ประสิทธิภาพของวิธีการแก้ไขปัญหาการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางสถานีวิทยุท้องถิ่น

Main Article Content

ดุริพัธ แจ้งใจ
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการ 2 วิธีเพื่อแก้ไขปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายในสถานีวิทยุท้องถิ่น คือ 1) การอบรมผู้ประกอบการสถานีวิทยุและนักจัดรายการ และ 2) การเข้าพบผู้ประกอบการและนักจัดรายการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงเรื่องโฆษณาที่ตรวจพบว่าผิดกฎหมายและขอความร่วมมือให้โฆษณาอย่างถูกกฎหมาย วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเป็นการทดสอบผลของการอบรมด้วยแบบวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มศึกษาเป็นสถานีวิทยุ 7 แห่งที่พบว่ามีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายจากการศึกษาในอดีตและมีผู้แทนจากสถานีเข้าร่วมการอบรมซึ่งผู้วิจัยจัดขึ้นโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมที่วางแผนไว้ (Theory of Planned Behaviors) เป็นกรอบแนวคิดเพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวกับกฎหมายโฆษณาและจูงใจให้เผยแพร่โฆษณาอย่างถูกกฎหมาย ส่วนกลุ่มควบคุม คือ สถานี 7 แห่งที่กระทำผิดกฎหมายเช่นกัน แต่ไม่มีผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและถูกจับคู่ให้เหมือนกลุ่มศึกษาในด้านสถานที่ตั้ง ผู้วิจัยประเมินความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับการโฆษณาที่ถูกต้องตามกฎหมายก่อนและหลังการอบรม ตลอดจนบันทึกรายการสถานีเพื่อหาอัตราของการโฆษณาที่ผิดกฎหมายในแต่ละสถานีหลังการอบรม 1 เดือน การศึกษาช่วงที่ 2 เป็นการวิจัยแบบวัดผลก่อนและหลังการใช้มาตรการแก้ไขปัญหา ตัวอย่าง คือ สถานีวิทยุ 11 แห่ง (ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา) ที่มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายหลังการอบรมจากการศึกษาช่วงที่ 1  ผู้วิจัยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเดินทางไปยังสถานีวิทยุเพื่อชี้แจงต่อผู้ประกอบการและนักจัดรายการถึงประเด็นที่ผิดกฎหมายและขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย ต่อจากนั้น 1 เดือน ผู้วิจัยประเมินอัตราการโฆษณาที่ผิดกฎหมายในสถานีดังกล่าวอีกครั้ง ผลการวิจัย: ในการศึกษาช่วงที่ 1 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในประเด็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยรวมและการจัดประเภทผลิตภัณฑ์ (P=0.002)  การโฆษณายา (P=0.002) และการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ (P=0.038) แต่อัตราการโฆษณาผิดกฎหมายในกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา (เมื่อคำนวณจากจำนวนชิ้นโฆษณา) กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.31+32.51 และ 16.25+43.82 ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.592) ในการศึกษาช่วงที่ 2 หลังการเข้าพบผู้ประกอบการ พบว่า อัตราการโฆษณาผิดกฎหมาย (คำนวณจากจำนวนชิ้นโฆษณา) ลดลงร้อยละ 21.87+30.77 (P=0.038) สรุป: การอบรมในการศึกษานี้สามารถเพิ่มความรู้ที่เกี่ยวข้องในผู้เข้าอบรมได้ แต่ไม่อาจแก้ปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายได้ ส่วนการไปพบผู้ประกอบการที่สถานีวิทยุโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายสามารถลดการโฆษณาที่ผิดกฎหมายได้ดีกว่ามาก หากพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้วิธีการเข้าพูดคุยกับผู้ประกอบการกับมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมจะสามารถลดปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Anon. Media spending: Top categories by all media 2006-2010. 2010.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.เครื่องชี้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554. [ออนไลน์]. 2554 [สืบค้นวันที่ 3 กรกฎาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://service.nso.go.th/nso/nso publish/download/files/ictDev54.pdf.

3. The Nielsen Company. Estimated total advertising expenditure by medium [online]. 2012 [cited 2012 Sept 25].Available from: URL: http://www.adasso thai.com/index.php/main/ad_expenditure.

4. นันทพร เตชะประเสริฐกุล, ปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ, ศิริพล สัจจาพันธ์, ธรรมนิตย์ สุริยะรังษี, ณัชชา สุริยะรังษี, สุภิญญา น้อยนารถและคณะ. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานวิทยุชุมชนภาคประชาชน [รายงานการวิจัย]: เชียงใหม่: มูลนิธิ ไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้; 2551.

5. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม. บอร์ดกระจายเสียง/กสทช. แถลงผลการประชุมวันที่ 31 มีนาคม 2557. [ออนไลน์]. 2557 [สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก: URL: www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/NewsActivi/ Newspaper/Press.

6. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, สุกัลยา คงสวัสดิ์, อารี แวดวงธรรม, ชาญชัย เอื้อชัยกุล, เยาวเรศ อุปมายันต์, เสา-วณิชย์ ทฤฆชนม์ และคณะ. สำมะโนการโฆษณาอาหาร ยาและเครื่องสำอางในวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ พ.ศ. 2536 (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2536.

7. Kittisopee T, Anantachoti P, Tangcharoensathien V. Radio drug advertisement situation and regulation in Thailand. Bangkok: The Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University; 2005.

8. อรอุษา สุวรรณมณี, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายเป็นยาโดยผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น. วารสารเภสัชกรรมไทย 2554; 3: 41-56.

9. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สถิติผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน 2551 [ออนไลน์]. 2553 [สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.fda.moph. go.th/prac/complain/stats.shtml

10. สำนักข่าว ทีนิวส์. กสทช.-อย.-ปคบ.จับวิทยุชุมชน จ.อุดรฯ โฆษณาขายยาบำรุงเกินความเป็นจริง. [ออนไลน์]. 2556 [สืบค้นวันที่ 25 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.tnews.co.th/html/ news/69703.

11. อรอุษา สุวรรณมณี. การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อ้างสรรพคุณยาโดยผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น[วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

12. ผู้จัดการออนไลน์. “ป้าเช็ง” อ่วม! ศาลสั่งจำคุก 18 เดือน ยาหยอดตา “เจียรนัยเพชร” ทำผู้ใช้ตาบอด “น้ำมหาบำบัด” โดนฟ้องอีก 3 คดี[ออนไลน์]. 2555 [สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9550000076945

13. ผู้จัดการออนไลน์. องค์กรผู้บริโภคภาคอีสานเผยโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้รับอนุญาตเพียบ วอน อย.จัดการ[ออนไลน์]. 2554 [สืบค้นวันที่ 29 ตุลาคม 2554]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.manager.co. th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000064549

14. เพลิน จำแนกพล. การศึกษาความรู้ของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินรายการวิทยุชุมชนเกี่ยวกับการ โฆษณายาหรือโฆษณาอาหารในเขตตรวจราชการที่ 1 ปีงบประมาณ 2552. วารสารอาหารและยา 2553; 17:33-40.

15. Ajzen I. The theory of planned behavior. Organ Behav Hum Dec 1991; 50: 179-211.

16. Bodenheimer T. Helping patient improve their health-related behaviors: what system changes do we need? Dis Manag 2005; 8: 319–30.

17. Lorig KR, Holman HR. Self-management and education: history, definition, outcomes, and mechanisms. Ann Behav Med2003; 26: 1–7.

18. Nigg CR, Allegrante JJP, Ory M. Theory-comparison and multiple-behavior research: common themes advancing health behavior research. Health Educ Res. 2002; 17: 670–9.

19. Melin I, Karlstrom B, Berglund L, Zamfir M, Rossner S. Education and supervision of health care professionals to initiate, implement and improve management of obesity. Patient Educ Couns. 2005; 58: 127-36.

20. ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา. กรณีศึกษาเครือข่ายผู้บริโภคมอบสินค้าสุขภาพผิดกฎหมายให้ อย. [ออนไลน์]. 2554 [สืบค้นวันที่ 6 ตุลาคม 2554]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://consumersouth.org/ paper/275

21. ผู้จัดการออนไลน์. อย.-กสทช.-ไอซีทีร่วมคุมอวดอ้างสรรพคุณยาผ่านเคเบิล [ออนไลน์]. 2554 [สืบค้นวันที่ 8 ธันวาคม 2554]. เข้าถึงได้จาก:URL: http://www. manager.co.th/QQL9540000056525.

22. สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. การจัดการปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิ้ลทีวี และ โทรทัศน์ดาวเทียม.เอกสารการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 วันที่ 31 สิงหาคม 2554. กรุงเทพ.

23. Fleiss JL. Statistical methods for rates and proportions. 2nd ed. New York: John Wiley; 1981

24. Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum; 1988.

25. สุปราณี นิยมเดชา, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับการแขวนป้ายของเภสัชกร:กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคใต้. วารสารเภสัชกรรมไทย 2556; 5: 131-49.