ผลของกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ศิริรัตน์ ไสไทย
โพยม วงศ์ภูวรักษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความถี่และความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งที่เริ่มใช้กระบวนการประสานรายการยา วิธีการ: ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการนอนโรงพยาบาล 140 ครั้งระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2555 เภสัชกรประสานงานกับแพทย์เมื่อพบความแตกต่างของรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับในโรงพยาบาลและยาที่ได้รับก่อนเข้ารักษาตัว เพื่อหาสาเหตุของความแตกต่างของรายการยาและพิจารณาว่าเป็นความคลาดเคลื่อนทางยาหรือไม่ พร้อมทั้งประเมินความรุนแรงของผลลัพธ์ทางคลินิกที่เกิดขึ้นโดยใช้เกณฑ์ของ NCCMERP ผลการวิจัย: เมื่อแรกรับ ผู้ป่วยนำยาที่ใช้อยู่เดิมติดตัวมาด้วย 65 ครั้ง (ร้อยละ 46.4 ของจำนวนครั้งในการนอนโรงพยาบาล) พบความคลาดเคลื่อนทางยาใน 242 รายการจากยาทั้งหมด 1,282 รายการ แบ่งเป็นความคลาดเคลื่อนที่พบขณะแรกรับ 191 รายการ (ร้อยละ 78.9 ของความคลาดเคลื่อนที่พบทั้งหมด) และความคลาดเคลื่อนที่พบขณะจำหน่าย 51 รายการ (ร้อยละ 21.1) ความคลาดเคลื่อนที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยไม่ได้รับยาเดิม 232 ครั้ง (ร้อยละ 95.9) ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดหรือความถี่ที่แตกต่างจากที่เคยได้รับ 8 รายการ (ร้อยละ 3.3) ผู้ป่วยได้รับยาในเวลาที่แตกต่างจากที่เคยได้รับ 1 รายการ (ร้อยละ 0.4) และผู้ป่วยได้รับยาซึ่งไม่เคยได้รับเพื่อรักษาอาการหรือโรคเดียวกัน 1 รายการ (ร้อยละ 0.4) ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงระดับ B, C, A และ D ร้อยละ 48.7, 25.6, 21.9 และ 3.7 ตามลำดับ นอกจากนี้กลุ่มยาที่ใช้ในโรคหัวใจและหลอดเลือดและกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นกลุ่มที่ความคลาดเคลื่อนมากที่สุด โรคและกลุ่มยามีความสัมพันธ์กับจำนวนความคลาดเคลื่อนทางยา (p < 0.05) สรุป: อุบัติการณ์ของคลาดเคลื่อนทางยาในขณะแรกรับผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลและขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลค่อนข้างสูงโดยเฉพาะการไม่ได้รับยาที่เคยได้รับ แต่ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่ำเนื่องจากกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาสามารถตรวจหาคลาดเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ธิดา นิงสานนท์. Medication Reconciliation. ใน ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ. Medication Reconciliation. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2551. หน้า 1-26.

2. Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organization. Sentinel event alert: using medication reconciliation to prevent errors [online]. 2006 [cited 2012 Jan 9]. Available from: URL: http://www.joint commission.org/SentinelEvents/SentinelEventAlert/sea_35.htm.

3. Pronovost P, Weast B, Schwarz M, Wyskiel RM, Prow D, Milanovich SN, et al. Medication reconciliation: a practical tool to reduce the risk of medication errors. J Crit Care 2003;18: 201-5.

4. จักรี แก้วคำบ้ง. การบริบาลทางเภสัชกรรม การลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาโดยกระบวนการ Medication reconciliation ในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านกรวด. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2552;16:113-26.

