ปัญหาจากการใช้ยาอันเกิดจากการซักประวัติไม่ครบถ้วนในร้านยา: กรณีการซื้อยาแทนและการระบุยาที่ต้องการ

Main Article Content

นิภาภัทร ชีวศรีรุ่งเรือง
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต
สุชาดา สูรพันธุ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาปัญหาจากการใช้ยากรณีที่เภสัชกรชุมชนไม่ซักประวัติให้ครบถ้วนในผู้รับบริการที่ซื้อยาแทนผู้อื่นหรือระบุยาที่ต้องการ วิธีการ: ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยซักประวัติผู้ที่ซื้อยาแทน 58 ราย และผู้ที่ซื้อยาโดยระบุชื่อ 215 ราย ในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2 แห่งของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การประเมินปัญหาจากการใช้ยาทำโดยผู้วิจัย 2 ท่านแบบเป็นอิสระต่อกัน และใช้วิธีของ PCNE version 5.01  ผลการวิจัย: จากตัวอย่างที่ซื้อยาแทนผู้อื่น 58 ราย พบว่าร้อยละ 22.4 ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนซึ่งมีผลต่อการพิจารณาจ่ายยา ในการซื้อยาแทนซึ่งเภสัชกรไม่ได้ซักประวัติจากผู้ป่วย จะเกิดปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยร้อยละ 27.59 ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ คือ ยาที่ใช้ไม่มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนในโรคหรือภาวะที่ผู้ป่วยเป็น (ร้อยละ 33.33 ของปัญหาทั้งหมด) การใช้ยาตัวที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 16.67) ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ควรได้ (ร้อยละ 16.67) ช่วงเวลาที่ได้รับยาสั้นเกินไป (ร้อยละ 16.67) และการได้ขนาดยาหรือความถี่ในการให้ยาน้อยเกินไป (ร้อยละ 11.12) เป็นต้น ในผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการใช้ยา พบว่าเกิดปัญหากับผู้ป่วยแล้ว (ร้อยละ 81.25) การซักประวัติจากผู้ป่วยโดยตรงช่วยให้สามารถป้องกันปัญหาได้ในผู้ป่วยร้อยละ 18.75 ในการซื้อยาโดยระบุชื่อยา หากเภสัชกรไม่ซักประวัติ แต่จ่ายยาตามที่ผู้รับบริการระบุ จะเกิดปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยร้อยละ 29.3 ปัญหาที่พบมากคือ ยาที่ใช้ไม่มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนในโรคหรือภาวะที่ผู้ป่วยเป็น (ร้อยละ 28.57) ตัวยาไม่เหมาะสม (ร้อยละ 11.43) ช่วงเวลาของการได้รับยาสั้นเกินไป (ร้อยละ 11.43) และขนาดยาหรือความถี่ในการให้ยาน้อยเกินไป (ร้อยละ 8.57) และอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ร้อยละ 7.14) เป็นต้น ในผู้ป่วยที่พบปัญหาจากการใช้ยา การซักประวัติช่วยให้ไม่เกิดปัญหาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 23.81  ผู้ป่วยร้อยละ 50.79 เกิดปัญหาจากการใช้ยาที่อาจมีผลกระทบมาก สรุป: ผลของการศึกษาทำให้ทราบว่า การซักประวัติไม่ครบถ้วนในร้านยาในกรณีที่ผู้รับบริการซื้อยาแทนและระบุชื่อยาที่ต้องการ จะทำให้ปัญหาจากการใช้ยาจำนวนมากไม่ถูกค้นพบ การซักประวัติให้ครบถ้วนและการซักประวัติจากผู้ป่วยโดยตรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1) มาลี โรจน์พิบูลสถิตย์. การจ่ายยารักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในร้านขายยา ในเขตจังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร 2541; 16: 213-25.

2) สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล, เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์, ยุพดี ศิริสินสุข, วรรณา ศรีวิริยานุภาพ. การพัฒนาค่าบ่งชี้สภาพการใช้ยาในร้านยา. ไทยเภสัชสาร 2539; 20: 247 -59.

3) สกุล มุกดาจารุจินดา, ศิริตรี สุทธจิตต์, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. แบบแผนการใช้ยาปฏิชีวนะของเภสัชกรสําหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ณ ร้านยา [ปริญญานิพนธ์เภสัชศาสตรบัณฑิต]. มหาสาร-คาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550.

4) ศิริพร กฤตธรรมากุล, ปิยนาฏ สุขเพ็ชร์, ปิยะลักษณ์ วงศ์พระจันทร์, พิทักษ์พงศ์ มากชัย, ระดม เจือกโว้น, สุชีรา บริบูรณ์. การสร้างมาตรฐานการจ่ายยาของโรคที่พบบ่อย . สงขลานครินทร์เวชสาร 2549; 24: 175-81.

5) มาลี โรจน์พิบูลสถิตย์, เพชรวรรณ พึ่งรัศมี. การศึกษาความล่าช้าในการไปตรวจรับการรักษาและความล่าช้าในการตรวจวินิจฉัยของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในจังหวัดสงขลา. โครงการบทบาทของร้านยากับงานควบ คุมวัณโรค สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2549.

6) Gennaro AR. Remington : The science and practice of pharmacy. 9th ed. Easton: Mack; 1995.

7) Pharmaceutical Care Network Europe. PCNE classification for drug related problems (revised 01-05-06 vm) V 5.01 2006 [online]. 2006 [cited 2009 August 15]. Available from: URL:http://www.pcne. org/dokcumen ter/DRP/PCNE%20classification%20V5.01.pdf.

8) Cohen J. A coefficient of agreement for nominal scales. Educ Psychol Meas1960; 20: 37–46.