ความชุกของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และปัจจัยที่ทำให้เกิดการจำหน่าย

Main Article Content

วราภรณ์ สังข์ทอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขต อ.แม่สรวย จ.เชียงรายและปัจจัยที่ทำให้เกิดการจำหน่าย วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ซึ่งเก็บข้อมูลจากร้านชำ 193 ร้านที่เลือกมาอย่างสุ่มจากทั้งหมด 384 ร้าน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากร้านชำตัวอย่างทุกร้านร่วมกับผู้ช่วยวิจัย 1 ท่าน โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการหรือผู้ขายและสำรวจร้านด้วยแบบบันทึกข้อมูลที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยนี้ ผลการวิจัย: ร้านชำร้อยละ 51.8 จำหน่ายยาปฏิชีวนะ แรงจูงใจของการจำหน่ายยาในทุกร้านมาจากความต้องการของคนในชุมชน แหล่งของยาปฏิชีวนะของร้านชำร้อยละ 73.0 และ 59.0 มาจากร้านขายของส่งและร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจำหน่ายยาปฎิชีวนะ ได้แก่ ความต้องการของคนในชุมชน  ความเชื่อในเรื่องความปลอดภัยของยา และการมีบริการส่งถึงร้าน ยาปฏิชีวนะที่พบมากสุดคือ  tetracyclin ถัดมาคือ กลุ่ม penicillin และยาปฏิชีวนะสูตรผสม (ร้อยละ 42.5,  24.2 และ 14.0 ตามลำดับ) ยาปฏิชีวนะที่พบเป็นยาหมดอายุร้อยละ 12.0 และไม่ทราบวันหมดอายุร้อยละ 11.0 สภาพการเก็บรักษาไม่เหมาะสมถึงร้อยละ 27.0 ผลสำรวจเพิ่มเติมพบการนำยาปฏิชีวนะมาใช้กับสัตว์และพืชด้วย ร้านชำส่วนใหญ่แบ่งขายยาตามจำนวนที่ผู้ซื้อต้องการ การสำรวจยังพบยาอื่นนอกจากยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยาอันตราย เช่น diclofenac, piroxicam เป็นต้น ยาควบคุมพิเศษพบ dexamethasone  และยาไม่มีเลขทะเบียนรูปแบบยาผงและครีมฉลากยาเป็นภาษาจีน  สรุป: ร้านชำมากกว่าครึ่งหนึ่งจำหน่ายยาปฏิชีวนะ แรงจูงใจที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการจำหน่ายยาปฏิชีวนะในร้านชำคือ ความต้องการของคนในชุมชน การจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาและปัญหาเชื้อดื้อยา ดังนั้นทุกภาคส่วนควรร่วมกันแก้ไขปัญหาการจำหน่ายและการบริโภคยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. The Medical news. Antibiotics and Thai health [online]. 2014 [cited 2014 Oct 20]. Available from: URL: http://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id= 209#.VSDrK_nLeFE.

2. Thepkhamram P. Warning on drug resistance from self-medication with antibiotics [online]. 2014 [cited 2015 Jan 12]. Available from: URL: http://www.thai health.or.th/Content/24951-เตือนซื้อยาปฏิชีวนะกินเองเสี่ยงดื้อยา.html.

3. Thepkhamram P. 38, 000 Thai died annually from infections with drug resistance. [online]. 2014 [cited 2014 Nov 19]. Available from: URL: http:// ww.thaihealth.or.th/Content/26530-คนไทยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา3.8หมื่นคนต่อปี.html

4. Yothongyod M, Sawadisant P. Sample size determination for research [online]. 2009 [cited 2014 Oct 18]. Available from: URL: http://research .bu.ac.th/knowledge/kn46/Samplesize.pdf

5. Poophalee T, Arparsrithongsagul S, Yingyoud V, Saengsuwan T. Groceries development model with community involvement in Phon Sung Subdistrict, Sakon Nakhon FDA Journal 2014;21: 57-63.

6. Charoenphol V. Factors affecting the decision-making on the selling of “Yachud” at grocery stores in rural area Muang district, Loei province. [Independent Study for Master of Public Health]. Chiangmai: Chiangmai University; 1996.

7. Kuntee S. Factors relating to antibiotic drug consumption behaviors of people in a semiurban community. [Master Thesis in Education]. Chiangmai: Chiangmai University; 1995.

8. Frimpter GW, Timpanelli AE, Eisenmenger WJ Stein HS, Ehrlich Li.Reversible "Faconi syndrome" caused by degraded tetracycline. JAMA. 1963; 184:111-3.