ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับการแขวนป้ายของเภสัชกร: กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคใต้

Main Article Content

สุปราณี นิยมเดชา
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคใต้มีวิธีการจัดการกับปัญหาการแขวนป้ายของเภสัชกรอย่างไร และเงื่อนไขหรือข้อจำกัดใดเกี่ยวข้องกับการไม่บังคับใช้กฏหมายในการแก้ไขปัญหา วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นเภสัชกร 15 คนที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสภาเภสัชกรรม ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดมีหน้าที่ควบคุมให้มีเภสัชกรปฏิบัติงานในร้านยา  ผลการวิจัย: วิธีการจัดการปัญหาเภสัชกรแขวนป้ายที่ใช้โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมี 3 วิธี คือ 1) มาตราการป้องกัน หรือการกำหนดเงื่อนไขในการขอเปิดร้านยาแห่งใหม่เพิ่มเติมจากที่กฎหมายกำหนดในประเด็นคุณสมบัติของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ผู้รับใบอนุญาต และเวลาปฏิบัติการ 2) มาตรการป้องปรามหรือการตรวจเฝ้าระวังร้านยา หน่วยงานของผู้ให้ข้อมูลมีความถี่ในการออกตรวจร้านที่ต่างกัน โดยภาพรวม การดำเนินงานใน 14 จังหวัดภาคใต้ยังไม่เน้นเรื่องการตรวจเฝ้าระวังปัญหาเภสัชกรแขวนป้าย 3) มาตรการปราบปรามหรือ การดำเนินการเมื่อพบการกระทำผิด หน่วยงานเพียง 1 แห่งใช้เฉพาะการตักเตือนเมื่อพบการกระทำผิด และไม่เคยดำเนินคดีในเรื่องการแขวนป้าย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอีก 8 แห่ง ใช้การตักเตือนและการดำเนินคดีเมื่อพบการกระทำผิดซ้ำ และอีก 4 หน่วยงานยึดแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือบทลงโทษตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการไม่บังคับใช้กฎหมายได้แก่ 1) ความเชื่อและความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ใน 3 เรื่อง คือ ผลเสียต่อตนเองหากใช้มาตรการทางกฎหมาย ประสิทธิภาพของมาตรการทางกฎหมาย และการไม่เห็นความสำคัญของปัญหาเภสัชกรแขวนป้าย 2) สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ความไม่ชัดเจนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต่อปัญหานี้ แนวทางของผู้บริหารในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ตนสังกัด แนวทางของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอื่น ๆ การต่อรองของผู้ประกอบการ การดำเนินงานแบบตั้งรับของสภาเภสัชกรรม และการไม่ร้องเรียนของผู้บริโภค 3) ข้อจำกัดในการบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ ความไม่เอื้อของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อจำกัดเรื่องจำนวนบุคลากร และข้อจำกัดเรื่องฐานข้อมูล และ 4) ผลประโยชน์ทับซ้อน สรุป: ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สภาเภสัชกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดอุปสรรคในการบังคับใช้กฏหมายกับปัญหาเภสัชกรแขวนป้าย และส่งผลดีต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. รายงานการสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2551-2553. สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

3. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์. คำวินิจฉัยที่ 20 / 2528 เรื่องนายวิษณุ หงส์พงศ์กับพวกร้องทุกข์ให้เพิกถอนประกาศกระทรวงสาธารณสุข. 6 เมษายน 2528.

4. สำนักงานโครงการพัฒนาร้านยา. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานร้านขายยาแผนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 2547.

5. กิตติ พิทักษ์นิตินันท์. สภาเภสัชกรรมจับมือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เข้มงวดการเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการของเภสัชกร. จดหมายข่าวสภาเภสัชกรรม 2553; 14: 3-4.

