การทดสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาของ แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไต (KDQOL-SFTM) ฉบับภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบประเมินคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง (Kidney Disease Quality of Life Short Form: KDQOL-SFTM) ฉบับภาษาไทย วิธีการ : แบบวัดประกอบด้วยข้อคำถาม 24 ข้อใหญ่ 79 ข้อย่อย แบบวัดถูกแปลเป็นภาษาไทยด้วยวิธีการแปลไปข้างหน้า-แปลกลับ (forward and backward translation) ผู้วิจัยทดสอบแบบประเมินในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง จำนวน 50 คน ที่ได้ทดสอบความตรงด้วยวิธี known-group validation และทดสอบความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคและการทดสอบสองครั้ง (Test-retest reliability) ผลการวิจัย : เพศชายมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิงในส่วนอาการและปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ผลของสภาวะโรคไตต่อผู้ป่วย และคุณภาพในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อพิจารณาตามระยะโรคพบว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตน้อยกว่าผู้ป่วยก่อนระยะสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคของ KDQOL-SFTM ฉบับภาษาไทยค่อนข้างดี โดยค่า α ของส่วนที่มีความเฉพาะเจาะจงกับโรคไต อยู่ในช่วง 0.49-0.86 และค่า α ของคำถามทั่วไป อยู่ในช่วง 0.78-0.97 การทดสอบสองครั้งโดยเว้นระยะห่าง 4 สัปดาห์ พบว่า Intraclass correlation coefficient (ICC) ของส่วนที่มีความเฉพาะเจาะจงกับโรคไต อยู่ในช่วง 0.35 – 0.80 ยกเว้นสถานภาพในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ และ ICC ในส่วนคำถามทั่วไป อยู่ในช่วง 0.72 - 0.96 สรุป : จากการทดสอบพบว่า KDQOL-SFTM ฉบับภาษาไทยมีคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาที่ดี อย่างไรก็ตามควรทดสอบเครื่องมือดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ต่อไป
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Korevaar JC, Merkus MP, Jansen MAM, Dekker FW, Boeschoten EW, Krediet RT. Validation of the KDQOL-SF: a dialysis-targeted health measure. Qual Life Res 2002; 11: 437–47.
3. Mapes DL, Bragg-Gresham JL, Bommer J, Fukuhara S, McKevitt P,Wikstrom B, Lopes AA.
4. Health-related quality of life in the Dialysis Outcomes and Practice Patterns Study (DOPPS). Am J Kidney Dis 2004; 44:54– 60.
5. Knight EL, Ofsthun N, Teng M, Lazarus JM, Curhan GC. The association between mental health, physical function, and hemodialysis mortality. Kidney Int 2003; 63:1843– 51.
6. Hays RD, Kallich JD, Mapes DL, Coons S, Amin N, Carter WB, Kamberg C. Kidney Disease Quality of Life Short Form (KDQOL-SFTM), Version 1.3: a manual for use and scoring. CA: RAND, Santa Monica; 1997.
7. ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนานุกิจ, คทา เหล่าศรีมงคล, ทรงพล บุญธรรมจินดา, ศิระ เฉลียวจิตติกุล. การสร้างและทดสอบความตรงของเครื่องมือเพื่อใช้วัดความพึงพอใจของผู้มารับบริการในร้านยา.วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2548; 19:87-102.
8. วัชรี เลอมานกุล, ปาร์ณีย์ มีแต้ม. การพัฒนาแบบสอบถามคุณภาพชีวิต SF-36 ฉบับภาษาไทย. ไทยเภสัชสาร 2543; 24: 92-111.
9. วัชรี เลอมานกุล. การสร้างแบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ. ไทยเภสัชสาร 2543; 24: 71-85.
10. สุพัฒน์ วานิชย์การ, พิศิษฐ์ จิรวงศ์, อุษา พาณิชปฐมพงศ์, สุวิชา ลิ้มเจริญสุข, สุพรชัย กองพัฒนากูล. การสร้างแบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. สารศิริราช. 2540;49:735-44.
11. Rosner B. Fundamental of biostatistics. 5th ed. Pacific Grove, California: Duxbury Thomson Learning, 2000.
12. Walter, SD, Eliasziw M, Donner A. Sample size and optimal designs for reliability studies. Stat. Med. 1998;17:101-10.
13. Fayers PM and Machin D. Quality of life: assessment, analysis and interpretation. New York; John Willey &Sons, 2000.
14. Green J, Fukuhara S, Shinzato T, Miura Y, Wada S, Hays RD et al. Translation, cultural adaptation, and initial reliability and multitrait testing of the Kidney Disease Quality of Life instrument for use in Japan. Qual. Life Res. 2001;10: 93-100.
15. McHorney CA, Ware JE, Lu R and Sherbourne CD. The MOS 36-item Short-Form Health Survey (SF-36): III. tests of data quality, scaling assumptions, and reliability across diverse patient groups. Med Care 1994;32: 40-66.
16. Ware JE, Gandek B. Methods for testing data quality, scaling assumptions, and reliability: the IQOLA project approach. J Clin Epidemiol 1998;51:945-52.
17. Park H, Kim S, Yong JS, Han SS, Yang DH, Meguro M, et al. Reliability and validity of the Korean version of Kidney Disease Quality of Life instrument (KDQOL-SFTM). Tohoku J Exp Med 2007;211:211-19.