ร้านยาที่ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมและ ร้านยาแผนปัจจุบันทั่วไปมีคุณภาพแตกต่างกันหรือไม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินว่าบริการจากร้านยาคุณภาพซึ่งผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรมและร้านยาแผนปัจจุบันทั่วไปมีคุณภาพแตกต่างกันหรือไม่ วิธีการ: เกณฑ์คุณภาพ 16 ข้อที่ใช้ประเมินร้านยาในงานวิจัยนี้คัดเลือกมาจากเกณฑ์มาตรฐานร้านยาของสภาเภสัชกรรมและร่างประกาศกระทรวงว่าด้วยหลักปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรมชุมชน 4 ท่านประเมินว่ามีความสำคัญต่อคุณภาพงานบริการเภสัชกรรมชุมชนอย่างมาก (คะแนนเฉลี่ยเกินกว่า 4.5 จากคะแนนเต็ม 5) และเป็นเกณฑ์ที่สามารถประเมินได้ด้วยการสังเกตร้านยาและการสวมบทบาทขอซื้อยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ร้านยาคุณภาพ 9 ร้านและร้านยาแผนปัจจุบันทั่วไป 14 ร้าน โดยจับคู่ให้เหมือนกันในเรื่องทำเลที่ตั้งและขนาดของร้าน ผู้วิจัยประเมินร้านยาโดยการสังเกตและการสวมบทบาทขอซื้อยา 2 ครั้ง คือ 1) การขอซื้อยาสเตียรอยด์โดยแสดงซองยาจากโรงพยาบาลที่ระบุชื่อยา แต่ไม่ได้ใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อ และ 2) การขอซื้อยาแก้เจ็บคอโดยมีอาการของการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนที่ไม่ต้องการยาปฏิชีวนะ ผลการวิจัย: ร้านยาคุณภาพแยกอุปกรณ์นับเม็ดยาเพื่อป้องกันการปนเปื้อนมากกว่ากว่าร้านทั่วไป (P=0.005) ร้านยาคุณภาพมีผู้ให้บริการที่เป็นเภสัชกร (8 ใน 9 ร้าน) มากกว่าร้านทั่วไป (5 ใน 14 ร้าน) (P=0.001) ร้านยาคุณภาพ (4 ร้าน) และร้านยาทั่วไป (6 ร้าน) จ่ายยาสเตียรอยด์โดยไม่มีใบสั่งแพทย์พอ ๆ กัน (P=1.00) ในการขอซื้อยาแก้อักเสบสำหรับอาการเจ็บคอ ร้านยาคุณภาพเกือบทุกร้านถามอาการประกอบการวินิจฉัยและจ่ายยา และถามมากกว่าร้านยาทั่วไป (P<0.05) ร้านยาคุณภาพยังจ่ายยาได้ถูกต้องตามแนวทางการรักษามากกว่า (P<0.05) อย่างไรก็ตาม พบว่าร้านยาคุณภาพ 6 ร้าน และร้านยาทั่วไป 13 ร้าน ยังคงจ่ายยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ซองบรรจุยาจากร้านยาคุณภาพมีการระบุชื่อร้านและชื่อยามากกว่าร้านทั่วไป (P<0.05) สรุป: ร้านยาคุณภาพซึ่งผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรมให้บริการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คัดเลือกในการศึกษานี้ มากกว่าร้านยาแผนปัจจุบันทั่วไปในหลายประเด็น ผู้เกี่ยวข้องควรเผยแพร่ข้อมูลนี้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการเพื่อให้ตระหนักถึงคุณภาพของบริการจากร้านยาที่แตกต่างกัน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง, สุดารัตน์ จันทร์ประธาตุ, ธรณ์ธันย์ ทองเพิ่ม. พฤติกรรมการขายยาเม็ดสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกต้องในร้านยาเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2544; 10: 594-601.
3. Saengcharoen W, Lerkiatbundit S. Practice and attitudes regarding the management of childhood diarrhoea among pharmacies in Thailand. Int J Pharm Pract 2010; 18: 323–31.
4. Saengcharoen W, Chongsuvivatwong V, Lerkiatbundit S, Wongpoowarak P. Client and pharmacist factors affecting practice in the management of upper respiratory tract infection presented in community pharmacies: a simulated client study. Int J Pharm Pract 2008; 16: 265–70.
5. สำนักงานโครงการพัฒนาร้านยา. แนะนำหน่วยงาน. [ออนไลน์]. 2552 [สืบค้นวันที่ 10 ธันวาคม 2554]. เข้าถึงได้จากhttp://newsser.fda.moph.go.th/advance pharmacy/2009/index.php.
6. สัญชัย อนุลักขณาปกรณ์. การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านยาคุณภาพในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2550.
7. ธนัญชัย ชมภู. การตัดสินใจเชิงเศรษฐศาสตร์ในการเข้าร่วมเป็นร้านยาคุณภาพในโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพของสภาเภสัชกรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
8. ธีรวรรณ ปัญญาสว่างจิตร. ทัศนคติของผู้ประกอบการร้านยาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา. [รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
9. น้องเล็ก บุญจูง, ธีราพร ชนะกิจ, ภกรกิจ ดอกรักกลาง, ภูมิวศิษฏ์ วงษา, ศักดิ์โกสินทร์ สูตสนธิ์, ศุภักษณา ยศปัญญา. การปฏิบัติตามเกณฑ์ร้านยาคุณภาพภายหลังการรับรองมาตรฐานโดยสภาเภสัชกรรม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2550; 12: 53-65.