6. ชนะชัย ภูแสงสี. โครงการผู้บริโภคปลอดภัย เภสัชกรไทยไม่แขวนป้าย. [ออนไลน์]. 2554. [สืบค้นวันที่ 30 ธันวาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.Live kalasin.com/index.php?option=com_content&task=view&id= 602&Itemid = 35

7. ณรงค์ชัย จันทร์พร. นำเสนอในที่ประชุม "โครงการผู้บริโภคปลอดภัย เภสัชกรไทยไม่แขวนป้าย 10 จังหวัดนำร่อง ครั้งที่ 3 วันที่ 29 สิงหาคม 2554 ณ ห้องประชุม 210 ชั้น 2 อาคารนวัตกรรมฯ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร; 2554.

8. Saengcharoen W, Chongsuvivatwong V, Lerkiatbun dit S, Wongpoowarak P. Client and pharmacist factors affecting practice in the management of upper respiratory tract infection presented in community pharmacies: a simulated client study. Int J Pharm Pract 2008; 16: 265–70.

9. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ใน: สุนทรี ท. ชัยสัมฤทธิ์โชค, วรรณา ศรีวิริยานุภาพ, นิภาพร อินสีม บรรณาธิการ. ประมวลกฎหมายสำหรับเภสัชกรเพื่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ฉบับปรับ ปรุงใหม่ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2552.

10. ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชา ชีพเภสัชกรรม ใน: สุนทรี ท. ชัยสัมฤทธิ์โชค, วรรณา ศรีวิริยานุภาพ, นิภาพร อินสีม บรรณาธิการ. ประมวลกฎหมายสำหรับเภสัชกรเพื่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ฉบับปรับ ปรุงใหม่ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2552.

11. อรอุมา ซองรัมย์, นุชนาฏ หวนนากลาง, จงกลนี เทียนส่ง, มนทกานติ์ เชื่อมชิต, เนาวรัตน์ กาญจนาคาร, เทพนาฏ พุ่มไพบูลย์, และคณะ. รูปแบบการใช้ยาต้านมาลาเรียของประชากรในบริเวณที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรีย : กรณีศึกษา จังหวัดตาก [รายงานการวิจัย] ประเทศไทย. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

12. Chuengsatiansup K, Sringernyuang L, Paonil W. community drug use in Thailand: A situational review. WHO, Mahidol University and Ministry of Public Health; 2000.

13. ปาริชาติ แก้วอ่อน, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต และวรนุช แสงเจริญ. ร้านยาที่ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมและร้านยาแผนปัจจุบันทั่วไปมีคุณภาพแตกต่างกันหรือไม่. วารสารเภสัชกรรมไทย 25554; 2: 39-64.

14. อัษฎางค์ พลนอก, กิตติศักดิ์ อ่อนปาน. ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่อยู่ปฏิบัติการของเภสัชกรประจำร้านยา กรณีศึกษาจังหวัดหนึ่ง. เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย 97 ปี "ความรับผิดชอบของเภสัชกรไทยต่อการปฏิบัติงานในร้านยา" เพื่อเตรียมการสมัชชาเภสัชกรรมไทย 100 ปี (พ.ศ.2556) วันที่ 8 ธันวาคม 2553 ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ.

15. ภาณุโชติ ทองยัง. เรียนรู้จากบทเรียนการพิจารณากรณีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม. จดหมายข่าวสภาเภสัชกรรม 2553; 14: 5.

16. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ข่าวผลการดำเนินคดี [ออนไลน์]. 2554 [สืบค้นวันที่ 22 สิงหาคม 2554]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.fda.moph.go.th/.

17. Mile MB, Huberman AM. Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage; 1994.

18. Embree JF. Thailand: a loosely structured social system. Amer Anthrop 1950; 52: 181-93.

19. Phillips HP. Thai peasant personality: the patterning of interpersonal behavior in the village of Bang Chan. Berkeley: University of California Press; 1965.

20. Wasi P. The triangle that moves the mountain. Bangkok: Health System Research Institute; 2004.

21. Hongsamoot D. Pharmacy regulation in Thailand: roles and reflections of inspectors [dissertation]. London: University of London; 2002.