การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อดำเนินคดีด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ: กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินคดีด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้คดีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีเป็นกรณีศึกษา วิธีการ: ผู้วิจัยจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ 21 คน โดยการจัดอภิปรายรวม 7 ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญร่วมกันอภิปรายกรณีศึกษาที่เป็นการดำเนินคดีตามข้อร้องเรียน 3 คดีที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นบุคคลเดียวกัน พฤติการณ์การกระทำผิด และของกลางลักษณะเดียวกัน คดีเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่าสามารถบำบัด บรรเทา และรักษาโรคได้ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาจากกระทรวงสาธารณสุข วัตถุของกลางในคดีแรกนั้นตรวจวิเคราะห์ไม่พบตัวยาแผนปัจจุบัน ทำให้อัยการยังไม่มีความเห็นทางคดีในการดำเนินคดีในข้อหานี้ ผลการวิจัย: ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถูกนำมาสร้างแนวทางการวินิจฉัยประเภทผลิตภัณฑ์ (ของกลาง) ตามกฎหมาย การวินิจฉัยต้องถือว่า ของกลางเป็นผลิตภัณฑ์ตามประเภทที่ผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ให้พิจารณาประเภทของผลิตภัณฑ์ตามความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการใช้ ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จึงสามารถวินิจฉัยของกลางซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยา ว่าเป็นยาจากความมุ่งหมายในการใช้รักษาโรคหรือให้เกิดผลแก่สุขภาพ ถึงแม้ว่าโดยสภาพจะเป็นอาหารเนื่องจากผลวิเคราะห์ไม่พบยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ นอกจากนี้ ยังสามารถวินิจฉัยของกลางซึ่งได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับเป็นอาหาร ว่าเป็นอาหารถึงแม้ว่าจะมีความมุ่งหมายในการใช้รักษาโรคก็ตาม ภายหลังจากวินิจฉัยได้แล้วว่า ของกลางใดเป็นยาหรืออาหาร จึงได้มีการตั้งข้อกล่าวหาที่ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้แก่ ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต โฆษณาขายยาโดยแสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาโรคหรืออาการของโรคที่รัฐมนตรีประกาศห้ามโฆษณา และจำหน่ายอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องโดยมีข้อความเป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควรหรือทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในการบังคับใช้กฎหมาย เกิดจาก 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติซึ่งขาดความรู้และความชำนาญในการดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทำให้มีปัญหาในการวินิจฉัยของกลาง การตั้งข้อหา และการมีความเห็นทางคดี ปัจจัยที่สองเกี่ยวกับความล่าช้าในการดำเนินงานของหน่วยงานตรวจพิสูจน์และให้ความเห็นเกี่ยวกับของกลาง สรุป: ควรมีการจัดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอในเรื่องการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ที่ได้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสาขา
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Public health ministerial declaration in 1977 on diseases and conditions with advertising of drug to treat, mitigate, cure or prevent prohibited. Royal gazette No. 94, Part 13 (Feb 22, 1977).
3. Public health ministerial regulation in 2012 on drug registration. Royal gazette No. 129, Part 102A (Oct 25, 2012).
4. Public health ministerial declaration No. 14 in 1989 on rules, procedures and requirements for drug import or order into royal kingdom with the exemption of drug registration. Royal gazette No. 106, Part 120 (Aug 1, 1989).
5. Public health ministerial declaration on official pharmacopoeia in 2013. Royal gazette No. 130, Part 69D (Jun 10, 2013).
6. Food Act, B.E.2522 and its amendments. In: Chaisomritchoke ST, Sriwiriyanuparp W, Rutjanathamrong P, Insri N, editors. Code of laws for pharmacists. Bangkok: Usa publishing; 2011.
7. Public health ministerial declaration No. 194 in 2000 on lables. Royal gazette No. 118, Part 6D (Jan 24, 2001).
8. Establishment of the district court and its procedures bill. Royal gazette No. 130, Part 30A (Mar 29, 2013).
9. Supreme court judgement No. 201/1963. [online]. 2014 [cited 2014 Aug 5]. Available from: URL: http://www.lawreform.go.th/lawreform/.../2506/cd_1734.pd.
10. Medical Professional Act, B.E.2525 and its amendments. In: Chaisomritchoke ST, Sriwiriyanuparp W, Rutjanathamrong P, Insri N, editors. Code of laws for pharmacists. Bangkok: Usa publishing; 2011.
11. Sanatorium Act, B.E.2541 and its amendments. In: Chaisomritchoke ST, Sriwiriyanuparp W, Rutjanathamrong P, Insri N, editors. Code of laws for pharmacists. Bangkok: Usa publishing; 2011.
12. Medical Technology Professional Act, B.E.2547. Royal gazette No. 121, Part 85A (Oct 22, 2004).
13. Chongaksorn T. Testimonies in the case of “Auntie Sheng”. Documents from file of subdivision 4 of Consumer Protection Police Division at Chatuchak district, Bangkok on Jan 25, 2010.
14. Chongaksorn T. Letters requesting the information on the drug registration status of the exhibits (nitrous oxide). Documents No 1011/2915 on files of Food and Drug Administration on Mar 5, 2014.
15. Public and Consumer Affairs Advertisement Control Division. FDA and Consumer Protection Police Division seized the selling places and storages of Firmax-3 at Korat, claiming as miracle cream for curing various diseases. FDA news for media on Nov 10,
2014.
16. Jangjai D, Lerkiatbundit S. Effectiveness of the interventions for reducing illegal advertising of health products among local radio stations. Thai Journal of Pharmacy Practice 2014; 6: 22-40.
17. Niyomdacha S, Lerkiatbundit S. Barriers in law enforcement for pharmacists’ license hanging: case study of the provincial public health offices in the South. Thai Journal of Pharmacy Practice 2013; 5: 131-149.