ผลของการเยี่ยมบ้านโดยนิสิตเภสัชศาสตร์ต่อความรู้ ความร่วมมือในการใช้ยา และปัญหายาขยะในครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการเยี่ยมบ้านโดยนิสิตเภสัชศาสตร์ต่อความรู้ ความร่วมมือในการใช้ยา และปัญหายาขยะในครัวเรือน วิธีการวิจัย: การศึกษาเป็นแบบทดลองเชิงสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ในชุมชนบ้านสามขา จังหวัดหนองคาย เกณฑ์การคัดเข้าร่วมศึกษา คือ ครัวเรือนที่มียาในรูปแบบเม็ดรับประทาน ตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป หรือครัวเรือนที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และยินยอมเข้าร่วมการศึกษา ตัวอย่าง 78 ครัวเรือนถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (ได้รับการเยี่ยมบ้าน และสำรวจรายการยาในครัวเรือน จำนวน 40 ครัวเรือน) และกลุ่มควบคุม (ได้รับการสำรวจรายการยาเพียงอย่างเดียว จำนวน 38 ครัวเรือน) ในกลุ่มทดลอง นิสิตเภสัชศาสตร์เข้าพบทุกครัวเรือน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ความรู้ ประเมินความรู้และความร่วมมือในการใช้ยา และสำรวจรายการยาในครัวเรือน ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการใช้ยาและการเก็บรักษายามากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการเข้าพบครั้งที่ 2 (9.68±0.66 และ 6.95±1.16, p<0.01) และครั้งที่ 3 (9.95±0.22 และ 7.11±1.48, p<0.01) กลุ่มทดลองมีผู้ให้ร่วมมือในการใช้ยามากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการเข้าพบครั้งที่ 2 (ร้อยละ 83.3 เทียบกับร้อยละ 25.0, p<0.01) และครั้งที่ 3 (ร้อยละ 94.4 เทียบกับร้อยละ 33.3, p<0.01) ด้านปัญหายาขยะ พบปัญหาในร้อยละ 52.6 ของครัวเรือนในการเข้าพบครั้งที่ 1 และผู้วิจัยได้นำยาขยะทั้งหมดออกจากทุกครัวเรือน ยาขยะร้อยละ 54.1 เป็นยารักษาโรคเรื้อรัง และเป็นยาที่ไม่ได้ใช้ร้อยละ 33.3 ค่ามัธยฐานของจำนวนเม็ดยาขยะต่อหนึ่งครัวเรือนที่เป็นยารักษาโรคเรื้อรังเท่ากับ 172.0 เม็ด และที่เป็นยารักษาโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคเรื้อรังเท่ากับ 36.5 เม็ด สรุป: การเยี่ยมบ้านโดยนิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 สามารถเพิ่มความรู้เรื่องการใช้ยา และการเก็บรักษายาได้ และสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้น รวมถึงช่วยลดปัญหายาขยะในครัวเรือน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2) World Health Organization. Definition and characterization of health-care waste. [Online]. 2006 [cited 2009 Feb 26]. Available from: URL: http://www.who.int/water_sanitation_health/medicalwaste/002to019.pdf
3) Jesson J, Pocock R, Wilson K. Reducing medicines waste in the community. Prim Health Care Res Dev 2005;6:117-24.
4) Mackridge AJ, Marriott JF. Returned medicines: waste or a wasted opportunity?. J Public Health 2007 ;29:258-62.
5) Ekedahl ABE. Reasons why medicines are returned to Swedish pharmacies unused. Pharm World Sci 2006 ;28:352-8.
6) Coma A, Modamio P, Lastra CF, Bouvy ML, Mariño EL. Returned medicines in community pharmacies of Barcelona, Spain. Pharm World Sci 2008; 30:272–7.
7) นภวรรณ เจียรพีรพงศ์, ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์. การประมาณขนาดของปัญหาและความสูญเสียทางการเงินของรัฐเมื่อผู้ป่วยมียาไว้ในครอบครองเกินความจำเป็น. R2R เสริมพลังสร้างสรรค์ พัฒนา: การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบบริการตติยภูมิ [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://r2r.hsri.or.th/best-practice/detail.php?id=6&key=bestr2rpractice/
8) Wongpoowarak P, Wanakamanee U, Panpongtham K, Trisdikoon P, Wongpoowarak W, Ngorsuraches S. Unused medications at home–reasons and costs Int J Pharm Pract 2004; 12:141–8.
9) อรวรรณ โพธิ์เสนา. ระดับความไม่ร่วมมือในการใช้ยา และปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
10) อธิษฐาน ศุภวราพงษ์. ผลของการให้การบริบาลเภสัชกรรมที่บ้านแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ บ้านขามเรียง จังหวัดมหาสารคาม. [ปริญญานิพนธ์เภสัชศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
11) ชนัญญา จันทร์เทศ. บทบาทของเภสัชกรในทีมเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน จังหวัดพิจิตร [ปริญญานิพนธ์เภสัชศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
12) อภิญญา อิสระ. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการจากหน่วยปฐมภูมิ วัดสามัคคี จังหวัดมหาสารคาม. [ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
13) Syarstad BL, Chewning BA, Sleath BL, Claesson C. The Brief Medication Questionnarire: A tool screening patient adherence and barriers to adherence. Patient Educ Couns 1999;37:113-24.
14) ยุคลธร จิรพงศ์พิทักษ์. ผลได้ของการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูง. [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
15) Sookaneknun P, Richards RME, Sanguansermsri J, Teerasut C. Pharmacist involvement in primary care improves hypertensive patient clinical outcome. Ann Pharmacother 2004;38:2023-8.