ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับยากลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor (ACEI) หรือ Angiotensin Receptor Blocker (ARB) ในผู้ป่วยเบาหวาน ของโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาสัดส่วนของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยา Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor (ACEI) หรือ Angiotensin Receptor Blocker (ARB) และปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับยาดังกล่าว วิธีการ: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยการเก็บข้อมูล เพศ อายุ อาชีพ สิทธิการรักษา โรคร่วม ผลการตรวจอัลบูมินในปัสสาวะ และการได้รับยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACEI หรือ ARB จากบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 3,221 คน ที่มารักษาในแผนกผู้ป่วยนอกและคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลกันทรลักษ์ในระหว่างปี 2556-2557 ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 1,248 คน จากทั้งหมด 3,221 คน (ร้อยละ 38.8) ได้รับยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACEI หรือ ARB ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่มีโรคร่วม ร้อยละ 20.8 ได้รับยาดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วม ร้อยละ 69.0 ได้รับยาดังกล่าว เพศชายมีโอกาสได้รับยามากกว่าเพศหญิง 1.4 เท่า (95%CI=1.14-1.61) ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปมีโอกาสได้รับยามากกว่ากลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปี โดย odds ratio=2.66-3.62 ขึ้นกับช่วงอายุ การมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมมีความสัมพันธ์กับการได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมี odds ratio= 2.45 (95%CI=1.83-3.29) ผลตรวจอัลบูมินในปัสสาวะเป็นบวก (≥15 mg/dL) และสิทธิการรักษาพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยา สรุป: โรงพยาบาลควรส่งเสริมการใช้ยา ACEI และ ARB ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ยังควรปรับปรุงวิธีการวัดอัลบูมินในปัสสาวะเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้นต่อการพิจารณาสั่งใช้ยาดังกล่าว
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Aekplakorn W, Chariyalertsak S, Kessomboon P, Sangthong R, Inthawong R, Putwatana P, et al. Prevalence and management of diabetes and metabolic risk factors in Thai adults: the Thai National Health Examination Survey IV. Diabetes Care 2009; 34:1980-5.
3. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2010. Diabetes Care 2010; 33 Suppl1:S4-10.
4. Barnett AH, Bain SC, Bouter P, Karlberg B, Madsbad S, Jervell J, et al. Angiotensin-receptor blockade versus converting-enzyme inhibition in type 2 diabetes and nephropathy. N Engl J Med. 2004; 351:1952-61.
5. Sukchan P, Uaarayaporn. The coverage and quality of health services for diabetic mellitus patient in Songkhla hospital, Sonkhla province. Princess of Naradhiawas University Journal. 2556; 5:325-36.
6. Rangsin R, Angkasuwapla N, Medical Research Network. An assessment on quality of care among patients diagnosed with type 2 diabetes and hypertension visiting hospitals of Ministry of Public Health and bangkok metropolitan Administration in Thailand, 2012. Bangkok: National Health Security Office; 2012.
7. Augtametagul P. Drug utilization evaluation of Cefoperazone/Sulbactam in a general hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice 2014; 6: 77-83.