การสำรวจค่าตอบแทนของเภสัชกรในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจค่าตอบแทนของเภสัชกรไทยในสาขาต่างๆ ทั้งค่าตอบแทนจากอาชีพหลักและอาชีพเสริม วิธีการวิจัย: การศึกษาเป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยสุ่มรายชื่อเภสัชกรแบบแบ่งชั้นจาก 6 สาขาอาชีพ ได้แก่ เภสัชกรชุมชน เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรประจำโรงงานผลิตยา เภสัชกรฝ่ายการศึกษา เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชกรการตลาด จากนั้นส่งแบบสอบถามไปยังเภสัชกร 1,170 รายทั่วประเทศระหว่างเดือนธันวาคม 2555–กุมภาพันธ์ 2556 ผลการวิจัย: มีแบบสอบถามที่นำมาใช้วิเคราะห์ผลได้จำนวน 438 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 40.15 จากการวิเคราะห์ค่าตอบแทนของเภสัชกรจากอาชีพหลัก พบว่า รายได้มีความแตกต่างกันตามสาขาที่ปฏิบัติงาน เภสัชกรการตลาดมีค่าตอบแทนเฉลี่ยจากอาชีพหลักสูงสุด (117,375+62,197 บาทต่อเดือน) และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคมีค่าตอบแทนเฉลี่ยต่ำที่สุด (39,054+14,859 บาทต่อเดือน) ระยะเวลาที่ทำงานและสถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันส่งผลให้ค่าตอบแทนจากอาชีพหลักต่างกัน ค่าตอบแทนของทุกสาขาอาชีพจะแปรผันโดยตรงกับประสบการณ์การทำงาน เภสัชกรที่ทำงานในกรุงเทพมหานครจะมีค่าตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าเภสัชกรที่ทำงานในภาคอื่นๆ ในขณะที่เภสัชกรในภาคเหนือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าภาคอื่น ๆ สำหรับข้อมูลด้านอาชีพเสริมพบว่า เภสัชกรผู้ตอบแบบสอบถาม 175 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 41.08 ประกอบอาชีพเสริมและมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 39,792+82,213 บาทต่อเดือน สรุป: ผลการศึกษาสามารถเป็นฐานข้อมูลในเรื่องค่าตอบแทนของเภสัชกรได้ในระดับหนึ่งหลังจากที่เคยมีการศึกษาในอดีตมาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2550 การศึกษาเรื่องค่าตอบแทนนี้ควรมีอย่างต่อเนื่องเพราะสภาพเศรษฐกิจ และนโยบายต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. สภาเภสัชกรรม. ตารางแสดงจำนวนเภสัชกรผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ในแต่ละปี [ออนไลน์]. มปป. [สืบค้นวันที่ 6 สิงหาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://pharmacycouncil.org/index .php?option=content&menuid=33.
3. สำนักงานสารนิเทศและประชาสัมพันธ์กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. 2555. [สืบค้นวันที่ 6 สิงหาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก: http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=45986.
4. Ngorsuraches S, Chaibu B. Pharmacist compensa- tion survey in Thailand. Thai Journal of Pharma- ceutical Sciences 2004; 28: 125-34.
5. บุษบรรณ์ ศุภรัตน์วัฒนกุล. การสารวจค่าตอบแทนสาหรับเภสัชกรในประเทศไทย ปี 2550. [สารนิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์; 2550.
6. ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา. นโยบายและทิศทางการส่งเสริมสุขภาพในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง [ออนไลน์]. มปป. [สืบค้นวันที่ 16 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: hp.anamai.moph.go.th/.../Doc/นพ%20ณรงค์ศักดิ์(เชียงใหม่).ppt.
7. Doucette WR, Kulchaitanaroaj P, Vacek L. 2007 Pharmacist Compensation Survey. Journal of the Iowa Pharmacy Association 2008: April-June; 56-5.
8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจค่าตอบแทนภาคเอกชน พ.ศ. 2554 [ออนไลน์]. มปป. [สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2556]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/privatePayRep54.pdf.