แนวคิดการจัดการสอนหลักสูตรการบริบาลเภสัชกรรม 6 ปี บนพื้นฐานของการเรียนสายปฏิบัติ

Main Article Content

สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล
ปัณฑิตา นุกูลกิจ
รัสเซีย ปริยกุล

บทคัดย่อ

            การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตให้มีระยะเวลาเรียน 6 ปีตามข้อกำหนดของสภาเภสัชกรรม ถือได้ว่าส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงวิชาชีพอย่างมาก เป็นการยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพให้สูงขึ้น  จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการปฏิรูประบบการเรียนการสอนให้อยู่บนฐานของผู้ป่วยอย่างแท้จริง  โดยจัดให้มีการเรียนการสอนแบบสายปฏิบัติ ที่มีการจัดแบ่งระดับช่วงชั้นการเรียนเป็นพรีคลินิกในชั้นปีที่ 1, 2 และ 3  คลินิกในชั้นปีที่ 4 และ 5   และการฝึกปฏิบัติงานในชั้นปีที่ 6   พร้อมปรับการเรียนในชั้นคลินิกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 10 สัปดาห์ หมุนเวียนเรียนทั้งปีนับแต่ชั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป  หากทำได้จริงก็จะเป็นจุดเปลี่ยนของการพัฒนาวิชาชีพที่สำคัญ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1) สภาเภสัชกรรม. ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยการรับรองปริญญาประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา 2551; เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 67ง: 53-9.

2) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

3) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลเภสัชกรรมฉบับ พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.