รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน และได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องในภาวะวิกฤติ

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • นาตยา คำสว่าง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • นันชุลี สุวรรณโชติ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • สาหร่าย บุญแสน หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • ปวีณา เปรมไทยสงค์ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน, การบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

ภาวะติดเชื้อกระแสเลือดที่มีไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะวิกฤติ การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพยาบาลผู้ป่วย พัฒนารูปแบบ และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องในหอผู้ป่วยหนักระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2664 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 แบ่งเป็น ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 ประเมินปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพยาบาลผู้ป่วยด้วยการวิจัยภาคตัดขวาง ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบฯ โดยการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ ด้วยการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบ thematic ข้อมูลเชิงปริมาณนำเสนอเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเพียร์สัน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบ Chi-square, Fisher's exact และ paired t พบว่าระยะที่ 1 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อน ระยะที่ 2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพยาบาลผู้ป่วย ได้แก่ ความรู้ สมรรถนะ ทีม การสื่อสาร  เครื่องมือ/อุปกรณ์ แนวปฏิบัติ ความผูกพันกับองค์กร ภาระงาน ระยะที่ 3 รูปแบบฯ ที่พัฒนามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การเสริมความรู้และทักษะ การพัฒนาสมรรถนะ การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการเครื่องมือ แนวปฏิบัติชัดเจน และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ระยะที่ 4 ประสิทธิผลของรูปแบบฯ ด้านพยาบาลวิชาชีพมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านผู้ป่วยมีอัตราตายและภาวะแทรกซ้อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบฯ ไปใช้ให้การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยต่อไป

References

Centers for Disease Control and Prevention. Sepsis [Internet]. 2016 [cited 2020 Jan 19]. Available from: https://www.cdc.gov/sepsis/datareports/index.html

Ministry of Public Health. Health Data Center (HDC) [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 5]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

Lippicort Nursing Center. The New “Hour-One” Sepsis Bundle: key takeaways and controversies [Internet]. 2018 [cited 2020 Jan 26]. Available from: https://www.nursingcenter.com/ncblog/june-2018/hour-one-sepsis-bundle

The Thai Society of Critical Care Medicine. Sepsis and Septic Shock Guideline. Sepsis [Internet]. 2017 [cited 2019 Jan 19]. Available from: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf

Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, Antonelli M, Coopersmith C M, French C, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med 2021;47(11):1181-247.

Srisawat N, Peerapornratana S, Tiranathanagul K, Praditpornsilpa K, Tungsanga K, Eiam-ong S. CRRT continuous renal replacement therapy. 2nd ed. Bangkok, Thailand: Text and Jounal Publication Company Limited; 2018.

Romagnoli S, Ricci Z, Ronco C. CRRT for sepsis-induced acute kidney injury. Curr Opinion Crit Care 2018;24(6):483-92.

Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock. Crit Care Med 2013;41(2):580-637.

Medical Intensive Care Department, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital. Annual Report 2020. Phitsanulok, Thailand: Medical Intensive Department, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital; 2021.

Sutheewasinnon P, Pasunon P. Sampling strategies for qualitative research. Parichart J Thaksin Univ 2016;29(2):31-48.

Braun V, Clarke V. Using thematic analysis in psychology. Qual Res Psychol 2006;3 (2):77-101.

Chantavanich S. Qualitative research method. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn Printing House; 2009.

Bernard R. Fundamentals of biostatistics. Boston, Massachusetts State, USA: Brooks/Cole, Cengage Learning; 2011.

Suphunnakul P. The data analysis of public health research with statistical package SPSS: from theory to practice. Phitsanulok, Thailand: Faculty of Public Health, Naresuan University; 2015.

Srisatidnarakul B. Development and validation of research Instruments: Psychometric properties. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Printing House, Chulalongkorn University; 2013.

Wongthamdee P, Namjuntra R, Binhosen V. Quality of care management for persons with sepsis in the Medical Department. J Nurs Health 2019;1(1):33-49.

Nakwan S, Incidence, risk factors, and impact of acute kidney injury in patients admitted to Intensive Care Unit in Ratchaburi Hospital. Region 4-5 Med J 2020;39(4):656-67.

Khuenkum B. Development clinical nursing practice guideline for acute kidney injury patients with continuous renal replacement therapy in Medical Intensive Care Unit, Nakornping Hospital, Chiang Mai Province. J Nakornping Hosp 2020;11(2):64-86.

Limumnoilap S, Tumnong C. Critical care nursing. 9th ed, Khon Kaen, Thailand: Klungnana vitthaya Press, Khon Kaen University; 2016.

Tachaudomdech C, Noimuenwai P, Tamdee D. Factors affecting team work effectiveness of registered nurses, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Nursing J 2016;43(3):198-204.

Tuandoung P, Kamsawang N. Nursing care system development for sepsis and septic shock patients. Buddhachinaraj Med J 2019;36(2):180-96.

Panwithayakool J, Maneeprai J. The development of care model for sepsis. J Nurs Devision 2018;45(1):86-100.

Amphon K, Bunyoprakarn H, Sinkincharoen P. The outcomes of the development of the patients with septicemia, Prapokklao Hospital. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2017;34(3):222-36.

Wirotwanit N. The effectiveness of implementing the nurse practice guideline among patients with sepsis at Emergency Department, Naresuan University Hospital. J Nurs Health Sci 2018;12(1):84-94.

Jirakangwan M, Chantepha C, Buppha P. Development of nursing model for severe sepsis in Sisaket Hospital. J Nurs Devision 2015;42(3):9-33.

Bunsut P, Limumnoilap S. Effects of clinical nursing practice guideline development for acute kidney injury patients with continuous renal replacement therapy in Intensive Care Unit. J Nurs Assoc Thailand North-Eastern Division 2011;29(4):50-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-29