5. จันทร์เพชร ราชดา. การพัฒนากระบวนการประสานรายการยา ณ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

6. ฉันทิกา ซื่อตรง. การพัฒนากระบวนการประสานรายการยาและนำไปปฏิบัติในการติดตามจุดเปลี่ยนในระบบยาผู้ป่วยใน [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

7. ปิยนุช สีสุข. ผลการทำกระบวนการรีคอนซิลิเอชันยาในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง [สารนิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

8. พิมพ์ใจ ชูจันทร์. ผลของกระบวนการรีคอนซิลิเอชันยา ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช [สารนิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

9. สามาวดี นิจพันธ์. ผลของกระบวนการรีคอนซิลิเอชันยา ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชน แห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุง [สารนิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

10. อมรัตน์ รัตนไทรงาม. ผลการทำกระบวนการรีคอนซิลิเอชันยาในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี [สารนิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

11. Gleason K, McDaniel M, Feinglass J, Baker D, Lindquist L, Liss D, et al. Results of the medications at transitions and clinical handoffs (MATCH) study: An analysis of medication reconciliation errors and risk factors at hospital admission. J Gen Intern Med 2010; 25:441-7.

12. Pippins J, Gandhi T, Hamann C, Ndumele C, Labonville S, Diedrichsen E, et al. Classifying and predicting errors of inpatient medication reconciliation. J Gen Intern Med 2008; 23: 1414-22.

13. Tam V, Knowles S, Cornish P, Fine N, Marchesano R, Etchells E. Frequency, type and clinical importance of medication history errors at admission to hospital: a systematic review. Can Med Assoc J 2005; 173: 510-5.

14. Unroe KT, Pfeiffenberger T, Riegelhaupt S, Jastrzembski J, Lokhnygina Y, Colon-Emeric C. Inpatient medication reconciliation at admission and discharge: A retrospective cohort study of age and other risk factors for medication discrepancies. Am J Geriatr Pharmac 2010; 8: 115-26.

15. คฑามาศ แซ่ผ้าง. ผลของการใช้กระบวนการรีคอนซิลิเอชันยาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง [สารนิพนธ์เภสัชศาสร์มหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

16. Herrero-Herrero JI, Garc a-Aparicio J. Medication discrepancies at discharge from an internal medicine service. Eur J Intern Med 2010; 22: 43-8.

17. นารัต เกษตรทัต, อภิฤดี เหมะจุฑา, บุตรี กิจจะอรพิน. ผลสัมฤทธิ์ของการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลกบินทร์บุรี. วารสารเภสัชกรรมคลินิค 2553;17: 17-26.

18. วิมลพรรณ สีวิจี๋. ผลของการทำความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาต่อความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแม่ทา อำเภอแม่ทา จ.ลำพูน [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

19. สุภาภรณ์ ศรีสุพรรณวิทยา, นารัต เกษตรทัต. ผลของการประสานรายการยาแบบครบกระบวนในผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารเภสัชกรรมคลินิค 2553;17: 81-8.

20. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. SIMPLE-Thai Patient Safety Goals Thailand [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 22 มีนาคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://goto know.org/blog/patientsafety/172254.

21. Greenwald JL, Halasyamani L, Greene J, LaCivita C, Stucky E, Benjamin B, et al. Making inpatient medication reconciliation patient centered, clinically relevant and implementable: A consensus statement on key principles and necessary first steps. J Hosp Med 2010; 5: 477-85.

22. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. ประเทศไทย: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล [ออนไลน์]. 2549 [สืบค้นวันที่ 22 มีนาคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.si.Mahidol. ac.th/th/ division/soqd/admin/download_files/4_18_1.pdf.

23. ธนิยา ไพบูลย์วงศ์. Medication reconciliation. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2550; 17: 185-92.

24. WHO Collaborating Centre for Patient Safety Solutions. Assuring medication accuracy at transitions in care [online]. 2007 [cited 2011 Dec 16]. Available from: URL: http://www.ccforpatient safety .org/common/pdfs/fpdf/presskit/PS-Solution6.pdf.

25. National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention. NCC MERP index for categorizing medication error [online]. 2001 [cited 2011 Dec 16]. Available from: URL: http://www. nccmerp.org/pdf/indexBW 2001-06-12.pdf

26. พิณทิรา ตันเถียร. อุปนิสัยการใช้ยาเองในคนไทย. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2552; 4: 309-15.

27. Schwinghammer TL. Pharmacotherapy Handbook. In: Wells BG, Dipiro JT, Schwinghammer TL, Dipiro CV, editors. Cardiovascular disorder. 7th ed. New York: McGraw-Hill; 2009. p. 98-129.