The รายงานผู้ป่วย : การดูแลทารกเพดานโหว่ 3 คนที่มีภาวะกลืนลำบากที่มีความซับซ้อน

การดูแลทารกเพดานโหว่

ผู้แต่ง

  • สุพจมาลย์ กิจฉวี กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี 11000

คำสำคัญ:

ทารกเพดานโหว่, ภาวะกลืนลำบากที่มีความซับซ้อน, แผนบำบัดฟื้นฟูการดูดกลืน

บทคัดย่อ

หลักการรักษาทารกเพดานโหว่คือเพื่อให้ทารกสามารถกินนมทางปาก  ดูดกลืนร่วมกับการหายใจได้ปลอดภัยและได้รับนมเพียงพอ การใส่ เพดานเทียมเพื่อปิดช่องเพดานโหว่ส่งเสริมการให้อาหาร ลดการสำลัก  และลดเวลาการให้นม เป็นวิธีรักษาที่ใช้อย่างกว้างขวาง แต่มีทารก เพดานโหว่ที่กลืนลำบากแม้ใส่เพดานเทียมซึ่งจำเป็นต้องจัดการอย่าง เหมาะสม บทความนี้นำเสนอวิธีรักษาทารกเพดานโหว่ที่มีภาวะกลืนลำบากอย่างซับซ้อนโดยรายงานทารกเพดานโหว่ของโรงพยาบาลพระ นั่งเกล้าช่วงปี พ.ศ. 2560-2561 ซึ่งกินนมไม่ได้แม้ใส่เพดานเทียม 3 คน รักษาด้วยแผนบำบัดฟื้นฟูการดูดกลืนโดยวิธีนวดลิ้น, กระตุ้นเส้น ประสาท trigeminal และ suck swallowing neuromuscular coordination โดยให้นมทารกในท่านั่ง ให้น้ำนมไหลช้าเป็นจังหวะ ซึ่ง ไม่พบการสูดสำลัก ได้ติดตามผู้ป่วย 1 ปีถึง 1 ปี 9 เดือนพบว่ามีน้ำหนัก เพิ่มตามเกณฑ์ 1 คน ต่ำกว่าเกณฑ์ 1 คน และค่อนข้างน้อย 1 คน ทารก ทุกคนได้รับการนัดผ่าตัดโดยทารกคนที่ 3 ซึ่งเปน็ congenital  laryngomalacia, cerebral palsy ทั้งยังเปน็ โรคกรดไหลยอ้ น โรค หลอดลมอักเสบและโรคปอดอักเสบได้รับการผ่าตัดปิดรอยแยกที่ เพดาน ส่วนอีก 2 คนขาดการติดต่อ สรุปได้ว่าการร่วมวิเคราะห์โดยทีม  สหวิชาชีพเพื่อหาสาเหตุการกลืนลำบากที่ถูกต้องนำไปสู่การจัดการที่ เหมาะสม ทารกเพดานโหว่ไม่ต้องใส่สายให้อาหารทั้งทางปากและหน้า ท้อง สามารถกลับไปดูแลที่บ้านได้ เติบโตมีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับ การผ่าตัดปิดรอยโหว่ที่เพดานปาก

References

Fuangtharnthip P, Chonnapasatid W, Thiradilok S, Manopatanakul S, Jaruratanasirikul S. Registry-based study of prevalence of cleft lip/palate in Thailand from 2012 to 2015. Cleft Palate Cran J [Internet]. 2021 [cited 2022 Nov 25];58(11):1430-7.doi:10.1177/1055665620987677

Onthong P, Pradubwong S, Jirapradittha J. Outcomes of care for infants with cleft lip and palate in the Intermediate Care and Special Care Nursery at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. Srinagarind Med J 2022;37(1):63-71.

Savion I, Huband ML. A feeding obturator for a preterm baby with Pierre Robin sequence. J Prosthet Dent 2005;93(2):197–200.

Charunruengterakul N. Management outcome of severe laryngomalacia at Queen Sirikit National Institute Child Health. J Med Assoc Thai [Internet]. 2017 [cited 2022 Sep 4];100(3):313. Available from: http://www.jmatonline.com/index.php/jmat/article/view/6537

Kakodkar K, Schroeder JW. Pediatric dysphagia. Pediatr Clin N Am 2013;60(4):969–77.

Prasse JE, Kikano GE. An overview of pediatric dysphagia. Clin Pediatr 2008;48(3):247–51.

Ihan-Hren N, Oblak P, Koželj V. Characteristic forms of the upper part of the oral cavity in newborns with isolated cleft palate. Cleft Palate Cran J 2001;38(2):164–70.

Starikova NV, Nadtochiĭ AG, Ageeva MI. Prenatal cleft palate diagnostics by structural and functional peculiarities of the tongue. Stomatologiia [Internet]. 2013 [cited 2022 Aug 29];92(1):70-5. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23528408

Nassar E, Marques IL, Trindade AS, Bettiol H. Feeding-facilitating techniques for the nursing infant with Robin Sequence. Cleft Palate Cran J 2006;43(1):55–60.

Kitchawee S. Feeding obturator for 3-month tracheotomy baby with Pierre Robin syndrome. Region 4 Med J 2012;14(2):161–5.

Gosa M, Dodrill P. Pediatric dysphagia rehabilitation: considering the evidence to support common strategies. Perspect ASHA Spec Interest Group 2017;2(13):27–35

Thompson DM. Abnormal sensorimotor integrative function of the larynx in congenital laryngomalacia: a new theory of etiology. Laryngoscope 2007;117(S114):1–33.

Lawlor CM, Choi S. Diagnosis and management of pediatric dysphagia: a review. JAMA Otolaryngol Head Neck Surg 2020;146(2):183-91.doi: 10.1001/jamaoto.2019.3622

Simons JP, Greenberg LL, Mehta DK, Fabio A, Maguire RC, Mandell DL. Laryngomalacia and swallowing function in children. Laryngoscope 2015;126(2):478–84.

Benfer KA, Weir KA, Bell KL, Ware RS, Davies PS, Boyd RN. Oropharyngeal dysphagia and gross motor skills in children with cerebral palsy. Pediatrics 2013;131(5):e1553-62. doi: 10.1542/peds.2012-3093

Farneti D, Gnovese E. Swallowing disorders in newborn and small children. ResearchGate [Internet]. 2017 [cited 2022 Nov 28]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/319893897_Swallowing_Disorders_in_Newborn_and_Small_Children

Saehoong S, Daramas T, Pookboonmee R. A systematic review of oral stimulation to enhance sucking and swallowing in preterm infants. Rama Nurs J 2013;19(3):293–307.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13