ระบาดวิทยาของการปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารสดในบางจังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีงบประมาณ 2557

Main Article Content

กนกพร ธัญมณีสิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายของอาหารสดที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินในจังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา และศรีสะเกษ  วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาที่เก็บข้อมูลย้อนหลังจากผลการตรวจเฝ้าระวังอาหารสดที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินโดยหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึง 30 มิถุนายน 2557 ผู้วิจัยวิเคราะห์ความชุกของอาหารสดปนเปื้อนฟอร์มาลินจำแนกตามชนิดอาหาร แหล่งจำหน่าย แหล่งที่มา จังหวัด และประเภทสถานประกอบการ ผู้วิจัยยังเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในประเด็นการเฝ้าระวังและการจัดการปัญหาฟอร์มาลินปนเปื้อนในอาหารโดยการถอดบทเรียนจากผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัย: อาหารสด 1,436 ตัวอย่างที่ทดสอบมีการปนเปื้อนฟอร์มาลินร้อยละ 6.1 โดยพบความชุกมากที่สุดในสไบนาง (ร้อยละ 24.2) ปลาหมึกกรอบ (ร้อยละ 22.7) ปลาหมึกสด (ร้อยละ 4.4) เห็ดฟาง (ร้อยละ 3.0) และเล็บมือนาง (ร้อยละ 2.7)  การทดสอบพบอาหารสดปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุดที่จังหวัดอุดรธานี (ร้อยละ 8.5) สถานที่จำหน่ายอาหารสดที่พบฟอร์มาลินปนเปื้อน ได้แก่ ตลาดสดและร้านค้าแผงลอยโดยมีแหล่งที่มาของอาหาร คือ ห้องเย็น (ร้อยละ 13.8)  จังหวัดแหล่งที่มาของอาหารสดที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุดคือจังหวัดระยอง (ร้อยละ 22.2)  แหล่งที่มาของอาหารสดปลอดสารฟอร์มาลิน ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า  ร้านอาหาร แปลงเกษตร  ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงฆ่าสัตว์  การสัมภาษณ์พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า สไบนางที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินผลิตจากสไบนางแห้งแช่แข็งซึ่งจัดเก็บและซื้อขายในสถานที่ไม่เปิดเผย ส่วนปลาหมึกกรอบปนเปื้อนฟอร์มาลินผลิตจากปลาหมึกแห้งและส่งขายตลาดในรูปแบบปกติ สรุป: อาหารสดปนเปื้อนฟอร์มาลินมีความชุกมากที่สุดในสไบนาง สถานที่จำหน่ายอาหารสดปนเปื้อนฟอร์มาลิน  ได้แก่ ตลาดสดและร้านอาหารแผงลอย ซึ่งรับอาหารสดมาจากห้องเย็นและแหล่งที่มาจากจังหวัดที่อยู่นอกเขตพื้นที่เป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นในการจัดการปัญหาควรบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และผู้บริโภคให้ครอบคลุมทั้งระบบของห่วงโซ่อาหาร ได้แก่  การนำเข้า การผลิต การกระจายสินค้า การจำหน่าย และการบริโภค ตลอดจนมาตรการควบคุมกำกับสารฟอร์มาลินซึ่งเป็นสารเคมีตั้งต้นในการผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Thienes CH, Haley TJ. Clinical Toxicology. Lea & Febigar. Philadephia; 1972.

2. Pollution Control Department, Ministry of Science Technology and Environment. Formaldehyde. Bangkok; Integrated Promotion Technology; 1998.

3. Tansuwan S, Tansuwan K. Spectrometric analysis of formalin in seafood. Songkhla: Thaksin University; 2004. .

4. Pichetpan R. The management of formalin in sa-bai-nang at Nongkai province. FDA Journal. 2007; 14: 67-75.

5. Consumer Protection Network, Provincial Public Health Office in Northeastern Part of Thailand. Handbook on the surveillance of formalin contamination in fresh food. Konkhaen: Pen Printing; 2014. .