การจัดการความเสี่ยงจากเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ลลินา สกุลพาเจริญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิตและคุณภาพของเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนในจังหวัดอุดรธานี  และค้นหามาตรการในการพัฒนาการผลิตที่เข้มแข็ง  วิธีการ: ผู้วิจัยวิเคราะห์ผลการตรวจสถานที่ผลิตเกลือบริโภคในจังหวัดอุดรธานี ปี พ.ศ.2560 และผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์เกลือบริโภคที่เก็บตัวอย่าง ณ สถานที่ผลิตและสถานที่จำหน่าย ผู้วิจัยได้จัดการเสวนากลุ่มระหว่างผู้ผลิตเกลือและผู้แทนภาครัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ปัญหาหรือปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ผลการวิจัย: จังหวัดอุดรธานีมีสถานที่ผลิตเกลือบริโภคทั้งหมด 58 แห่ง ผ่านมาตรฐาน 10 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์เกลือบริโภคที่เก็บจากสถานที่ผลิต 11 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐานร้อยละ 100 (11/11 ตัวอย่าง) ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์เกลือบริโภคที่เก็บ ณ สถานที่จำหน่ายพบว่าไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 42.42 (14/33 ตัวอย่าง) โดยเป็นเกลือที่ผลิตในจังหวัดอุดรธานี 4 ตัวอย่าง) ผลที่พบไม่สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ตัวอย่างจากสถานที่ผลิต เมื่อวิเคราะห์เชิงลึกพบปัญหาที่สำคัญ เช่น มีสถานที่ผลิตเกลือบริโภคไม่เสริมไอโอดีนจำนวนมาก ทำให้เสี่ยงต่อการกระจายเกลือบริโภคไม่เสริมไอโอดีน สถานที่ผลิตหลายแห่งไม่รักษามาตรฐานให้เป็นไปตามเกณฑ์ ฐานข้อมูลสถานที่ผลิตไม่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง นอกจากนี้ยังพบเกลือที่ไม่มีไอโอดีนจำหน่ายอยู่มาก และมีการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง สรุป: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีควรพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตให้มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเกลือเสริมไอโอดีน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมดำเนินการขับเคลื่อนทุกภาคส่วน รวมถึงใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อให้การผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนได้มาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. Control and prevention of iodine deficiency: a path to sustainability. SamCharoenpan Commercial (Bangkok) Company Limited; 2015.

2. Luangpitak P. Guide to iodized salt production and development of quality assurance system for entrepreneurs in Thailand. Bangkok: Department of Biotechnology, Faculty of Science Mahidol University ; 2014.

3. Public Health Ministerial Declaration on table salt. Royal Gazette No.153, Part 15D (March 18, 1994).

4. Public Health Ministerial Declaration on table salt. Royal Gazette No.128, Part 41D (May 7, 2011).

5. Health Consumer Protection and Public health Pharmacy Department. Annual Report on the fiscal year of 2017. Udon Thani Provincial Public Health Office; 2017.

6. Mobile unit on food safety in the 7th and 8th health regions, Udon Thani Provincial Public Health Office. Situation of the safety of food and health products at the market places within the 7th and 8th health regions. Food and Drug Administration; 2016

7. Regulation of the Food and Drug Administration on working procedures of food serial numbers B.E. 2557. Royal Gazette No.131, Special part 245D (Dec 3, 2014).