การพัฒนารูปแบบระบบการให้บริการข้อมูลยา สำหรับโรงพยาบาลศูนย์ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย

Main Article Content

ศิริพา อุดมอักษร
อรชา กำเนิด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบของระบบการให้บริการข้อมูลยา สำหรับโรงพยาบาลศูนย์ ที่มีความเป็นไปได้ สามารถให้บริการเชิงรุกได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแพทย์ วิธีการ: ผู้วิจัยเก็บข้อมูล 2 รอบ ด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 32 คน ซึ่งเลือกมาจากการใช้เทคนิค snowball sampling ประกอบด้วย นักวิชาการ 3 คน เภสัชกรผู้ให้บริการ 12 คน และแพทย์ผู้ใช้บริการ 17 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาลักษณะที่จำเป็นขาดไม่ได้ของระบบการให้บริการข้อมูลยาโดยสรุปจากความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญด้วยค่ามัธยฐาน ค่าผลต่างระหว่างมัธยฐานกับฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย: ผู้เชี่ยวชาญ 29 คน (ร้อยละ 90.6) ตอบแบบสอบถามครบทั้ง 2 รอบ ลักษณะที่จำเป็นขาดไม่ได้ของระบบการให้บริการข้อมูลยา แบ่งได้ 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านตัวชี้วัดผลลัพธ์ ด้านโครงสร้าง: มีเภสัชกร 3 คน โดยอยู่ประจำศูนย์ 1 คน มีประสบการณ์การทำงานด้านคลินิก หรือด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 2 ปี และมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูล และมีเจ้าหน้าที่สนับสนุน 2 คน จัดเป็นเคาน์เตอร์บริการอยู่ในฝ่ายเภสัชกรรม และมีเคาน์เตอร์ให้บริการ มีการบริหารงานโดยคณะกรรมการสหสาขาวิชาชีพ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโรงพยาบาลเป็นหลัก มีฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์และหนังสืออ้างอิงจำนวนหนึ่ง ด้านกระบวนการ: มีการให้บริการตอบคำถามด้านยา การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การประเมินการใช้ยา การสนับสนุนข้อมูลยาให้กับคณะกรรมการเภสัชกรรมบำบัด ให้การฝึกอบรมและการศึกษา เผยแพร่สิ่งตีพิมพ์ และจัดประชุมวิชาการให้การศึกษาต่อเนื่องแก่เภสัชกร เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00 ถึง 16.00 น. ในวันราชการ ทั้งทางโทรศัพท์และด้วยตัวเอง ควรมีช่องทางติดต่อนอกเวลาให้บริการ  มีการประกันคุณภาพข้อมูลยาที่ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญภายในศูนย์ และการสอบทานคำตอบจากสองทาง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบทางคอมพิวเตอร์ ส่วนด้านผลลัพธ์: มีการประเมินคุณภาพการให้บริการข้อมูลยา เรื่อง ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความเหมาะสม ความทันสมัยของข้อมูล และประโยชน์ในการแก้ปัญหาผู้ป่วย มีการประเมินความพึงพอใจด้านความชัดเจน ความตรงประเด็น ความเพียงพอ ความรวดเร็ว/ทันเวลา ความสะดวกในการติดต่อ โดยทำการประเมินอย่างต่อเนื่องทุกเดือน มีการประเมินผลการรักษาของผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลจากความคิดเห็นจากแพทย์ผู้รักษา บันทึกข้อมูลผู้ป่วย และการสัมภาษณ์ผู้ป่วย มีการเก็บข้อมูลการให้บริการเกี่ยวกับ ชนิดและจำนวนการให้บริการ ประเภทและจำนวนผู้ใช้บริการ แหล่งข้อมูล จำนวนคำถามที่ใช้แก้ปัญหาผู้ป่วย สรุป: ตัวแบบนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับโรงพยาบาลศูนย์ในการวางระบบการให้บริการข้อมูลยาในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับจากแพทย์ผู้ใช้บริการมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล. คุณภาพยากับสุขภาพคนไทย : คนไทยกับการบริโภคยา [ออนไลน์]. 2546 [สืบค้นวันที่ 1 สิงหาคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum1/quality_drug/qd1.html.

2. พิมลวรรณ ทัพยุทธวิจารณ์, เพียงจิต สัตตบุษย์, สุพรชัย กองพัฒนากูล. ศูนย์ข้อมูลยา. สารศิริราช 2538;47:255-60.

3. Cardoni AA, Thompson TJ. Impact of drug information services on patient care. Am J Hosp Pharm 1978;35:1233-7.

4. Hands D, Stephens M, Brown D. A systematic review of the clinical and economic impact of drug information services on patient outcome. Pharm World Sci 2002;24:132-8.

5. Melnyk P, Shevchuk Y, Remillard A. Impact of the dial access drug information service on patient outcome. Ann Pharmacother 2000;34:585-92.

6. Bond CA, Raehl CL, Franke T. Clinical pharmacy services and hospital mortality rates. Pharmacotherapy 1999;19:556-64.

7. ธีราพร ชนะกิจ, นิตยา ดาววงศ์ญาติ, ชาลี ภูมิฐาน, สำราญ นนทรักษ์, วิรัตน์ พวงจันทร์. การประกันคุณภาพงานบริการเภสัชสนเทศ ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2550;2:138-50.

8. พนารัตน์ แสงแจ่ม, พัชรี ลักษณะวงศ์ศรี, กนกวรรณ ชัยพร, มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย, เจริญ ตรีศักดิ์. บริการเภสัชสนเทศทางโทรศัพท์: ประสบการณ์โรงพยาบาลเอกชน. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร2548;10:48-57.

9. วรนัดดา ศรีสุพรรณ. การประเมินคุณภาพการตอบคำถามของหน่วยเภสัชสนเทศในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป [วิทยานิพนธ์เภสัชศาตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.

10. Rosenberg J, Koumis T, Nathan J, Cicero L, McGuire H. Current status of pharmacist-operated drug information centers in the United States. Am J Health Syst Pharm 2004;61:2023-32.

11. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล The Association of Hospital Pharmacy (Thailand). มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.thaihp.org/index.php?lang=th&option=contentpage&sub=29.

12. Macmillan T. The Delphi Technique. Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development; Monterey; 1971 May 3-5; California, US.

13. ผกาวดี สุพรรณจิตวนา. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานโดยใช้เทคนิคเดลฟาย [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

14. พบส. (โครงการพัฒนาระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค). เกณฑ์มาตรฐานพัฒนาระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุข: งานเภสัชกรรม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2539.

15. Najabat M, Bowey J, Hands D, Brown D. Drug information and patient care. Pharm World Sci 1999;21 Suppl: A8.

16. Stubbington C, Bowey J, Hands D, Brown D. Drug information replies to queries involving adverse events: impact on clinical practice. Hosp Pharm 1998;5:81-4.

17. Tugwell C, editor. Assessing the impact of drug information to professionals on patients in community and hospital. European Society of Clinical Pharmacy Special Interest Group for Drug Information - mini symposium during ACCP-ESCP Conference; 1999 April 11; Orlando, US.

18. Kinky D, Erush S, Laskin M, Gibson G. Economic impact of a drug information service. Ann Pharmacother 1999;33:11-6.