การพัฒนาแบบวัดความไวต่อประเด็นจริยธรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ตอนที่ 1: การพัฒนากรณีศึกษาและวิธีการวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : พัฒนากรณีศึกษาที่ใช้วัดความไวต่อประเด็นจริยธรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และมุ่งพัฒนาวิธีการ ใช้แบบประเมินดังกล่าว วิธีการ : การศึกษานี้แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเป็นการพัฒนากรณีศึกษาสี่กรณีที่ซ่อนประเด็นจริยธรรมไว้ 14 ประเด็น ประเด็นเหล่านี้ถูกกล่าวถึงในจดหมายข่าววิชาชีพและทางสื่อต่าง ๆ การทดสอบขั้นต้นทำโดยสัมภาษณ์นักศึกษา เภสัชศาสตร์ 20 คนหลังจากอ่านกรณีศึกษาว่า นักศึกษาเห็นว่ามีประเด็นใดบ้างที่มีความสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยไม่บอกว่าเป็นการทดสอบเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม นอกจากนี้ กรณีศึกษายังผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ 4 คนและเภสัชกรชุมชน 4 คน ในช่วงที่สองของการศึกษา ผู้วิจัยเปรียบเทียบการใช้แบบวัดในรูปแบบการสัมภาษณ์และในรูปของแบบสอบถามชนิดตอบเอง โดยสุ่มแยกนักศึกษาเภสัชศาสตร์ 50 คนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกใช้การสัมภาษณ์ อีกกลุ่มใช้แบบวัดในรูปของแบบสอบถาม ตัวอย่างอ่านกรณีศึกษาที่หนึ่งและสอง และตอบว่ามีประเด็นใดที่ตนเองคิดว่ามีความสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพในกรณีศึกษา หากนักศึกษาตอบในประเด็นจริยธรรมที่ซ่อนไว้ก็จะได้คะแนนตามจำนวนประเด็นที่ตอบ การวิจัยนี้ใช้ผู้สัมภาษณ์lทั้งหมดสามท่านที่ผ่านการอบรมวิธีการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย : กรณีศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติตามต้องการ ผลการประเมินโดยอาจารย์ พบว่า ประเด็นที่ซ่อนไว้มีความสำคัญระดับปานกลางถึงมากตามที่ตั้งใจไว้ แบบวัดนี้ต้องใช้โดยการสัมภาษณ์ โดยไม่ควรใช้ในรูปของแบบสอบถามที่ตัวอย่างต้องเขียนตอบ เพราะการเขียนตอบเป็นภาระแก่ผู้ตอบอย่างมาก ทำให้ไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ คำตอบจากแบบสอบถามเกือบทุกฉบับจะคลุมเครือ-ไม่ชัดเจน ทำให้ไม่อาจประเมินได้ว่าตัวอย่างเห็นประเด็นทางจริยธรรมหรือไม่ นอกจากนี้ คะแนนจากการสัมภาษณ์ (3.24+1.13 จากคะแนนเต็ม 6) ยังสูงกว่าคะแนนจากแบบสอบถามอย่างมาก (1.88+1.29) สรุป : การศึกษานี้ทำให้ได้กรณีศึกษาที่มีความเหมาะสม ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาในขั้นต่อไปเพื่อวัดความไวต่อประเด็นจริยธรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ แบบวัดที่ได้ต้องใช้การสัมภาษณ์ในการประเมิน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2) สำลี ใจดี. จริยธรรมเภสัชกร. กรุงเทพ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
3) คณะทำงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเตรียมการประชุมเภสัชศาสตร์ศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 2 พ.ศ. 2545 หัวข้อจริยธรรมแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมและการนำไปสู่การปฏิบัติ. จริยธรรมของเภสัชกร มุมมองจากสังคม. กรุงเทพ:โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
4) อภิรักษ์ วงศ์รัตนชัย. ผลการวิจัยจริยธรรมเภสัชกร (pharmacists’ ethics): จะใช้พัฒนาการเรียนการสอนจริยธรรมวิชาชีพอย่างไร. ใน: อรทัย อาจอ่ำ, อำนาจ ศรีรัตนบัลล์, ทวีศักดิ์ นพเกสร, ระพีพรรณ คำหอม, บรรณาธิการ. เรื่องเล่า...เปลี่ยนโลก: ความรู้จากการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในบริบทสังคมไทย. เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง "วิถีแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ :ถึงเวลาบูรณาการ"; 27-28 มกราคม 2552; กรุงเทพฯ: 2552. หน้า 15-6.
5) Rest JR. A psychologist looks at the teaching of ethics. Hastings Cent Rep 1982; 12: 29-36.
6) Lind G. Moral dilemma discussion-The Konstanz method. Paper presented at the meeting of the Association for Moral Education (AME); 2002 Nov 7-10; Chicago.
7) เฉลิม วราวิทย์, วณิช วรรณพฤกษ์, นภาธร บานชื่น, มาลี พูลคลองตัน, อาวุธ ศรีสุกรี. รายงานการวิจัยด้านแพทยศาสตร์ศึกษา: แผนกลยุทธการวิจัยสุขภาพ กลุ่มกลไกเกื้อหนุนสุขภาพ; 2541.
8) Bebeau MJ, Brabeck MM. Integrating care and justice issues in professional moral education: a gender perspective. J Moral Educ 1987; 16: 189–203.
9) Blasi A. Bridging moral cognition and moral action: A critical review of the literature. Psychol Bull 1980; 88, 1–45.
10) Thoma SJ, Rest JR, Davison ML. Describing and testing a moderator of the moral judgment and action relationship. J Per Soc Psychol 1991; 61: 659–69.
11) Bebeau MJ, Rest JR, Yamoor CM. Measuring dental students' ethical sensitivity. J Dent Educ 1985; 49:225-35.
12) Hébert P, Meslin EM, Dunn EV, Byrne N, Reid SR. Evaluating ethical sensitivity in medical students: using vignettes as an instrument. J Med Ethics. 1990; 16: 141-5.
13) Hébert PC, Meslin EM, Dunn EV. Measuring the ethical sensitivity of medical students: a study at the University of Toronto. J Med Ethics. 1992; 18:142-7.
14) Akabayashi A, Slingsby BT, Kai I, Nishimura T, Yamagishi A. The development of a brief and objective method for evaluating moral sensitivity and reasoning in medical students. BMC Med Ethics 2004; 5: 1-6.
15) Volker JM. Counseling experience, moral judgment, awareness of consequences and moral sensitivity in counseling practice. PhD [dissertation]. Minneapolis(MN): University of Minnesota; 1983
16) Shaub M. An empirical examination of the determinants of auditors' ethical sensitivity. PhD [dissertation]., Lubbock (TX): Texas Technology University; 1989.
17) Sparks JR, Hunt SD. Marketing researcher ethical sensitivity: conceptualization, measurement, and exploratory investigation. J Marketing 1998; 62: 92-109.