ปัญหาและอุปสรรคของเภสัชกรในการปฏิบัติตาม มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการบริการผสมและจ่ายยาเคมีบำบัด

Main Article Content

ศิริพร ใจเพียร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเภสัชกรในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการบริการผสมและจ่ายยาเคมีบำบัด ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล ปี พ.ศ. 2551 วิธีการ: ผู้วิจัยสัมภาษณ์เภสัชกร 12 คนที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 6 เดือนในงานเตรียมยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป 12 แห่งในภาคใต้ และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัย: ปัญหาและอุปสรรคของเภสัชกรในการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ มี 4 ประเด็น คือ บุคลากรและการประสานงาน งบประมาณ นโยบายของผู้บริหาร และปัจจัยภายนอกองค์กร ปัญหาในประเด็นบุคลากรและการประสานงานนั้น คือ เภสัชกรไม่ให้ความสำคัญกับมาตรฐานบางส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการผสมยาเคมีบำบัดและเครื่องป้องกันการสัมผัสยา อีกทั้งยังขาด กำลังคนที่เพียงพอ และขาดการประสานงานที่ดีระหว่างวิชาชีพ การขาดงบประมาณในการลงทุนมีผลต่อการเตรียมสถานที่ ห้องสำหรับผสมยาเคมีบำบัด และตู้ปลอดเชื้อ ส่วนการขาดงบประมาณดำเนินงานทำให้ไม่สามารถส่งบุคลากรทุกคนไปอบรมในหลักสูตรที่กำหนด ไม่สามารถจัดหาวัสดุสิ้นเปลืองที่มาตรฐานฯ ระบุ เช่น เสื้อกาวน์แบบปราศจากเชื้อและปราศจากเส้นใย ตลอดจนไม่สามารถบำรุงรักษาตู้ปลอดเชื้อตามที่กำหนด นโยบายของผู้บริหารในสามประเด็นต่อไปนี้มีผลต่อการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานฯ คือ  แนวคิดของการฝึกอบรมภายใน โดยให้บุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันภายนอกถ่ายทอดประสบการณ์ให้บุคลากรในหน่วยงาน นโยบายที่เร่งด่วนให้เปิดบริการผสมยาเคมีบำบัดเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพโดยองค์กรภายนอก  และนโยบายที่เน้นงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเคมีบำบัดทำให้ลดงบประมาณและกำลังคนที่ได้รับ ปัจจัยภายนอกองค์กรที่หน่วยงานไม่อาจควบคุมได้โดยตรง แต่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานฯ  คือ 1) มาตรฐานบางประเด็นไม่ได้เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ บางประเด็นขาดรายละเอียด และควรกำหนดให้ชัดว่า มาตรฐานใดที่เป็นข้อบังคับหลักจำเป็น ต้องปฏิบัติตาม และข้อใดเป็นมาตรฐานรอง 2) หลักสูตรอบรมที่สมาคมฯ รับรองเป็นหลักสูตรสำหรับเภสัชกรเท่านั้น ไม่รวมถึงบุคลากรกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้การอบรมยังมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องใช้เวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการฝึกปฏิบัติ สรุป : ปัญหาในเรื่องบุคลากรและการประสานงาน งบประมาณ นโยบายของผู้บริหาร และปัจจัยภายนอกองค์กรที่พบในงานวิจัยนี้สามารถ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ของโรงพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงานผสมยาเคมีบำบัด และองค์กรวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อให้บริการเตรียมยาเคมีบำบัดเป็นไปตามมาตรฐานมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย. สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย 2548; 1-6.

2. Sorsa M, Hemminki K, Vainio H. Occupational exposure to anticancer drug--potential and real hazards. Mutat Res 1985;154:135-49.

3. Falck K, Gröhn P, Sorsa M, Vainio H, Heinonen E, Holsti LR. Mutagenicity in urine of nurses handling cytostatic drugs. Lancet 1979; 1: 1250-1.

4. Sessink PJM, Wittenhorst BCJ, Anzion RBM and Rob RP. Exposure of pharmacy technicians to antineoplastic agents: Reevaluation after additional protective measures. Arch Environ Health 1997; 52: 240-4.

5. Ensslin AS, Huber R, Pethran A, Römmelt H, Schierl R, Kulka U, Fruhmann G. Biological monitoring of hospital pharmacy personnel occupationally exposed to cytostatic drugs: urinary excretion and cytogenetics studies. Int Arch Occup Environ Health 1997;70: 205-8.

6. Burgaz S, Karahalil B, Bayrak P, Taşkin L, Yavuzaslan F, Bökesoy I et al. Urinary cyclophosphamide excretion and micronuclei frequencies in peripheral lymphocytes and in exfoliated buccal epithelial cells of nurses handling antineoplastics. Mutat Res 1999; 439: 97-104.

7. Cavallo D, Ursini CL, Perniconi B, Francesco AD, Giglio M, Rubino FM et al. Evaluation of genotoxic effects induced by exposure to antineoplastic drugs in lymphocytes and exfoliated buccal cells of oncology nurses and pharmacy employees. Mutat Res 2005; 587: 45-51.

8. Sasaki M, Dakeishi M, Hoshi S, Ishii N, Murata K. Assessment of DNA damage in Japanese Nurses handling antineoplastic drugs by the Comet assay. J Occup Health 2008; 50: 7-12.

9. จินตนา ตั้งสิชฌนกุล, สุรสิทธิ์ วัชระสุขโพธิ์. งานบริการเภสัชกรรมด้านยาที่มีพิษต่อเซลล์ โรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่น : บริษัทเพ็ญพรินติ้งจำกัด; 2547.

10. ดำรงเกียรติ ตั้งเจริญ, อุดมลักษณ์ รังสิยาภรณ์รัตน์, ชลทิพา พิเศษกุล. ความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2548; 15: 246-53.

11. Yodaiken RE, Bennett D. OSHA work-practice guidelines for personnel dealing with cytotoxic (antineoplastic) drugs. Am J Hosp Phar 43; 5: 1193-204

12. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). คู่มือเภสัชกร:การผสมยาเคมีบำบัด (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ มหานคร: ปรมัตถ์การพิมพ์; 2551.

13. ทวี ธัญเวทยานนท์, สุวรรณี สิริเลิศตระกูล, มั่นมานะ จิระจรัส, วรชัย รัตนธราธร, ธิติยา สิริสิงห. การสำรวจการเตรียมยาเคมีบำบัดโดยบุคลากรที่ไม่ใช่เภสัชกร.วารสารอายุรศาสตร์แห่งประเทศไทย 2545; 18: 212-9.

14. Ishii N, Dakeishi M, Sasaki M, Murata K: Safety awareness of anticancer drug handling among Japanese nurses. Japan J Public Health 2005; 52: 727–35.

15. อักษร จันทร์มณีโชติ. ความพร้อมในการให้บริการเตรียมยาเคมีบำบัดโดยเภสัชกรในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.

16. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). มาตร- ฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล [ออนไลน์]. 2549 [สืบค้นวันที่ 2 สิงหาคม 2553]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://thaihp.org/index.php?lang=th&option=home.

17. Mile MB, Huberman AM. Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage; 1994.