การประเมินสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทโดยชุมชนในจังหวัดตรัง ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต และคุณภาพน้ำที่ผลิตได้

Main Article Content

สุพัตรา คงจริง
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท (น้ำบริโภคฯ) ของชุมชนตามเกณฑ์หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice: GMP) ตรวจคุณภาพน้ำบริโภคฯ จากสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งพัฒนาสถานที่ผลิตสองแห่งที่ไม่ผ่านมาตรฐานให้มีคุณภาพตามเกณฑ์เพื่อเป็นต้นแบบในจังหวัด วิธีการวิจัย: ตัวอย่างคือสถานที่ผลิตน้ำบริโภคฯ ของชุมชนซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงฯ ในปี 2552 จำนวน 35 แห่งซึ่งเลือกมาอย่างสุ่มจากทั้งหมด 73 แห่ง ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบสถานที่ผลิตถึงสาเหตุของการตัดสินใจการผลิตน้ำบริโภคฯ ประเมินความรู้เรื่อง GMP และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประเมินสถานที่ผลิตตามเกณฑ์ GMP  นอกจากนี้ ยังได้เก็บตัวอย่างน้ำบริโภคฯ ที่ผลิตได้เพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้น ผู้วิจัยคัดเลือกสถานที่ผลิต 2 แห่งที่มีคะแนนการประเมิน GMP สูงสุดแต่ไม่ผ่านการประเมินเพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาสถานที่ผลิต  ผลการวิจัย : การตัดสินใจดำเนินโครงการผลิตน้ำบริโภคฯ ของชุมชนเกิดจากการมองประโยชน์ของโครงการ แต่ขาดการคำนึงถึงข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างรอบด้าน ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่อง GMP และกฎหมายที่เกี่ยวข้องน้อย (8.64±2.86 จากคะแนนเต็ม 15)  สถานที่ผลิตน้ำบริโภคฯ ทุกแห่งในงานวิจัยนี้ไม่ผ่านการประเมิน GMP  ผลการตรวจตัวอย่างน้ำบริโภคฯ พบว่า ผ่านมาตรฐานทั้งด้านเคมีและจุลินทรีย์เพียงร้อยละ 47.10 ความรู้ในเรื่อง GMP ของผู้รับผิดชอบสถานที่ผลิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนการประเมินสถานที่ตามเกณฑ์ GMP สถานที่ผลิตซึ่งตัวอย่างน้ำผ่านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ทั้งทางเคมีและจุลินทรีย์) ได้คะแนนการประเมิน GMP ในหมวดสถานที่ตั้งและอาคารฯ หมวดเครื่องมือ เครื่องจักรฯ และหมวดการสุขาภิบาลสูงกว่าสถานที่ที่ตัวอย่างน้ำตกมาตรฐาน ผู้วิจัยสามารถพัฒนาสถานที่ผลิต  1 แห่ง (จาก 2 แห่ง) ให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ GMP ได้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสถานที่ผลิตของชุมชนให้ได้มาตรฐาน คือ ความมุ่งมั่นจริงจังของผู้รับผิดชอบโครงการ การให้ความสำคัญของชุมชนกับการผลิตน้ำ ทักษะในการจัดการ และคำแนะนำจากภาครัฐ สรุป : การผลิตน้ำบริโภคฯ โดยชุมชนมีปัญหาทั้งในเรื่องสถานที่ซึ่งตกมาตรฐาน GMP และคุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด หากหน่วยราชการผู้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในชุมชนได้บูรณาการการทำงานกับฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคก็จะช่วยแก้ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันอีกในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน. คู่มือการบริหารจัดการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี; 2553.

2. สำนักงานปกครองจังหวัดตรัง. ข้อมูลโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ปีงบประมาณ 2553. ตรัง: สำนักงานปกครองจังหวัดตรัง; 2553

3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท. (2524, 24 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98, ตอนที่พิเศษ 157ง ฉบับ หน้า 52-6.

4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) (2534, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108, ตอนที่ 61ง หน้า 3041-2.

5. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 220 (พ.ศ.2544) เรื่อง นํ้าบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) (2544, 26 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118, ตอนที่พิเศษ 70ง หน้า 4-5.

6. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 256 (พ.ศ.2545) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 4). (2545, 18 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119, ตอนที่พิเศษ 54ง หน้า 15-6.

7. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 284 (พ.ศ. 2547) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 5). (2548, 31 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนที่พิเศษ 9ง หน้า 1-2.

8. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 6) (2553, 27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่พิเศษ 67ง หน้า 8-9.

9. สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ขั้นตอนการขออนุญาต [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://newsser.fda.moph.go.th/food/index01.php
1
10. อินทริยา อินทพันธุ์, จิระ วิภาสวงศ์. การประเมินผลการผลิตน้ำดื่มชุมชนจังหวัดลำพูน. วารสารอาหารและยา 2551;15: 54–62

11. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างมาตรฐานในการผลิตและคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทของสถานที่ผลิตขนาดเล็ก.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

12. นิทรา เนื่องจำนงค์, พลับพลึง เทพวิทักษ์กิจ, เสาวนิตย์ บุณพัฒนศักดิ์, เรณู วิริยะประสิทธิ์, นพรัตน์ คงสกุล, ทิพวัลย์ จิตตะวิกูล. คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์ 2539; 38: 203-8.

13. น้อย ทองสกุลพานิชย์, สุภาพร เวทีวุฒาจารย์, ไพรวัลย์ อินทร์อุดม, วิไล เส, ลักษณา ลือประเสริฐ. คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2540; 25: 288-97.

14. ฉวีวรรณ นวจินดา, จุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์, บุญสงค์ ลี้สุรพลานนท์, ศิรินทิพย์ อินทร์ชัย, กรุณา ดิรสมิทธิ์, ไพริน ทาปัญนะ. ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. วารสารอาหารและยา 2541; 5: 22-31.

15. ชนินทร์ เจริญพงศ์, ประธาน ประเสริฐวิทยาการ. การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานในการผลิตต่อคุณภาพมาตรฐานของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในเขต 12 ปี พ.ศ. 2542. วารสารอาหารและยา 2544; 8: 22-9.

16. อุษณีย์ ทองใบ. การประเมินคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในเขตตรวจราชการที่ 2 (จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี และชัยนาท) ปีงบประมาณ 2552. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2552.

17. Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

18. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551

19. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์. คู่มือการให้บริการตรวจวิเคราะห์ (M 42 02 001). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

20. นันทรัตน์ พรทรัพย์มณี, อัจฉรา ชนะสิทธิ์, เสาวนีย์ เก้าเอี้ยน, อลิสรา เรืองขำ. การพัฒนาคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนในเขตจังหวัดตรัง. ในหนังสือรวบรวมบทคัดย่อจากการประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 16 "วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต"; 12-13 มิถุนายน 2551; นนทบุรี. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2551.

21. กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานการสำรวจสถานประกอบการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ปีงบประมาณ 2543. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2544.

22. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. การวิจัยสถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำที่ผลิตจากเครื่องผลิตน้ำดื่มหยอดเหรียญ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2551

23. กองวิเคราะห์และทดสอบ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ. อันตรายจากการปนเปื้อนของไนเตรทในน้ำดื่ม [ออนไลน์]. 2545 [สืบค้นวันที่ 7 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.navy.mi.th/science/ Webpage/newdocument/ni_water.htm

24. Howell DC. Statistical methods for psychology. 7th ed. Belmont, CA: Wadsworth; 2007.

25. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตและคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์น้ำบริโภคปิดสนิทของสถานที่ผลิตขนาดเล็ก (ต่อเนื่อง) ปีงบประมาณ 2549.