ผลของการใช้โทรศัพท์ติดตามเพื่อลดปัญหาความไม่ร่วมมือ ในการใช้ยาอะม็อกซีซิลลินชนิดรับประทาน

Main Article Content

ศานตมล เสวกทรัพย์
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต
ศิราณี ยงประเดิม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการโทรศัพท์เตือนให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนหมดเพื่อลดปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา Amoxycillin ชนิดรับประทานของผู้ป่วยนอก วิธีการวิจัย: ตัวอย่างคือผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทับปุด จังหวัดพังงา จำนวน 253 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียและต้องใช้ยาปฏิชีวนะ Amoxycillin ชนิดรับประทานเป็นเวลา 5 วัน ผู้วิจัยสุ่มแยกตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุม 115 คนและกลุ่มทดลอง 100 คนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งสองกลุ่มได้รับคำแนะนำในเรื่องการใช้ยาและความสำคัญของการกินยาอย่างต่อเนื่องจนหมดจากเภสัชกร ผู้วิจัยโทรศัพท์ไปยังผู้ป่วยกลุ่มทดลองในวันที่ 3 หลังจากเริ่มรับประทานยาเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรับประทานยาติดต่อกันจนหมด ในวันที่ 6 ผู้วิจัยโทรศัพท์ไปยังกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเพื่อสอบถามปริมาณยาที่เหลือ  ผู้วิจัยปกปิดตัวอย่างถึงวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อป้องกันอคติในการวัดความไม่ร่วมมือ โดยแจ้งวัตถุประสงค์ของการโทรศัพท์ว่า เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเม็ดยา อาการของโรค และปัญหาการใช้ยา ผลการวิจัย: ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองร้อยละ สรุป: การโทรศัพท์เตือนให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานสามารถลดปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Sackett DL, Haynes RB, Tugwell P. Compliance. In: Sackett DL, Haynes RB, Tugwell P. Clinical Epidemiology: A Basic Science for Clinical Medicine. Boston/Toronto: Little Brown Company; 1985.

2. Meichenbaum D, Turk D. Facilitating Treatment Adherence: A Practitioner's Guidebook. New York, NY: Plenum Press; 1987: 164-73.

3. Caro JJ, Salas M, Speckman JL, Raggio G, Jackson JD. Persistence with treatment for hypertension in actual practice. Can Med Assoc J. 1999;160: 31-7.

4. Caro JJ, Speckman JL, Salas M, Raggio G, Jackson JD. Effect of initial drug choice on persistence with antihypertensive therapy: the importance of actual practice data. Can Med Assoc J. 1999;160: 41-6.

5. Task Force for Noncompliance. Noncompliance with medications: An economic tragedy with important implications for health care reform. Baltimore, MD: Task Force for Noncompliance; 1994.

6. Medication Digest. Compliance-adherence-persistence. American Pharmacists Association and Pfizer, Inc., 2003.

7. Berger BA, Krueger KP, Felky BG. The pharmacist’s role in treatment adherence part 1: extent of the problem. US Pharm. 2004; 29: 50-4.

8. Bond WS, Hussar D A. Detection methods and strategies for improving medication compliance. Am J Hosp Pharm. 1991; 9: 1978-88.

9. Haynes RB, McDonald H, Garg AX, Montague P. Interventions for helping patients to follow prescriptions for medications. Cochrane Database Syst Rev 2002;(2): CD000011.

10. สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติยา. [ออนไลน์].2552 [สืบค้นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554]. เข้าถึงได้จาก: http://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_search/sea001.asp.

11. Howard DH, Scott II RD, Packard R, Jones D. The global impact of drug resistance. Clin Infect Dis. 2003 ;15;36(Suppl 1):S4-10.

12. Kardas P, Devine S, Golembesky A, Roberts C. A systematic review and meta-analysis of misuse of antibiotic therapies in the community. Int J Antimicrob Agent 2005; 26: 106–13.

13. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. พฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนในจังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย. กุมภาพันธ์ 2540.

14. Urien AM, Guillén VF, Beltrán DO, et al. Telephonic back–up improves antibiotic compliance in acute tonsiliitis/pharyngitis. Int J Antimicrob Agent. 2004; 23: 138–43.

15. ชลีวันท์ ศรีสุนทร. ผลของการให้คำปรึกษาการใช้ยาโดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยนอก โรคพาร์กินสันที่สถาบันประสาทวิทยา [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

16. นรรัตน์ สมเพชร, ชิดชนก เรือนก้อน, อัญชลี เพิ่มสุวรรณ. ผลการเตือนทางโทรศัพท์ต่อความร่วมมือในการใช้ยาลดความดันโลหิตของผู้ป่วยนอก. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2550; 25: 89–97.

17. Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007; 39: 175-91.

18. Osterberg L, Blaschke T. Adherence to medication. N Eng J Med. 2005;353:487–97.

19. Guyatt, GH, Sackett DL, and Cook DJ for the Evidence Medicine Working Group. User’s guides to the medical literature, II: how to use an article about therapy or prevention. B. What were the results and will they help me in caring for my patients? JAMA 1993; 271:59-63.

20. Wongpoowarak P, Wanakamanee U, Panpongtham K, Trisdikoon P, Wongpoowarak W, Ngorsuraches S. Unused medications at home: reasons and costs. Int J Pharm Prac 2004; 12: 141-8.