจำเพาะและครอบคลุมโดยเฉพาะหัวข้อการควบคุมกระบวนการผลิต จากการศึกษาพบว่า สุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเป็นปัจจัยหลักข้อหนึ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์น้ำแข็งหลอดตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทได้บังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแข็งหลอดตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ โดยดำเนินคดีกับผู้ประกอบการทุกรายที่สถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์ตกมาตรฐาน แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มาตรการที่ควรใช้ คือ การร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP สรุป : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทควรพัฒนาทักษะของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจประเมินสถานที่และมุ่งแก้ไขสุขลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรในการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรปรับปรุงเกณฑ์ GMP ให้มีความจำเพาะและครอบคลุมมากขึ้น พนักงานเจ้าหน้าควรเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิตที่สำคัญซึ่งมีผลต่อคุณภาพในขั้นตอนกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดเพื่อเป็นการป้องกันและลดปัญหาการตกมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Public health ministerial declaration No. 193 in 2000 on manufacturing process, contraption and preservation. Royal Gazette No. 118, Part 6 (Jan 24, 2001).

2. Public health ministerial declaration No. 78 in 1984 on ice. Royal Gazette No. 101, Part 23 (Feb 22, 1984).

3. Public health ministerial declaration No. 137 in 1991 on ice. Royal Gazette No. 108, Part 94 (May 28, 1991).

4. Tantrakarnapa K, Makkaew P, Vatanasomboon P, Kengganpanich T. Association of sanitary conditions and bacteriological quality of tube ice in ice plants in metropolitan Bangkok, Thailand. Environment Asia 2010; 3: 8-12.

5. Phithaksantayothin P. Application of HACCP principles in tube ice manufacturing [master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2008.

6. Sirawan S, Sadjawattana T, Phromhirunnukul P, Teerasmith K, Sithiopakul S, Chamchooklin S, Kengkoontod B. Production process with the highest risk of contamination with Coliform bacteria in drinking water and ice factories in the Inspector area no.13 in 2006. Nakhon Ratchasima: Office of Disease Prevention and Control Region 5; 2006.

7. Order of Food and Drug Administration declaration No. 204 in 2007 on Inspection of food production sites according to Public health ministerial declaration No. 193 and its amendments In 2000, April 30, 2007.

8. Bureau of Food Control. A handbook on the inspection of ice production sites according to general GMP. Nonthaburi: Food and Drug Adminstration; 2002.

9. Food Control Division. A handbook on the inspection of food production sites according to general GMP. Nonthaburi: Food and Drug Adminstration; 2012.