ปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยต่างด้าวของโรงพยาบาลสมุทรสาคร

Main Article Content

ดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยต่างด้าวที่มารับบริการที่ห้องให้คำปรึกษาด้านยา ห้องยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรสาครในประเด็นอัตราการเกิด ลักษณะ และความแตกต่างจากปัญหาที่พบในผู้ป่วยชาวไทยวิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางซึ่งเก็บข้อมูลปัญหาเกี่ยวกับยาย้อนหลังเป็นเวลา 4 เดือนจากฐานข้อมูลของห้องให้คำปรึกษาด้านยา ผู้วิจัยรวบรวมและแบ่งประเภทปัญหาเกี่ยวกับยาตามนิยามของ Strand ละ Hepler ผลการศึกษา: การให้บริการทั้งหมด 2,269 ครั้ง เป็นการให้บริการแก่ชาวต่างด้าว 177 ครั้ง (ร้อยละ 7.8) การวิจัยพบปัญหาเกี่ยวกับยา 95 ครั้ง  (ร้อยละ 53.7 ของการใช้บริการ 177 ครั้ง) ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ร้อยละ 41.05) ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 37.90) และการเลือกใช้ยาที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ9.47) ส่วนปัญหาเกี่ยวกับยาที่พบในผู้ป่วยชาวไทย คือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 71.7) และอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ร้อยละ 20.9) สรุป: โรงพยาบาลควรพัฒนาสื่อความรู้ด้านยาสำหรับผู้ป่วยต่างด้าว เช่น ฉลากช่วยการใช้ยาเทคนิคพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับยาที่พบมากในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผลการวิจัยให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดระบบบริการทางเภสัชกรรมเพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับยา และเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. United Nations Inter-Agency Project on Human Trafficking. Estimating labor trafficking: a study of Burmese migrant workers in Samut Sakhon, Thailand. [online]. 2010. [cited 2015 Mar 16]. Available from URL: http://www.no-trafficking.org/ reports_docs/estimates/uniap_estimating_labor_trafficking_report.pdf

2. Medical statistics department, Samut Sakhon hospital. Report on the number of outpatients in 2014. Samut Sakhon: Samut Sakhon hospital; 2014.

3. Jitthai N. Migration and malaria. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2013; 44: 166-200.

4. Han N, Phoolcharoen W, Perngparn U. Antiretroviral drug taking in HIV positive among Myanmar migrants in central area of Thailand, Journal of Health Research 2009; 23(supplement): 33–6.

5. Nakagasien P, Pungbankadee R. The study of the way of life, health problems and needs of mon migrant workers under mon’s socio-cultural context of Samutsakorn province, Thailand. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2013; 14: 105-15.

6. Phanphao W, Jenghua S, Supamoon W, Nakham A. intervention on managing drug related problems in hospitalized patients with asthma and Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) in Buddachinnaraj Phitsanulok Hospital. Naresuan University Journal 2005; 13: 51-9.

7. Gilbert AL, Roughead EE, Beilby J, Mott K, Barratt JD. Collaborative medication management services: improving patient care. Medical J Australia 2002;177: 189-92.

8. Bednall R. Drug-related problems may bring thousands to A&E departments. Pharm J 2003; 270: 359.

9. Angsuwattanakul B, Lerkiatbundit S. Development of pictograms for illiterate patients part 1: instructions on how to take tablets. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2014; 6: 41-60.

10. Yimyam S, Enhancing health communication system on reproductive health for Shan migrant workers. Area Based Development Research Journal. 2012; 4 : 77-90.

11. Hepler CD, Strand LM. Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm 1990; 47: 533-43.