ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาษาไทยกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของนักศึกษามุสลิมในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

Main Article Content

เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาษาไทยกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษามุสลิมของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา และศึกษาลักษณะของปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยของนักศึกษากลุ่มนี้ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดกับการเรียน วิธีการวิจัย:  ในการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างคือนักศึกษามุสลิม จำนวน 404 คน ซึ่งรับการทดสอบด้วยข้อสอบ O-NET รายวิชาภาษาไทยในการสอบที่ผู้วิจัยจัดขึ้น ตัวอย่างทุกคนตอบแบบสอบวัดปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวัดโดยใช้คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPA) ณ เวลาที่ทำวิจัย  ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกตัวอย่าง 7 คนที่เป็นนักศึกษามุสลิมซึ่งได้คะแนน O-NET รายวิชาภาษาไทยน้อยกว่า 40 คะแนนและมีปัญหาเรื่องการเรียน (GPA<2.0) ผลการวิจัย: การวิเคราะห์ถดถอยพหุพบว่า ทักษะภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับ GPA ที่คำนวณจากทุกรายวิชา รายวิชาในหมวดพื้นฐาน และวิชาในหมวดวิชาชีพ ทักษะภาษาไทยยังเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงมากที่สุด คือ สูงกว่าชั้นปีที่ศึกษา GPA ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และปัจจัยอื่น ๆ ที่ศึกษา การวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ตัวอย่างมีปัญหาทักษะภาษาไทยมากในเรื่องการพูดและการเขียน ปัญหาการพูดได้แก่ การพูดเพี้ยน-ไม่ชัด และการสลับคำตามไวยากรณ์มลายู ทำให้นักศึกษาไม่มั่นใจในการเลือกใช้คำ ไม่กล้าพูด และไม่กล้าถามอาจารย์ ปัญหาการเขียน คือ การสะกดผิด เขียนสลับคำ เขียนไม่ถูกหลักไวยากรณ์ และต้องใช้เวลาคิดคำนาน สรุป: วิทยาลัยฯ ควรปรับปรุงทักษะภาษาไทยของนักศึกษามุสลิมที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการมีผลการเรียนไม่ดี นั่นคือ นักศึกษาใหม่ที่มีคะแนน O-NET รายวิชาภาษาไทยน้อยกว่า 40 คะแนน และ GPA ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายน้อย ทักษะที่ควรเน้นปรับปรุงคือทักษะด้านการพูดและการเขียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ข้อมูลจากวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา ปีพ.ศ. 2549-2550

2. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). สถิติคะแนนสอบวิชาภาษาไทย [ออนไลน์]. 2550 [สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.niets.or.th/o-net.html.

3. บัญญัติ ยงย่วน, ยุวดี ชายเกลี้ยง, สอลีห๊ะ เล๊าะมะ, มลิวัลย์ มุกดาจารย์. องค์ประกอบเชาวน์อารมณ์และองค์- ประกอบส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสงขลา-นครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2550;13:44-58.

4. เกษตรชัย และหีม. ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบคัดเลือก องค์ประกอบด้านจิตพิสัย องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2542.

5. Sax LJ, Harper CE. Origins of the gender gap: pre-college and college influences on differences between men and women. Res High Educ 2007; 48: 669-94.

6. Rotter JB. Internal versus external control of reinforcement: A case history of a variable. Am Psychol 1990; 45: 489–93.

7. Whyte C. An integrated counseling and learning assistance center. New Directions Sourcebook Learning Assistance Centers: Jossey-Bass; 1980.

8. Spence JT, Helmreich RL. Achievment-related motives and behaviors. In: Spence JT, editor. Achievement and achievement motives: psychological and sociological approaches. San Francisco: Freeman;1983. p. 7-74

9. Robbins S, Lauver K, Le H, Davis D, Langley R, Carlstrom A. Do psychosocial and study skill factors predict college outcomes? A meta-analysis. Psychol Bull 2004; 130: 261-88.

10. Felder RM, Brent R. Understanding student differences. J Eng Educ 2005; 94: 57–72.

11. มณฑารัตน์ ชูพินิจ. องค์ประกอบในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรีสถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2540.

12. อริยา คูหา, บัญญัติ ยงย่วน. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาวะรอพินิจของนักศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2547; 10: 255-71.

13. Tinto V. Dropout from higher education: A theoretical synthesis of recent research. Rev Educ Res 1975; 45: 89-125.

14. Lefcourt HM. Locus of control. In: Robinson JP, Shaver PR, Wrightsman LS, editors. Measures of personality and social psychological attitudes. San Diego: Academic Press; 1991.

15. Terenzini PT, Wright T. Students’ personal growth during the first two years of college. Rev Educ Res 1987; 10: 259-71.

16. S. Lerkiatbundit. Professionalism in Thai pharmacy students. J Soc Adm Pharm 2000; 17: 51-8.

17. สุนีย์ ละกำปั่น. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ แบบการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2532; 16: 30-8.

18. Riechmann SW, Grasha AF. A rational approach to developing and assessing the construct validity of a student learning style scales instrument. J Psychol 1974; 87: 213-23.

19. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) . ระบบดาวน์โหลดข้อสอบ [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 6 มกราคม 255]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.niets.or.th/.

20. สอางค์ ดำเนินสวัสดิ์และคณะ. เตรียมสอบ Admissions ภาษาไทย O-NET และ A-NET ฉบับรวม 10 พ.ศ. สอบ 15 ครั้ง. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิต; 2551.

21. Howell DC. Statistical methods for psychology. 7th ed. Belmont, CA: Wadsworth; 2007.

22. Mile MB, Huberman A.M. Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage; 1994.

23. ชิดชนก เชิงเชาวน์, ทวี ทองคำ, ศรีกัลยา ภิญโญสโมสร. อิทธิพลการกวดวิชาที่มีต่อความตรงเชิงพยากรณ์ และความยุติธรรมของแบบทดสอบ คัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2545; 8: 201-25.

24. ธีรญา เหงี่ยมจุล. การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยา- นิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] นครปฐม มหาวิทยาลัย ศิลปากร; 2547.

25. อรนุช เอี่ยมธรรม. ผลการสอนวิธีการวินิจฉัยและแก้ไขงานเขียนความเรียงที่ไม่ชัดเจนที่มีต่อความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.

26. สุวิไล เปรมศรีรัตน์, มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์. โครงการวิจัยและพัฒนานโยบายการเรียนการสอนภาษาไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.