การประเมินผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมอาการไม่ได้ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ศรีโรจน์ โตวัฒนกูร
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชน วิธีการ: ตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 42 คนของศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีผลการวัดความดันโลหิตก่อนการวิจัยทุกเดือน เป็นเวลา 6 เดือน มีค่ามากกว่า 140/90 แต่ไม่เกิน 160/100 มิลลิเมตรปรอท อย่างน้อย 3 ครั้ง ขึ้นไป รูปแบบการศึกษาเป็นแบบวัดผลก่อนและวัดผลหลังการแทรกแซงอีกสองครั้งหลังให้การแทรกแซง การแทรกแซงคือการบริบาลเภสัชกรรมสามครั้งเพื่อค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับยาของผู้ป่วย โดยเป็นการบริบาล ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนในครั้งที่หนึ่งและสาม ส่วนครั้งที่สองเกิดที่บ้านของผู้ป่วย ผู้วิจัยประเมินผลการแทรกแซงใน 5 ด้าน ได้แก่ ปัญหาการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยา ความร่วมมือในการรักษา ความดันโลหิต และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการเภสัชกรรม ผลการวิจัย: หลังการบริบาลเภสัชกรรมทั้งสามครั้ง ปัญหาการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโดยรวมลดลงร้อยละ 71.96 (p<0.001) (จาก 107 ปัญหา เหลือ 30 ปัญหา) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาลดลงร้อยละ 91.43 (p<0.001) จาก 35 เหลือ 3 ปัญหา ร้อยละของผู้ป่วยที่ร่วมมือในการใช้ยาที่ประเมินจากการนับเม็ดยาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.71 เป็นร้อยละ 80.95  ส่วนความดันโลหิตบนลดลงจาก 146.50±9.08 เป็น 134.67±12.06 มิลลิเมตรปรอท (p<0.001) ความดันโลหิตล่างลดลงจาก 81.24±9.45 เป็น 73.64±9.18 มิลลิเมตรปรอท (p<0.001) ตัวอย่างพึงพอใจต่อการบริการเภสัชกรรมในระดับสูงในทุกหัวข้อ สรุป: ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการบริบาลทางเภสัชกรรมมีผลลดจำนวนปัญหาการปฏิบัติตน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา และความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลให้การควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยดีขึ้น ดังนั้นจึงควรให้มีการดำเนินการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ศูนย์สุขภาพชุมชนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1) Lewington S, Clarke R, Qizilbash N, Peto R, Collins R. Age-specific relevance of usual blood pressure to vascular mortality: a meta-analysis of individual data for one million adults in 61 prospective studies. Lancet 2002; 360: 1903-13.

2) Meredith PA, Ostergren J. From hypertension to heart failure-are there better primary prevention strategies? J Renin Angiotensin Aldosterone Syst 2006; 7: 64-73.

3) The Task Force for the management of Arterial Hypertension of the European Society of Hypertension and the European Society of Cardiology 2007 Guidelines for the management of arterial hypertension. Eur Heart J 2007; 28: 1462-536.

4) รวมพร นาคะพงศ์. แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.

5) โรงพยาบาลปากพนัง. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการป่วยของผู้ป่วยที่มารับบริการสาธารณสุขของอำเภอปากพนัง. นครศรีธรรมราช : สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข; 2548-2550.

6) The seventh report of the Joint National Committee on prevention, detection, evaluation, and treatment of high blood pressure.JAMA 2003;289:2560-72

7) Oliveria SA, Lapuerta P, McCarthy BD, L'Italien GJ, Berlowitz DR, Asch SM. Physician-related barriers to the effective management of uncontrolled hypertension. Arch Intern Med 2002;162:413-20

8. Carter BL, Zillich AJ, Elliott WJ. How pharmacists can assist physicians with controlling blood pressure. J Clin Hypertens 2003;5:31-7.

9. Erickson SR, Slaughter R, Halapy H. Pharmacists' ability to influence outcomes of hypertension therapy. Pharmacotherapy 1997;17:140-7.

10. Sirimai P. Evaluation of a pharmaceutical care model on hypertensive management at Prachuap Khiri Khan Hospital. [master thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2001.

11. Mehos BM, Saseen JJ, MacLaughlin EJ. Effect of pharmacist intervention and initiation of home blood pressure monitoring in patients with uncontrolled hypertension. Pharmacotherapy 2000;20:1384-9.

12. สาริณีย์ กฤติยานันท์, ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์, สุภาภรณ์ เจตะบุตร. การประเมินผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2547; 14: 101-5.

13. มณฑา ถิระวุฒิ, โพยม วงศ์ภูวรักษ์ , วันทนา เหรียญมงคล. ผลของการเติมยารักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรในศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเทพา. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2550; 25: 303-13.

14) Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007; 39: 175-91.

15) Kirk RE. Experimental deign: procedures for the behavioral sciences. 3rd ed. Pacific Grove, CA: Brooks/Cole; 1995.

16) มณฑา อินอุทัย. ผลของการให้บริการจ่ายยาต่อเนื่องรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรในศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเทพา [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.

17) Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ramsey R, Lamsam GD. Drug-related problems: their structure and function. DICP. 1990;24:1093-7.

18) Naranjo CA, Busto U, Sellers EM, Sandor P, Ruiz I, Roberts EA et al. A method for estimating the probability of adverse drug reactions. Clin Pharmacol Ther 1981; 30: 239–45.

19) สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. Drug Interaction. กรุงเทพมหานคร: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2541.

20) Chobanian AV, Bakris GL, Black HR, Cushman WC, Green LA, Izzo JL et al. The Seventh report of Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of high blood pressure. JAMA 2003; 2899: 2560-72.

21) Lewington S, Clarke R, Qizilbash N, Peto R, Collins R, Prospective Studies Collaboration. Age-specific relevance of usual blood pressure to vascular mortality: a meta-analysis of individual data for one million adults in 61 prospective studies. Lancet 2002; 360: 1903-13.