ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์กรที่ดีของข้าราชการในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร

Main Article Content

บุบผา รักษานาม
ณรงค์ศักดิ์ สิงห์ไพบูลย์พร
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กร (OCB) ของข้าราชการในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร วิธีการวิจัย : ตัวอย่างคือข้าราชการในวิทยาลัยฯ 7 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 342 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความผูกพันต่อองค์กรที่ดัดแปลงจากแบบวัดของ วรมน เดชเมธาวีพงศ์  และวรรณรักษ์ แซ่ผู่  แบบวัดคุณภาพชีวิตการทำงาน และแบบวัด OCB ของวรมน เดชเมธาวีพงศ์ อัตราการตอบแบบสอบถามคือร้อยละ 70.46 (N=234) ผลการวิจัย : ตัวอย่างมี OCB โดยรวม และพฤติกรรมการยินยอมปฏิบัติตามในระดับสูง (3.93+0.46 และ 4.09+0.53 ตามลำดับ; พิสัยคะแนนคือ 1-5) พฤติกรรมการช่วยเหลือต่อบุคคลมีระดับค่อนข้างสูง (3.76+0.53) ตัวแปรอิสระที่ศึกษาประกอบด้วยความผูกพันต่อองค์กร 3 ด้าน และคุณภาพชีวิตการทำงาน 8 ด้าน ตัวแปรอิสระทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อบุคคล การยินยอมปฏิบัติตาม และ OCB โดยรวมได้ร้อยละ 37.60, 20.40 และ 35.70 ตามลำดับ ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อบุคคลเรียงตามลำดับความสำคัญได้แก่ ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ความผูกพันด้านจิตใจ การบริหารที่เป็นธรรมและเสมอภาค และความสำคัญของงานต่อสังคม ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการยินยอมปฏิบัติตามคือ ความผูกพันด้านจิตใจ และความสำคัญของงานต่อสังคม ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ OCB โดยรวมได้แก่ ความผูกพันด้านจิตใจ ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน และความสำคัญของงานต่อสังคม สรุป : ในการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กร ผู้บริหารควรมุ่งให้ความสนใจความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานบางด้านที่พบว่ามีอิทธิพลในการศึกษานี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1) Podsakoff PM, MacKenzie SB, Paine JB, Bachrach DG. Organizational citizenship behaviors: A critical review of the theoretical and empirical literature and suggestions for future research. J Manage 2000;26:513-63.

2) Bienstock CC, DeMoranville CW, Smith RK. Organizational citizenship behavior and service quality. J Serv Market 2003;17:357–78.

3) เมธี ศรีวิริยะเลิศกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กับความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การเอกชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2541.

4) ลาวัลย์ พร้อมสุข. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การต้องการกับความพึงพอใจในงาน และผลการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มบริษัทมินีแบ (ประเทศไทย) [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2544.

5) ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ การตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการบริหารการพยาบาลกับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

6) พัชรี สายสดุดี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมในงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การกับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

7) Chen XP, Hui C, Sego DJ. The role of organizational citizenship behavior in turnover: Conceptualization and preliminary tests of key hypotheses. J Appl Psychol 1998;83:922–31.

8) MacKenzie SB, Podsakoff PM, Ahearne M. Some possible antecedents and consequences of in-role and extra-role salesperson performance. J Mark 1998;62: 87–98.

9) Smith CA, Organ DW, Near JP. Organizational citizenship behavior: Its nature and antecedents. J Appl Psychol 1983;68:653–63.

10) Organ DW. Organizational Citizenship Behavior: The Good Solider Syndrome. Lexington MA: Lexington Books; 1988.

11) Williams LJ, Anderson SE. Job satisfaction and organizational commitment as predictors of organizational citizenship and in-role behaviors. J Manage 1991;17:60117.

12) Decktop JR, Mangel R, Cirka CC. Getting more than you pay for: Organizational citizenship behavior and pay-for-performance plans. Acad Manage J 1999;42:420-8.

13) Hoffman BJ, Blair C, Meriac J, Woehr DJ. Expanding the criterion domain? A meta-analysis of the OCB literature. J Appl Psychol 2007;92:555-66.

14) Podsakoff PM, MacKenzie SB. The impact of organizational citizenship behavior on organizational performance: A review and suggestions for future research. Hum Perform 1997;10:133–51.

15) Walz SM, Niehoff BP. Organizational citizenship behaviors and their effect on organizational effectiveness in limited-menu restaurants. In: Keys JB, Dosier LN, editors. Academy of Management Best Papers Proceedings; 1996; Cincinnati, USA. Madison: Omnipress: 1996. p.307–11.

16) ภานุพงศ์ สยังกุล. ความไม่พึงพอใจในงานและการคิดลาออกจากงานของเภสัชกรและทันตแพทย์ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.

17) Organ DW, Ryan K. A meta-analytic review of attitudinal and dispositional predictors of organizational citizenship behavior. Pers Psychol 1995;48:775–802.

18) Allen NJ, Meyer JP. Affective, continuance, and normative commitment to the organization: An examination of construct validity. J Vocat Behav 1996;49:252–76.

19) Bolon DS. Organizational citizenship behavior among hospital employees: A multidimensional-analysis involving job satisfaction and organizational commitment. Hosp Health Serv Adm 1997;42: 221–41.

20) Schappe SP. The influence of job satisfaction, organizational commitment, and fairness perceptions on organizational citizenship behavior. J Psychol 1998;132:277–90.

21) Alotaibi AG. Antecedents of organizational citizenship behavior: A study of public personnel in Kuwait. Public Pers Manage 2001;30:363–76.

22) พรเพ็ญ โชติพันธุ์. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมพนักงานที่องค์การต้องการกับความพึงพอใจในงานของพนักงานองค์การธุรกิจเอกชนแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2544.

23) รดา อุดมอานุภาพสุข. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพการปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศ ความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

24) ประไพพร สิงหเดช. การศึกษาคุณลักษณะบุคลากรที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: ศึกษากรณีข้าราชการกรมคุมประพฤติ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2538.

25) อาภาภรณ์ พิทักษ์กำพล. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและบุคลิกภาพของพนักงานกับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

26) สรัญญา จันทรรวงทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การมีอคติทางเพศและการรับรู้ความยุติธรรมของผู้บังคับบัญชา กับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546

27) Walton RJ. Improving the Quality of work life. Harvard Bus Rev 1974;4:12-4.

28) ประทานพร ทองเขียว. ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำแบบเน้นการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของหน่วยงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

29) Allen NJ, Meyer JP. The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. J Occup Psychol 1990;63:1-18.

30) Shore LM, Barksdale K, Shore TH. Managerial perceptions of employee commitment to the organization. Acad Manage J 1995;38:1593-1615.

31) วรมน เดชเมธาวีพงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2544.

32) วรรณรักษ์ แซ่ผู่. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้แทนยาชาวไทย [สารนิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.

33) Nunnally J, Bernstein I. Psychometric Theory. 3rd ed. New York: McGraw Hill; 1994.

34) Hackman JR, Oldham GR. Work redesign. Reading, MA:Addison-Wesley; 1980