บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ของเภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

สายพิณ สายดำ
พีระศักดิ์ ศรีฤาชา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของเภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการ : ตัวอย่างคือ เภสัชกรที่ปฏิบัติงาน 1 ปีขึ้นไปในโรงพยาบาลศูนย์ 6 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 118 คนที่ถูกเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างมีระบบ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และผลการทดสอบนำร่องพบว่าแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคมากกว่า 0.70 การวัดตัวแปรใช้แบบวัดบรรยากาศองค์การ RICQ Form B ของ Litwin and Stringer และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การที่ดัดแปลงจากแบบวัดของบุษกร สีกา ผลการวิจัย : ตัวอย่างทั้ง 118 รายตอบแบบสอบถาม ระดับบรรยากาศองค์การโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3.50± 0.40; พิสัยของคะแนนคือ 1-5) เมื่อวิเคราะห์บรรยากาศองค์การเป็นรายมิติแล้วพบว่า ส่วนใหญ่ (มิติโครงสร้างองค์การ มิติความรับผิดชอบ มิติการให้รางวัล มิติความอบอุ่น มิติการสนับสนุน มิติมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมิติความขัดแย้ง) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (3.13-3.63) ส่วนมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมิติความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (3.74±0.58, 3.69±0.46 ตามลำดับ) ระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3.60±0.44; พิสัยคะแนนคือ 1-5) บรรยากาศองค์การ 3 ด้านคือ มิติความอบอุ่น มิติความเสี่ยง และมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสามารถทำนายความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ทั้งสามสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามได้ร้อยละ 44.3 สรุป : ผู้บริหารที่ต้องการส่งเสริมให้เภสัชกรเกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์ ควรปรับปรุงบรรยากาศองค์การให้เกิดความอบอุ่น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และลดความรู้สึกว่างานอาจนำมาซึ่งผลกระทบในแง่ลบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์, ชลิดา ศรมณี. องค์การและการจัดการในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2545.

2. กระทรวงสาธารณสุข. กรอบการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://uto.moph.go.th/strategy/data/naltang_mongkon_n_songkar.pdf

3. Mowday RT, Steers RM, Porter LW. The measurement of organizational commitment. J Vocat Behav 1979;14:224-47.

4. บุษกร สีกา. ความสัมพันธ์ระหว่างความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลองค์การตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

5. Mathieu JE, Zajac D. A review and meta-analysis of the antecedents, correlates, and consequences of organizational commitment. Psycho Bull 1990;108: 171-9.

6.Litwin GH, Stringer RA. Motivation and Organizational Climate. Cambridge, MA: Harvard University; 1968.

7. ชัท เมืองโคตร. ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ศูนย์ สุขภาพชุมชนในจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

8. ญาณิศา ลิ้มรัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล คุณภาพ ชีวิตการทำงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

9. นิยดา ผุยเจริญ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

10. ศิริรัตน์ เมืองสง. การรับรู้บรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท สเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.

11. เยาวภรณ์ ประชาสุข. ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาล ประจำการ โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

12. ศศินันท์ หล้านามวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การและการมีส่วนร่วมในงานกับ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

13. กรแก้ว จันทภาษา, รักษวร ใจสะอาด, นุศราพร เกษสมบูรณ์. การเคลื่อนย้ายและกระจายกำลังเภสัชกรในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551;2:47-55.

14. อรุณ จิรวัฒน์กุล, มาลินี เหล่าไพบูลย์, จิราพร เขียวอยู่, ยุพา ถาวรพิทักษ์, จารุวรรณ โชคคณาพิทักษ์, บัณฑิต ถิ่นคำรพ และคณะ. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2546.

15. วีนัส พีชวณิชย์} สมจิต วัฒนาชยากูล} เบญจมาศ ตุลยนิติกุล. สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์ พร้อมการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ไมโครซอฟท์เอ็กเซล. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก; 2547.

16. Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall; 1977.

17. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การวิจัยการวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศรีอนันต์; 2543.

18. Elifson KW, Runyon RP, Haber A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.

19. เสกสิทธิ์ ดวงคำ. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสุขภาพภาคประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

20. นงเยาว์ แก้วมรกต. ผลของการรับรู้บรรยากาศองค์การที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบุคคล ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2541.

21. โครงการศูนย์เครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์. ความผูกพันของลูกค้ารับเหมาค่าแรงต่อองค์กรผู้ว่าจ้าง ศึกษากรณีบริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.thaihrhub.com/index.phparchives /research/ category/ hrd.