การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายเป็นยาโดยผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น

Main Article Content

อรอุษา สุวรรณมณี
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการโฆษณายาที่ผิดกฎหมาย อัตราการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ที่แอบอ้างสรรพคุณยาโดยผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น และประเมินโอกาสที่โฆษณาดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในผู้บริโภค วิธีการ: ผู้วิจัยบันทึกรายการที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุท้องถิ่นที่เลือกมา 37 แห่งในจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลาที่สถานีเปิดจนถึงเวลาที่ปิดทำการ เป็นเวลา 4 วัน คือ เสาร์ อาทิตย์ และวันทำการปกติอีกสองวันที่เลือกมาอย่างสุ่ม ผู้วิจัยประเมินโฆษณาว่า ถูกกฎหมาย หรือผิดกฎหมาย หรือประเมินไม่ได้ ก่อนการวิจัย ผู้วิจัยพิสูจน์ความเที่ยงของการประเมินทำโดยเปรียบเทียบผลการประเมินโฆษณา 36 ชิ้นจากผู้วิจัยและพนักงานเจ้าหน้าที่ 2 ท่านซึ่งมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ ผลการทดสอบพบว่า ความเที่ยงสูงเป็นที่น่าพอใจ โดยค่า Kappa>0.80 ผู้วิจัยยังได้ประเมินโฆษณาทุกชิ้นที่พบเพื่อหาโอกาสที่โฆษณาจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดบนสเกล 1-7 ผลการวิจัย: สถานีวิทยุ 25 แห่งจากทั้งหมด 37 แห่งมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้ง 25 แห่งมีโฆษณาที่ผิดกฎหมายอย่างน้อย 1 ชิ้น การประเมินโฆษณายา อาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (เช่น เหรียญรักษาโรค) พบการละเมิดกฎหมายร้อยละ 64.01, 46.84, 30.86 และ 68.29 ของจำนวนชิ้นโฆษณา ตามลำดับ การสัมภาษณ์ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และเพลงเป็นรูปแบบโฆษณาที่ละเมิดกฎหมายสูงสุด คือ กว่าร้อยละ 97 ของจำนวนชิ้นโฆษณา การพูดโฆษณาโดยนักจัดรายการและสปอตโฆษณาผิดกฎหมายร้อยละ 27.18-76.00 และ 22.22-40.33 ของจำนวนชิ้นโฆษณา (ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์) ประเด็นที่โฆษณายาละเมิดกฎหมายสูงสุดใน 3 ลำดับแรก คือ การแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง โฆษณาโอ้อวด และโฆษณาชักชวนให้ผู้บริโภคใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อหรือเกินความจำเป็น (ร้อยละ 63.64, 34.34 และ 29.63 ของจำนวนชิ้นโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ตามลำดับ) โฆษณาที่ผิดกฎหมายมีโอกาสให้เกิดความเข้าใจผิด (ค่าเฉลี่ย 5.08-5.41 จากคะแนนเต็ม 7  ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์) สูงกว่าโฆษณาที่ถูกกฎหมาย (ค่าเฉลี่ย 1.33-2.66 ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)  สรุป: การโฆษณาผิดกฎหมายผ่านวิทยุท้องถิ่นยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาต้องเร่งสร้างกลไกใหม่เพิ่มเติมในการเฝ้าระวังปัญหาและต้องอาศัยความร่วม มือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. การ สาธารณสุขไทย 2548–2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

2. Families USA. Off the charts: pay, profits and spending by drug companies. Washington DC: Families USA; 2001.

3. Gagnon M-A, Lexchin J. The cost of pushing pills: a new estimate of pharmaceutical promotion expenditures in the United States. PLoS Medicine. 2008;5:29-33.

4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลการสำรวจสื่อมวลชน (วิทยุและโทรทัศน์) พ.ศ. 2551 [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 13 ตุลาคม 2554]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://service .nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_2-1-9.html

5. The Nielsen Company. Estimated total advertising expenditure by medium [online]. 2010 [cited 2011 Oct 13]. Available from: URL: http://www.adasso thai.com/index.php/main/ad_expenditure.

6. นันทพร เตชะประเสริฐกุล, ปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ, ศิริพล สัจจาพันธ์, ธรรมนิตย์ สุริยะ รังษี, ณัชชา สุริยะรังษี, สุภิญญา น้อยนารถและคณะ. การศึกษาข้อมูลพื้น ฐานวิทยุชุมชนภาคประชาชน (รายงานการวิจัย): เชียง- ใหม่: มูลนิธิ ไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้; 2551.

7. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ. รายงานการแทรกแซงวิทยุชุมชนภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง: ประเทศไทยความเห็นต่างคืออาชญา- กรรม. 2553.

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ราชกิจจา นุเบกษา เล่มที่124 ตอนที่ 47 ก. (ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550).

9. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่125 ตอนที่ 42 ก. (ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551).

10. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ใน: สุนทรี ท. ชัยสัมฤทธิ์โชค, วรรณา ศรีวิริยานุภาพ, นิภาพร อินสีม บรรณาธิการ. ประมวลกฎหมายสำหรับเภสัชกรเพื่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ฉบับปรับ ปรุงใหม่ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2552.

11. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าด้วยหลักเกณฑ์การโฆษณาขายยา พ.ศ. 2545 ราชกิจจานุ- เบกษา เล่มที่120 ตอนพิเศษ 10ง. (ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2546).

12. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สถิติผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน 2553 [ออนไลน์]. 2553 [สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2553]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.fda.moph.go.th /prac/complain/stats.shtml

13. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน [ออน ไลน์]. 2553 [สืบค้นวันที่ 10 กรกฎาคม 2553ล. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.fda.moph.go.th/prac/ complain/stats.shtml

14. Kittisopee T, Anantachoti P, Tangcharoensathien V. Radio drug advertisement situation and regulation in Thailand. Bangkok: the Faculty of Pharmaceu- tical Science, Chulalongkorn University; 2005.

15. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, สุกัลยา คงสวัสดิ์, อารี แวดวงธรรม, ชาญชัย เอื้อชัยกุล, เยาวเรศ อุปมายันต์, เสาวณิชย์ ทฤฆชนม์ และคณะ. สำมะโนการโฆษณาอาหาร ยาและเครื่องสำอางในวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ พ.ศ. 2536 (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2536

16. Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

17. เพลิน จำแนกพล. การศึกษาความรู้ของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินรายการวิทยุชุมชนเกี่ยวกับการโฆษณายาหรือโฆษณาอาหารในเขตตรวจราชการที่ 1 ปีงบประ-มาณ 2552. วารสารอาหารและยา 2553; 17:33-40.