ประเด็นจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของเภสัชกร ที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประเด็นจริยธรรมที่เภสัชกรพบในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ วิธีการ: การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งสัมภาษณ์เจาะลึกเภสัชกร 17 คนที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างน้อย 3 ปี ถึงประเด็นจริยธรรมที่พบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล 16 จากทั้งหมด 17 คนไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องจริยธรรมหลังจบการศึกษา ประเด็นจริยธรรมที่เภสัชกรประสบแบ่งออกเป็น 6 ประเด็น ได้แก่ 1. การจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ซึ่งเภสัชกรคิดว่าอาจไม่ใช่แผนการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย 2. ปัญหาการเข้าถึงยาต้านไวรัสและยาที่เกี่ยวข้องเพราะข้อจำกัดของการใช้สิทธิตามกฎหมาย หรือมีสิทธิแต่ไม่ครอบคลุมยาที่จำเป็น หรือถูกปฎิเสธการรักษา หรือการเข้าถึงลำบากเนื่องด้วยกฎระเบียบของโรงพยาบาล 3. ความไม่ร่วมมือของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลทั้งในเรื่องการใช้ยาและการมารับบริการ 4. สิทธิอนามัยเจริญพันธ์หรือการมีบุตร 5. การรักษาความลับของผู้ป่วยจากผู้ที่ไม่ทราบสถานะภาพติดเชื้อของผู้ป่วย เช่น คู่สมรส บุคคลที่จะแต่งงานกับผู้ป่วย หรือผู้สัมผัสเลือดของผู้ป่วยด้วยความบังเอิญ และ 6. การบอกความจริงเรื่องโรคที่เป็นแก่ผู้ป่วยเด็กซึ่งเริ่มจะเบื่อการกินยาและไม่ร่วมมือในการรักษา สรุป : ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาจริยธรรมที่เภสัชกรประสบในการศึกษานี้จะมีประโยชน์ต่อคณะเภสัชศาสตร์และผู้บริหารงานเภสัชกรรมระดับต่าง ๆ ในการผลการวิจัยเป็นพื้นฐานเพื่อจัดการอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจทางจริยธรรมของเภสัชกรในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. บำเพ็ญจิต แสงชาติ. วัฒนธรรมการดูแลตนเองในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์:การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
3. พจนา วิภามาศ. ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์; 2544.
4. อรัญญา เชาวลิต, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. ประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์: พันธะหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2539; 16:14-22.
5. Chaowalit A. Development and psychometric evaluation of the Ethical Issues Scale (ELS) for HIV/AIDS patient care in Thailand [dissertation]. Boston: Boston College School of Nursing; 1997.
6. Moatti JP, Souvilleavb M, Obadia Y, Morinaa M, Sebbahd R, Gambye T, et al. Ethical dilemmas in care for HIV infection among French general practitioners. Health Policy 1995; 31:197-210.
7. Wingfield J, Bissell P, Anderson C. The Scope of pharmacy ethics—an evaluation of the international research literature, 1990–2002. Soc Sci Med 2004; 58: 2383–96.
8. NHS Executive. Reducing mother to baby transmission of HIV (HSC 1999/183). London: Department of Health, 1999.
9. Powell SK. Case management: A practical guide to success in managed care. Philadelphia: Lippincott; 2000.
10. Mile MB, Huberman A.M. Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage; 1994.
11. Lerkiatbundit S, Borry P. Moral distress part I: critical literature review on definition, magnitude, antecedents and consequences. Thai Journal of Pharmacy Practice 2009;1: 3-11.