10. อริสรา นภดลลดาภรณ์. ศักยภาพความพร้อมและการให้ความสำคัญของผู้ประกอบการร้านยาแผนปัจจุบันที่มีต่อเกณฑ์มาตรฐานร้านยาของสภาเภสัชกรรม : กรณีศึกษาร้านยาแผนปัจจุบันในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานีที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา. [รายงานการศึกษาอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
11. ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง, ดวงทิพย์ หงษ์สมุทร. ความคิดเห็นของเจ้าของร้านยาทั่วประเทศต่อมาตรฐานร้านยาของสภาเภสัชกรรม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2549; 15: 111-22.
12. กัมพล ล้อตระกานนท์, ฉัตราภรณ์ ชุ่มจิต และชนัญชิดา สมจิตร. การสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาแผนปัจจุบันในเขตสาธารณสุขที่ 4 ในการนำเกณฑ์มาตรฐานร้านยา มาตรฐานที่ 3 ไปปฏิบัติ [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2547.
13. ภัทรศิณี ทองไพฑูรย์, วันดี วัฒนธาดากุล และอัจจิมา สถาพรเจริญยิ่ง. การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกร
ชุมชนต่อเกณฑ์มาตรฐานร้านยาตามโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2547.
14. นำพร อินสิน. ความตระหนักของประชาชนในการเข้ารับบริการร้านยาตามมาตรฐานร้านยาคุณภาพ และความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ร้านยาในพื้นที่ ต. ธาตุเชิงชุม อ. เมือง จ.สกลนคร. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
15. ระพีพรรณ ฉลองสุข, ฑิฆัมพร แสงจันทร์, ณัฐกานต์ พุทธศิลพรสกุล, ทวิตียา ชัยสุวรรณรัตน์, ปิยนันท์ เหลืองพูนลาภ. การสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาต่ออุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการร้านยาคุณภาพ. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2550; 21: 43-53
16. วิวรรธน์ อัครวิเชียร, ช่อบัว เกิดมงคล, วีนัส ชมาฤกษ์, ธารินี อัครวิเชียร. แรงจูงใจและปัญหาอุปสรรคของการเข้าร่วมในโครงการร้านยาคุณภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ. 2550; 11: 16-25.
17. Puntaluck P, Kiatying-Angsulee N. Understanding the decision of pharmacy owning pharmacists to enroll in community pharmacy accreditation program in Nakonratchacima province. FDA Journal 2009; 16: 57-70.
18. ปริณดา โตสิตารัตน์. กระบวนการพัฒนาร้านยาคุณภาพของโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ [รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.
19. น้องเล็ก บุญจูง, ศิริศักดิ์ บุญหมั่น, ศิริทัศน์ กระดานพล, สาวิตรี ประจงบัว. ความคิดเห็นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อร้านยาคุณภาพตามมาตรฐานสภาเภสัชกรรม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2548; 10: 174-83.
20. อภิรักษ์ วงศ์รัตนชัย, เพชรกุณฑล เตียวตระกูล, ปิยพร เงินทองเนียม, สุนันทา ค้าทวี. ความคิดเห็นของผู้มารับบริการที่มีต่องานบริการของร้านยาคุณภาพในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2550; 21: 55-66.
21. Sanguanvorapong W. Customers' satisfaction in service of accredited community pharmacies in the Bangkok area [master thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2007.
22. กัญจน์ญาดา นิลวาศ, นภาลัย นิรมิตกุศล, สุทัศวรรณ จิตรสุขสม. ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อบริการของร้านยาคุณภาพและร้านยาทั่วไป. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2549; 15: 133-40.
23. วิรัตน์ ทองรอด, พิมลพรรณ แก้วทรัพย์, สิริลดา พัฒนาอนุสรณ์. การสำรวจคุณภาพบริการทางเภสัชกรรมของร้านยาคุณภาพในเขตกรุงเทพและปริมณฑล พ.ศ.2548. รายงานเสนอต่อสำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา สภาเภสัชกรรม; 2549.
24. สภาเภสัชกรรม. มาตรฐานร้านยา [ออนไลน์]. 2546 [สืบค้นวันที่ 10 ธันวาคม 2554]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pharmacycouncil.org/main/law.php.
25. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (ร่าง) ประกาศกระทรวงว่าด้วยหลักปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม สำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขายปลีก). 2552.
26. Agresti A. An introduction to categorical data analysis. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons; 2000.
27. Arroll B, Kenealy T. Antibiotics for the common cold and acute purulent rhinitis. Cochrane Database Syst Rev. 2005; 3:CD000247.
28. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและอวัยวะใกล้เคียง โรคท้องร่วงเฉียบพลัน โรคแผลเลือดออก. [ออนไลน์]. 2552 [สืบค้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554). เข้าถึงได้จาก :http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/userfiledownload/asu15dl.pdf.
29. นิภาภัทร ชีวศรีรุ่งเรือง, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, สุชาดา สูรพันธุ์. ปัญหาจากการใช้ยาอันเกิดจากการซักประวัติไม่ครบถ้วนในร้านยา:กรณีการซื้อยาแทนและการระบุชื่อยา. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553; 2: 60-75.