การประเมินโครงการเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Main Article Content

พัทยา หวังสุข
ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ
พยอม สุขเอนกนันท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของโครงการเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินใน 7 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองซิปป์ วิธีการวิจัย: ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร 9 คน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 9 คน ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน 16 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน 1 คน ผู้วิจัยยังสนทนากลุ่มในบุคลากรทางการแพทย์ 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 4 ด้านได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ผลการวิจัย: ในประเด็นบริบทของโครงการ ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าประโยชน์ของโครงการนี้สอดรับกับนโยบายการให้บริการแก่กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับปฐมภูมิ ผู้บริหารยังเห็นตรงกันว่า การสร้างระบบเครือข่ายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ สำหรับด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิมเป็นสิ่งสำคัญของโครงการนี้ โดยมุ่งเน้นการทำงานด้วยจิตอาสา การทำงานด้วยความต่อเนื่อง และยังสะท้อนให้เห็นภาพของการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินแบบเครือญาติ บุคลากรทางการแพทย์เห็นว่า โครงการนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย ต่อเจ้าหน้าที่หรือองค์กร และมีประโยชน์ทางอ้อมต่อญาติผู้ดูแล  ปัจจัยนำเข้าในด้านบุคลากรมีจำนวนจำกัด การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิมให้สามารถทำงานแทนตามที่ได้รับมอบหมายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ดำเนินโครงการนี้ได้อย่างต่อเนื่อง  ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นของกระบวนการ คือ ความไม่ต่อเนื่องของการดำเนินงาน จึงควรเพิ่มระบบการติดตามผลการส่งต่อข้อมูล การนิเทศงาน และเพิ่มช่องทางในการเรียนรู้ เช่น อินเทอร์เน็ต อสม. เป็นจุดแข็งของงานที่สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน  บริบทด้านปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อโครงการ คือ เครือข่ายของโรงพยาบาลปทุมราชวงศาซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานของ อสม. ทั้งนี้ อสม. มีความสุขในการดูแลผู้ป่วย เพราะเห็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย อสม. ควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถติดตามอาการข้างเคียงจากยาได้ การดำเนินงานที่ต่อเนื่องพบในอาสาสมัครที่เป็นญาติกับผู้ป่วยและมีบ้านใกล้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินหรือผู้ดูแลมีความรู้สึกที่ดีต่อโครงการโดยภาพรวมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ในเรื่องการใช้ยาและการปฏิบัติตัว  ประโยชน์ทางอ้อมของโครงการ คือ การสร้างความตระหนักและเพิ่มการเอาใจใส่ให้กับญาติของผู้ป่วยบางราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่รู้สึกดีต่อการบริการที่ดูแลแบบญาติพี่น้อง ผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในเป้าหมายร้อยละ 70.11 ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโครงการ คือ ระบบบริการ ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาวาร์ฟาริน และปัจจัยทางสังคม/สิ่งแวดล้อม สรุป: โครงการนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง แต่ในบางด้านควรมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิม การปรับลดความถี่ในการเยี่ยมบ้านของ อสม.  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Ansell J, Wittkowsky AK. Managing ora anticoagulation therapy: clinical and operational guidelines. 2nd ed. St” Louis: Wolters Kluwer Health, Inc.; 2005.

2. Siebenhofer A, Rakovac I. Self-management of oral antitcoagulation in the elderly. Thromb Haemost 2008; 100: 1089-98.

3. Connock M, Stevens C, Fry–Smith A, Jowitt S, Fitzmaurice, Moore D, Song F. Clinical effectiveness and cost-effectiveness of different model of managing long – term oral anticoagulation therapy: systematic review and economic modeling. Health Technol Assesst 2007; 11(38).

4. Carl H, Rafael P. Self-monitoring of oral anticoagulation: systematic review and meta-analysis of individual patient data. Lancet 2011; 367: 404-11.

5. Grunau B, Wiens M, Harder K. Patient self-management of warfarin therapy pragmatic feasibility study in Canada primary care. Can Fam Physician 2011;57: e292-8.

6. วิเศรษศิลปะ พันธ์นาคำ. ผลลัพธ์ทางคลินิกของการพัฒนาปรับปรุงงานในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. อายุรศาสตร์อีสาน 2552; 8: 22-30.

7. สุณี เลิศสินอุดม, ผันสุ ชุมวรฐายี. ทบทวนการใช้ยาวาร์ฟารินในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครรินทร์เวชสาร 2553; 1: 6-13.

8. บัญชา สุขอนันตชัย, อุบลวรรณ สะพู. การจัดตั้งเครือข่ายการดูแลผู้โรคหัวใจที่รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดในโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2553; 5: 495-503.

9 Arayawongchai D , Kaothean T, Siriangkhawut M et al. The development model of network for maintaining the heart disease patients/post-operative heart surgery who receive warfarin (network warfarin region 13): 2553

10. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต10 อุบลราชธานี. แนวทางการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายบริการกลุ่มโรคที่มีอัตราตายสูงและกลุ่มโรคที่มีปัญหาในพื้นที่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2554 ม.ป.ท.: ม.ป.พ.; 2554.

11. ไพบูลย์ อัศวธนบดี. การประเมินผลการดำเนินงานคลินิกชุมชนโรงพยาบาลมหาสารคามกลุ่มงานเวชกรรมสังคม. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2553.

12. ปาริชาติ สว่างวงศ์ และจันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์. การประเมินโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยาในจังหวัดมหาสารคามหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร มหาบัณฑิต] เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

13 สหวิทยาลัยอีสานเหนือ:อีสานใต้. รายงานการประเมินโครงการอีสานเขียว ประจำปี 2534 ระยะสิ้นปีงบประมาณ ม.ป.ท.: ม.ป.พ.; 2534.

14. Pender NJ, Murdaugh CL, Parson MA. Health promotion in nursing practice. 4th ed. NJ: Prentice Hall; 2004.

15. ลือชัย ศรีเงินยวง, อัจฉรา วัฒนาภา, จีรพร แผ้วกิ่ง. รายงานการสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการปฏิรูป ระบบสุขภาพและข้อเสนอแนะสาระบัญญัติในร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง/ครอบครัว/ชุมชน.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ม.ป.ท.: ม.ป.พ.; 2553.

16. เกษม นครเขตต์. แนวคิดและทฤษฎีเครือข่ายทางสังคม (social network theory). โครงการสร้าง พันธมิตรการสร้างสุขภาพ สำนักงานโครงการสร้างพันธมิตรการสร้างสุขภาพ : กระทรวงสาธารณสุข ม.ป.ท.: ม.ป.พ.; 2553.

17. วิไลวรรณ เจริญผลดี, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, บุปผาวัลย์ ศรีล้ำ, นวรัตน์ สุทธิพงศ์. การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2551; 19: 34-45.














18. สรุปผลการดำเนินงานฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลปทุมราชวงศา. สรุปผลการดำเนินงานคลินิกวาร์ฟารินผู้ป่วยนอก อำนาจเจริญ: ม.ป.พ. 2554; 45-7.
19. สรุปผลการดำเนินงานฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลปทุมราชวงศา. สรุปผลกาดำเนินงาน คลินิกวาร์ฟารินผู้ป่วยนอก อำนาจเจริญ. 2554; 45-47.
20 Orem DE, Kathie MR, Susan GT. Self- care theory in nursing: selected papers of Dorothea Orem. 7th ed. New York: Springer; 2003.
21. Hepler, CD, Strand, LM. Opportunities and responsibilities in pharmaceutical Care. Am J Hosp Pharm 1990; 47: 533–43.