การพัฒนาฉลากภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้หนังสือ ตอนที่ 1: วิธีการรับประทานยาเม็ด

Main Article Content

บวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อพัฒนาฉลากภาพแสดงวิธีการรับประทานยาเม็ดและคำแนะนำในการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้หนังสือ การศึกษาส่วนแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฉลากภาพแสดงวิธีใช้ยาเม็ดชนิดรับประทานและทดสอบความเข้าใจในฉลากภาพดังกล่าวในผู้ป่วยชาวไทยซึ่งไม่รู้หนังสือ วิธีการวิจัย: ผู้วิจัยรวบรวมคำสั่งใช้ยาเม็ดชนิดรับประทานที่พบบ่อยจากใบสั่งยา  400  ใบในคลินิกโรคเรื้อรังและคลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปของโรงพยาบาลปากพนัง  หลังจากนั้นพัฒนาฉลากภาพในคำสั่งการใช้ยาที่พบบ่อยโดยใช้การสนทนากลุ่มในผู้ป่วยนอกซึ่งไม่รู้หนังสือจำนวน 4 รอบ รวม 42 คนเพื่อค้นหาภาพที่เหมาะสมและทดสอบเบื้องต้นถึงการสื่อความหมายของภาพ  หลังจากนั้นประเมินความเข้าใจต่อฉลากภาพที่พัฒนาขึ้นในผู้ป่วยนอกซึ่งไม่รู้หนังสือ 290 คน  ผลการวิจัย: ฉลากภาพที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ เวลาที่ใช้ยาเมื่อเทียบกับมื้ออาหาร (ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร) มื้อที่ต้องใช้ยา (เช้า-เที่ยง-เย็น-ก่อนนอน) และจำนวนเม็ดยาในแต่ละมื้อ (¼, ½, 1, 1½ และ 2 เม็ด)ผู้วิจัยนำภาพในแต่ละองค์ประกอบมาประกอบเป็นฉลากภาพที่แสดงวิธีใช้ยาที่พบบ่อยที่สุด 15 แบบ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 95.12 ของคำสั่งใช้ยาของแพทย์ ผลการทดสอบฉลากภาพในผู้ป่วยนอกซึ่งไม่รู้หนังสือพบว่า ตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 85 เข้าใจความหมายของทุกฉลากที่พัฒนาขึ้น  ซึ่งผ่านเกณฑ์ความเข้าใจของ American National Standards Institute (ANSI)  ภาพที่มีผู้เข้าใจน้อยที่สุด มีผู้ตอบความหมายถูกร้อยละ 86.75 และภาพที่มีผู้เข้าใจมากที่สุด  มีผู้ตอบถูกร้อยละ 98.63 สรุป: สถานพยาบาลต่าง ๆ สามารถประยุกต์ใช้ฉลากภาพแสดงวิธีใช้ยาเม็ดชนิดรับประทานที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษานี้กับผู้ป่วยซึ่งไม่รู้หนังสือซึ่งมีบริบททางวัฒนธรรมคล้ายกับตัวอย่างในการศึกษานี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. Literacy and non-formal education sector regional adult illiteracy rate and population by gender. Montreal: UNESCO Institute of Statistics (UIS); 2002.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ตารางแสดงประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตามการอ่านออกและเขียนได้ กลุ่มอายุ เพศ และเขตการปกครอง. 2548 [สืบค้น วันที่ 10 เม.ย. 2553]. เข้าถึงได้จาก URL : http://www. service.nso. go.th /nso/g_data23/stat_23/toc_3/3.1.1-23.xls.

3. Ngoh LN, Shephred MD. Design, development, and evaluation of visual aids for communicating prescription drug instructions to nonliterate patients in rural Cameroon. Patient Educ Couns 1997;30: 245-61.

4. Houts PS, Doak, CC, Doak LG, Loscalzo MJ. The role of pictures in improving health communica- tion: a review of research on attention, comprehension, recall, and adherence. Patient Educ Couns 2006;61:173-90.

5. Doak CC, Doak LG, Root JH. Teaching patients with low literacy skills. Philadelphia: J.B. Lippincott company; 1985.

6. Safeer RS, Keenan J. Health literacy: the gap between physicians and patients. Am Fam Physician 2005;72:463-68.

7. Katz MG, Kripalani S, Weiss BD. Use of pictorial aids in medication instructions: a review of the literature. Am J Health-Syst Pharm 2006;2391-97.

8. Mansoor LE, Dowse R. Effective of pictograms on readability of patient information materials. Ann Pharmacother 2003;37:1003-9.

9. Mansoor LE, Dowse R. Design and evaluation of a new pharmaceutical pictogram sequence to convey medicine usage. Journal of the Ergonomics Society of South Africa 2004;2:29-41.

10. United States Pharmacopeial Convention. USP Pictograms [online]. 2011 [cited 2011 Dec 6]. Available from: URL: http://www.usp.org/usp-health care-professionals/related-topics-resources/usp- pictograms/download- pictograms.

11. Dowse R, Ehlers MS. The evaluation of pharma- ceutical pictograms in a low-literate South African population. Patient Educ Couns 2001;45:87-99.

12. ศิโรบล น้อยพรหม, โสมทัต ศรีชัชวาล. ความเข้าใจของผู้ป่วยนอกต่อฉลากรูปภาพ USP DI ณ โรงพยา- บาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก. วารสารไทยเภสัช-ศาสตร์ และวิทยาการสุขภาพ 2548;1(3):270-1

13. นันทนา พฤกษ์คุ้มวงศ์. การทดสอบสื่อความหมายด้วยฉลากยาที่ใช้รูปภาพแทนอักษร รายงานการวิจัย. นครปฐม: องค์การยูนิเซฟ; 2525.

14. อัจนาถ เมืองเจริญ. การพัฒนาและประเมินฉลากยารูปภาพในชาวไทยภูเขา เผ่าปกาเกอะญอ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย; 2551.

15. กุลธิดา ไชยจินดา. การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยาที่เป็นรูปภาพสำหรับผู้ป่วยไทยในภาคเหนือที่มีทักษะการรู้หนังสือน้อย [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

16. กมลชนก เสมอคำ, กัลยารัตน์ การหมั่น, วลัยรัตน์ ดีแท้. การพัฒนาและประเมินฉลากช่วยรูปภาพ ในการเพิ่มการระลึกได้ถึงข้อมูลการใช้ยา: กรณีศึกษาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่ รายงานปัญหาพิเศษ สายวิชาบริบาลกรรม [ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต] เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

17. สายพิณ สายดำ, นุจรี ประทีปะวณิช. ผลของคำแนะนำชนิดรูปภาพต่อความเข้าใจของผู้ปกครองในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2553; 1: 99-108.

18. ทิพย์สุดา เปรมภูติ, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม. บทบาทของทีมสหสาขาวิชาชีพในการจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูงและการพัฒนาเอกสารให้คำแนะนำแบบรูปภาพสำหรับยากลุ่มเมทิลแซนทีน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2556; 5: 79-90.

19. สำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช. ประชากรอายุ 10 ปีขึ้นไป จำแนกตามการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มอายุ เพศ และเขตการปกครอง พ.ศ. 2553. 2557 [สืบค้น วันที่ 17 มิย. 2557]. เข้าถึงได้จาก URL : http:// nksitham.nso.go.th/index.php.

20. Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

21. American National Standard Institute. Accredited standard on safety colours, signs, symbols, labels, and tags, vol. Z535. Washington (DC): National Electrical Manufacturers Association, 1991.