การพัฒนาระบบการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อความปลอดภัยในผู้ป่วย

Main Article Content

สุพัตรา เมฆพิรุณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการให้และการจัดเก็บยาที่มีความเสี่ยงสูงและติดตามผลการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว วิธีการวิจัย: คณะกรรมการพัฒนาระบบยาของโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่งจัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงจากการทบทวนวรรณกรรมและการประชุมระดมความเห็น หลังจากนั้นอบรมให้ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงแก่พยาบาลทั้งโรงพยาบาล (401 คน) โดยเน้นเรื่องการบริหารยาและการจัดเก็บยา หลังจากนั้นทดสอบความรู้ของพยาบาลทั้งโรงพยาบาล 2 ครั้ง คือ หลังจากการอบรม 1 เดือนและในอีก 6 เดือนถัดมา นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบการบริหารยาและการจัดเก็บยาที่มีความเสี่ยงสูงในหอผู้ป่วยทุกแห่งรวม 18 หอเป็นจำนวน 2 ครั้ง คือ หลังจากการอบรม 1 เดือนและในอีก 7 เดือนถัดมา หลังการประเมิน ผู้ประเมินให้ข้อมูลย้อนกลับแก่หอผู้ป่วยในประเด็นที่ปฏิบัติไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่กำหนดขึ้น ผลการวิจัย: ความรู้ของพยาบาลหลังการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 21 เต็ม 25 หลังจากดำเนินโครงการได้ 7 เดือน พบว่า ความรู้ของพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็น 22.4 (P<0.05) การดำเนินงานไม่ได้เพิ่มการปฏิบัติตามเกณฑ์การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง แต่เพิ่มการปฏิบัติตามเกณฑ์การเก็บยาที่มีความเสี่ยงสูง โดยคะแนนเพิ่มจาก 11.1 ในการประเมินครั้งแรกเป็น 13.3 (เต็ม 16) ในการประเมินครั้งที่สอง คะแนนการประเมินโดยรวมก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยจาก 78.7 ในการประเมินครั้งที่ 1 เป็น 84.2 (เต็ม 100) ในการประเมินครั้งที่สอง โดยหอผู้ป่วยที่มีคะแนนเกินกว่า 90 เพิ่มจาก 0 ในการประเมินครั้งที่ 1 เป็น 6 หอผู้ป่วยในการประเมินครั้งที่สอง  ความคลาดเคลื่อนในการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงลดจาก 0.05-0.06 ครั้งต่อ 1000 วันนอนก่อนการวิจัยเป็น 0.02 ครั้งต่อ 1000 วันนอนหลังดำเนินโครงการนี้เป็นเวลา 1 ปี สรุป: การดำเนินงานพัฒนาความปลอดภัยในการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงโดยการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องยาและแนวปฏิบัติที่กำหนดขึ้น ตลอดจนการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพยาบาลในเรื่องการบริหารยาและการจัดเก็บยาและการให้ข้อมูลย้อนกลับ ทำให้พยาบาลมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ดีขึ้นและสามารถลดความคลาดเคลื่อนในการให้ยาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations. The pharmacist’s role in preventing preparation and dispensing errors. In: Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations. Preventing medications errors: Strategies for pharmacists. Oakbrook Terrace: Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations; 2001. p. 43-75.

2. Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations. Preventing medication errors: Strategies for pharmacists. Oakbrook Terrace: Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations; 2001.

3. อภิฤดี เหมาะจุฑา, ปรีชา มนทกานติกุล. ความคลาดเคลื่อนในการให้ยา. ใน: ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, ปรีชา มนทกานติกุล, บรรณาธิการ. ความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชนจำกัด; 2549. หน้า 69-80.

4. Pepper GA. Errors in drug administration by nurses. Am J Health-Syst Pharm 1995; 52: 390-5.

5. สัมมนา มูลสาร. ความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาในโรงพยาบาลศรีษะเกษ [วิทยานิพนธ์เภสัชศาตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2536.

6. Perlstein PH, Callison C, White M, et al. Errors in drug computations during newborn intensive care. Am J Dis Child 1979;133: 376-9.

7. Pepper GA. Understanding and preventing drug misadventures: Errors in drug administration by nurses. Am J Health-Syst Pharm 1995; 52:390-5.

8. Barker KN, McConnell WE. The problem of detecting medication errors in hospital. AM J Hosp Pharm 1962;19: 360-9.

9. สุชาดา เดชเดชะสุนันท์. ความสัมพันธ์ระหว่างความคลาดเคลื่อนในการใช้ยากับการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จาการใช้ยาในผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

10. Calabrese AD, Erstad BL, Brandl K, et al. Medication administration errors in adult patients in the ICU. Intensive Care Med 2001; 27:1592-8.

11. Ho CYW, Dean BS, Barber ND. When do medication administration errors happen to hospital inpatient? Int J Pharm Pract 1997; 5:91-6.

12. Bruce J, Wong I, Parentaral drug administration errors by nursing staffs on an acute medical admission ward during day duty. Drug Saf 2001; 24:855-62.

13. American Society of Hospital Pharmacists. ASHP guideline on preventing medication errors in hospital. Am J Hosp Pharm 1993; 50:305-14.

14. National Coordinating Council for Medication Error. Recommendations to reduce errors related to administration of drug [online]. 1999 [cited May 12, 2011]. Available from: URL: http://www. NCCMERP.org.

15. National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention. NCC MERP taxonomy of medication error [online]. 1998 [cited February, 2012]. Available from: URL: http://www.NCC MERP.org.