พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สมจิต อสิพงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตลอดจนความรู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วย ระเบียบวิธีวิจัย:  การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 370 คนที่เลือกมาแบบตามสะดวก ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลราษีไศล จำนวน 70 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยนี้เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์และความรู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนผู้ช่วยผู้วิจัยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ทั้ง 15 แห่งในอำเภอราษีไศล แห่งละ 1 คน ซึ่งผ่านการอบรมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยและการสัมภาษณ์ ผู้ช่วยวิจัยสัมภาษณ์ผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรังของแต่ละ รพสต. ๆ ละ 20 คน ผลการวิจัย: ตัวอย่างร้อยละ 51.4 มีความรู้ในเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเหมาะสม น้อยกว่า 6 คะแนนจากคะแนนเต็ม 13 คะแนน ตัวอย่าง 80 ราย (ร้อยละ 21.6) ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ ในจำนวนนี้ 48 ราย (ร้อยละ13.0) ใช้ยาน้ำสมุนไพรแผนโบราณ  ตัวอย่าง 17 ราย (ร้อยละ 4.6) ใช้ยาชุดโดย 14 รายใช้ยาชุดเพื่อบรรเทาอาการปวด และตัวอย่าง 9 ราย (ร้อยละ 2.4) ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดย 4 รายใช้เพื่อรักษาโรคเรื้อรัง ในตัวอย่าง 48 รายที่ใช้ยาน้ำสมุนไพรแผนโบราณ 20 ราย (ร้อยละ38.4) ใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 56.2 ของตัวอย่างใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1-3 เดือน  ในด้านแหล่งของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผู้ใช้ยาชุดร้อยละ 58.8 ซื้อยาชุดจากร้านค้าในชุมชน ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร้อยละ 55.6 และผู้ใช้ยาน้ำสมุนไพรแผนโบราณร้อยละ 37.5 ได้รับผลิตภัณฑ์จากตัวแทนจำหน่าย ตัวอย่างรายงานว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ทำให้อาการดีขึ้นแต่ไม่หายขาดร้อยละ 76.2 และร้อยละ 2.5 พบอาการผิดปกติหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างร้อยละ 31.0 ได้รับการชักชวนให้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 62.1 ได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์จากโฆษณาทางวิทยุชุมชน  สรุป: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในอำเภอราศีไศลควรได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยา สเตียรอยด์และอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ ปัญหาการขายยาชุด รถเร่ขายยา และการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงในอำเภอราศีไศลควรได้รับการแก้ไขโดยจัดตั้งเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวัง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Suwanmanee O, Lerkiatbundit S. Illegal advertising of products classified as drugs by law among local radios. Thai Journal of Pharmacy Practice 2011; 3: 53-46.

2. Boontanai N. News report on health status--northeast region with shared thought and cooperation (Ubonratchathani province): project on the community empowerment for consumer protection in drugs and health. [online]. 2014 [cited 2014 Oct 18]. Available from: URL: http://www.healthstation.in.th/action/music/1727/.

3. Sermsinsiri W. Handbook on the management of health products with steroid contamination. Konkhaen: Department of Consumer Protection and Public Health Pharmacy, Konkhaen Public Health Office; 2014.

4. Tongyoung P. Overclaimed Ads: media literacy helps avoid being a victim. [online]. 2014 [cited 2014 Oct 18]. Available from: URL: http://health. haijai.com/1927/.

5. Division of Consumer Empowerment, Food and Drug Administration. Do you know steroids well? Nontaburi: Ministry of Public Health; 2002.

6. Rajatanavin R, Sooksriwong C, Pongcharoensuk P, Chailurkit L, Tukkiyasatien A. Prevalence of overt manifestation of steroid abuse without medical indication. Bangkok: Thailand Research Fund; 2007.

7. Kongwong R. Project on the screening of patients with chronic diseases and steroids use without medical indications in Warin Chamrap, Ubon ratchathani. Bangkok: Health Consumer Protection Program; 2013.

8. Dokphong D. Project evaluation of steroid management by community network in Si-Trakul Subdistrict, Khukhan District, Sisaket Province. Journal of Health Science 2553,19: 845-53.

9. Lwanga SK, Lemeshow S. Sample size determination in health studies: a practical manual. Geneva: World Health Organization Language; 1991.

10. Sutapakdi U, Arparsrithongsagul S, Satawongtip W. Epidemiology and Ya-Chud use behavior of people in Mahasarakham. Mahasarakham: Maha- sarakham University; 2000.

11. Sirijan D. The application of group process and self-care theory to change steroid intake behavioral among the elderly, Tombon Knong-Koo, Muang District, Yasothon Province. [Master thesis]: Mahasarakham: Mahasarakham UniversIty ; 2012.