เซอร์จิคัลดับเบิ้ล ไกด์ แบบพิมพ์สามมิติในงานผ่าตัดเพิ่มความยาวตัวฟันเพื่อความสวยงาม: รายงานผู้ป่วย

แบบพิมพ์สามมิติในงานผ่าตัดเพิ่มความยาวตัวฟันเพื่อความสวยงาม

ผู้แต่ง

  • แพรวไพลิน สมพีร์วงศ์ สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเพิ่มความยาวตัวฟันเพื่อความสวยงาม, เซอร์จิคัลดับเบิ้ล ไกด์, พิมพ์สามมิติ

บทคัดย่อ

การผ่าตัดเพื่อเพิ่มความยาวตัวฟันบริเวณฟันหน้าของขากรรไกรบนเพื่อ แก้ไขปัญหาตัวฟันสั้น หรือการยิ้มเห็นเหงือกมากเกินไป เพื่อสร้างรอย ยิ้มที่สวยงามนั้น ต้องมีการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง รวม ทั้งสื่อสารกับผู้ป่วยถึงผลลัพธ์ของการรักษาให้ชัดเจน ซึ่งกระบวนการ ทำงานแบบดิจิทัลโดยเทคโนโลยีแคด/แคมนั้นช่วยแสดงให้เห็นภาพ ของผลการรักษา รวมทั้งสร้างเซอร์จิคัลดับเบิ้ลไกด์ที่ใช้กำหนดตำแหน่งในการผ่าตัดทั้งในส่วนของระดับขอบเหงือกและระดับกระดูก ตามที่ได้วางแผนการรักษาไว้ บทความนี้ได้รายงานผู้ป่วย 1 รายที่ได้ใช้ กระบวนการดิจิทัลวางแผนการรักษาและได้สร้างเซอร์จิคัลดับเบิ้ลไกด์ที่ กำหนดตำแหน่งในการผ่าตัดเพิ่มความยาวของตัวฟัน เพื่อความสวยงาม จากสาเหตุการเคลื่อนที่ของเหงือกไม่สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างการใช้กระบวนการทางทันตกรรมดิจิทัลสื่อสารกับผู้ป่วยในขั้นตอนการวางแผน การรักษา ลดระยะเวลา รวมทั้งเพิ่มความแม่นยำในขั้นตอนการผ่าตัดอย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงข้อจำกัดจากปัจจัยต่างๆ ในการใช้งานร่วม ด้วย

References

Diaspro A, Cavallini M, Piersini P, Sito G. Gummy smile treatment: Proposal for a novel corrective technique and a review of the literature. Aesthet Surg J 2018;38(12):1330–8.

Robbins JW. Differential diagnosis and treatment of excess gingival display. Pract Periodontics Aesthet Dent 1999;11(2):265-73.

Arora R, Narula SC, Sharma RK, Tewari S. Evaluation of supracrestal gingival tissue after surgical crown lengthening: A 6-month clinical study. J Periodontol 2013;84(7):934-40.

Januario AL, Barriviera M, Duarte WR. Soft tissue cone-beam computed tomography: A novel method for the measurement of gingival tissue and the dimensions of the dentogingival unit. J Esthet Restor Dent 2008;20(6):366–73.

Marzola R, Derbabian K, Donovan TE, Arcidiacono A. The science of communicating the art of esthetic dentistry. Part I: Patient-dentist-patient communication. J Esthet Dent 2000;12(3):131-8.

Lee EA. Aesthetic crown lengthening: Classification, biologic rationale, and treatment planning considerations. Pr Proced Aesthet Dent 2004;16(10):769-78.

Coachman C, Calamita MA, Sesma N. From 2D to 3D: Complete digital workflow in interdisciplinary dentistry. J Cosmet Dent 2016;32(1):62-75.

Coachman C, Sesma N, Blatz MB. The complete digital workflow in interdisciplinary dentistry. Int J Esthet Dent 2021;16(1):34-49.

Coachman C, Georg R, Bohner L, Rigo LC, Sesma N. Chairside 3D digital design and trial restoration workflow. J Prosthet Dent 2020;124(5):514-20.

Coachman C, Paravina RD. Digitally enhanced esthetic dentistry from treatment planning to quality control [editorial]. J Esthet Restor Dent 2016;28(S1):S3-S4.

Carrera TMI, Freire AEN, de Oliveira GJPL, dos Reis Nicolau S, Pichotano EC, Ribeiro NV Junior, et al. Digital planning and guided dual technique in esthetic crown lengthening: A randomized controlled clinical trial. Clin Oral Investig 2023;27(4):1589–603.

Coslet JG, Vanarsdall R, Weisgold A. Diagnosis and classification of delayed passive eruption of the dentogingival junction in the adult. Alpha Omegan 1977;70(3):24-8.

Alhumaidan A, al-Qarni F, AlSharief M, Alshammasi B, Albasry Z. Surgical guides for esthetic crown lengthening procedures: Periodontal and prosthetic aspects. J Am Dent Assoc 2022;153(1):31-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-15