ผลของกระบวนการ Medication Reconciliation ในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

จักรี แก้วคำบ้ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการนำกระบวนการ medication reconciliation มาใช้ในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง วิธีการ : เภสัชกรรวบรวมประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย 456 คนที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลระหว่างเดือนธันวาคม 2551 ถึงเดือนมิถุนายน 2552 ซึ่งมีโรคเรื้อรังและมียาที่จำเป็นต้องได้รับอย่างต่อเนื่อง แหล่งข้อมูลประกอบด้วยตัวผู้ป่วยเอง ญาติ ยาที่ผู้ป่วยใช้ สถานพยาบาลเดิมของผู้ป่วยและบันทึกการใช้ยาของผู้ป่วยในสถานพยาบาลที่ทำการศึกษา  เภสัชกรเปรียบเทียบประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยและรายการยาที่แพทย์สั่งในขั้นตอนการรับผู้ป่วยเข้าในโรงพยาบาล และขั้นตอนการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล  ในกรณีที่พบความไม่สอดคล้อง เภสัชกรจะประสานงานกับแพทย์ผู้รักษาเพื่อให้ทราบว่าความไม่สอดคล้องดังกล่าวเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ หากไม่ใช่จะจัดเป็นความคลาดเคลื่อนทางยา และเภสัชกรจะประสานงานกับแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา สำหรับนอกเวลาทำการของเภสัชกร พยาบาลจะทำหน้าที่แทนเภสัชกรในทุกขั้นตอน  ผลการวิจัย : ในผู้ป่วยร้อยละ 6.84 (31 ราย) และร้อยละ 12.94 (59 ราย) เกิดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาในขั้นตอนการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและขั้นตอนการจำหน่าย เมื่อแพทย์ได้รับการประสานงานจากเภสัชกรพบว่า แพทย์แก้ไขปัญหาทั้งหมดในขั้นตอนการรับเข้ารักษา และแก้ไขปัญหาในผู้ป่วย 57 จาก 59 รายที่พบความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนจำหน่าย ความไม่สอดคล้องทางยาร้อยละ 5.04 และ 5.92 ในขั้นตอนการเข้ารักษาตัวและขั้นตอนการจำหน่าย ไม่อาจประเมินได้อย่างชัดเจนว่าเป็นความคลาดเคลื่อนหรือไม่ ผู้ป่วยที่พบความคลาดเคลื่อนหรือความไม่สอดคล้องที่อาจเป็นความคลาดเคลื่อนร้อยละ 62.86 ไม่ได้รับยาที่เป็นความคลาดเคลื่อนหรือความไม่สอดคล้องนั้นเพราะกระบวนการ medication reconciliation ผู้ป่วยร้อยละ 31.42 ได้รับยาที่มีความคลาดเคลื่อนหรือความไม่สอดคล้องที่อาจเป็นความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เกิดอันตราย และผู้ป่วยร้อยละ 5.71 ได้รับยาที่มีความคลาดเคลื่อนหรือความไม่สอดคล้องที่อาจเป็นความคลาดเคลื่อนแม้ไม่เกิดอันตราย และต้องได้รับการติดตาม สรุป : กระบวนการ medication reconciliation สามารถช่วยค้นหาและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาได้เป็นอย่างดี  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1) The Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations. Using medication reconciliation to prevent errors: in sentinel event alert. [online]. 2006 [cited 2009 Oct 30]. Available from: URL: http://www.jointcommission.org/Sentinel Events/ SentinelEvent-Alert/sea_35.htm.

2) ธิดา นิงสานนท์. Medication Reconciliation ใน : ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ. Medication Reconciliation. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทประชาชน จำกัด; 2551. หน้า 1-26.

3) Bates D, Spell N, Cullen D, et al: The costs of adverse drug events in hospitalized patients. JAMA 277:307-311, 1997

4) Coffey M, Mack L, Streitenberger K, Bishara T, De Faveri L, Matlow A. Prevalence and clinical significance of medication discrepancies at pediatric hospital admission. Acad Pediatr. 2009;9:360-5.

5) วิชัย พิบูลย์. Medication reconciliation (ความต่อเนื่องทางการรักษา) [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 8 กันยายน 2552]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://sichon.wu.ac.th/file/pharmacy-20080610-132544-N8XqN.pdf.

6) ธนิยา ไพบูลย์วงษ์. Medication reconciliation. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2550; 17: 185-92.

7) Nickerson A, MacKinnon NJ, Roberts N, et al. Drug-therapy problems, inconsistencies and omissions identified during a medication reconciliation and seamless care service. Healthc Q. 2005; 8: 65-72.

8) Lizer MH and Brackbill ML. Medication history reconciliation by pharmacists in an inpatient behavioral health unit. Am J Health Syst Pharm 2007 ; 64 :1087-91

9) Gardner B, Graner K. Pharmacists' medication reconciliation-related clinical interventions in a children's hospital. Jt Comm J Qual Patient Saf. 20
09 ; 35 : 278-82

10) Pronovost P, Weast B, Schwarz M, et al. Medication reconciliation: a practical tool to reduce the risk of medication errors. J Crit Care 2003;18:201-5.

11) Gleason KM, Groszek JM, et al. Reconciliation of discrepancies in medication histories and admission orders of newly hospitalized patients. Am J Health Syst Pharm 2004; 61: 1689-95.

12) Lessard S, DeYong J, Vazzana N. Medication discrepancies affecting senior patients at hospital admission. Am J Health Syst Pharm 2006; 63: 740-3.

13) National coordination council of medication error reporting and prevention. NCC MERP taxonomy of medication error [online]. 1998 [cited 2009 Nov 11]. Available from: URL: http://www.nccmerp.org/pdf/taxo2001-07-31.pdf.