ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกแพร่กระจายไปลำไส้ใหญ่ ที่มาด้วยอาการปวดท้องเฉียบพลัน: รายงานผู้ป่วยพบน้อย

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกแพร่กระจายไปลำไส้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • พัชราวรรณ ประสิทธิ์วิเศษ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ลำไส้อุดตัน, มะเร็งปากมดลูก, การแพร่กระจาย, ลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

มะเร็งปากมดลูกสามารถแพร่กระจายได้โดยการแพร่กระจายโดยตรงไป ยังอวัยวะใกล้เคียง ส่วนมะเร็งปากมดลูกที่แพร่กระจายไปที่ลำไส้พบได้ น้อย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้วินิจฉัยได้ยากและคาดไม่ถึง ซึ่งสามารถ ทำให้เกิดลำไส้อุดตันหรือลำไส้ทะลุได้ บทความนี้นำเสนอรายงานผู้ ป่วยหญิงไทยอายุ 74 ปี มีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูกหลังได้รับการ รักษาด้วยการฉายรังสีประมาณ 20 ปี พบการแพร่กระจายไปที่ ลำไส้ใหญ่ต่อลำไส้ตรง มีอาการปวดท้อง ท้องอืดมากขึ้นจากการที่มี ลำไส้ใหญ่ด้านซ้ายอุดตัน ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปิดท้อง ตัดและต่อ ลำไส้ตำแหน่งที่อุดตันออก ผลตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อจากการ ส่องกล้องจุลทรรศน์และย้อมพิเศษพบว่าเป็นลำไส้อุดตันจากการแพร่ กระจายของมะเร็งปากมดลูกมาที่ลำไส้ โดยไม่พบหลักฐานของการเป็น มะเร็งซ้ำที่ปากมดลูก ผู้ป่วยรายนี้มีอาการแสดงของลำไส้ใหญ่ด้านซ้าย อุดตันจากการแพร่กระจายของมะเร็งปากมดลูก สรุปได้ว่าภาวะไส้ใหญ่ อุดตันจากสาเหตุนี้อาจเป็นหนึ่งในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มี อาการปวดท้องเฉียบพลันในผู้ป่วยหลังการรักษามะเร็งปากมดลูก

References

Arbyn M, Weiderpass E, Bruni L, de Sanjose S, Saraiya M, Ferlay J, et al. Estimates of incidence and mortality of cervical cancer in 2018: a worldwide analysis. Lancet Glob Health 2020;8(2):e191-203.

Nartthanarung A, Thanapprapasr K, Udomsubpayakul U, Thanapprapasr D. Age and survival of cervical cancer patients with bone metastasis. Asian Pac J Cancer Prev 2014;15(19):8401-4.

IARC Working Group on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. Human papillomaviruses. IARC Monogr Eval Carcinog Risks Hum 2007;90:1-636.

van Meir H, Kenter GG, Burggraaf J, Kroep JR, Welters MJ, Melief CJ, et al. The need for improvement of the treatment of advanced and metastatic cervical cancer, the rationale for combined chemo-immunotherapy. Anticancer Agents Med Chem 2014;14(2):190-203.

Yin Z, Tang H, Li L, Ni J, Yuan S, Lou H, et al. Impact of sites versus number of metastases on survival of patients with organ metastasis from newly diagnosed cervical cancer. Cancer Manag Res 2019;11:7759-7766. doi: 10.2147/CMAR.S203037

Kim K, Cho SY, Kim BJ, Kim MH, Choi SC, Ryu SY. The type of metastasis is a prognostic factor in disseminated cervical cancer. J Gynecol Oncol 2010;21(3):186-90.

Li H, Wu X, Cheng X. Advances in diagnosis and treatment of metastatic cervical cancer. J Gynecol Oncol 2016;27(4):e43. doi:10.3802/jgo.2016.27.e43

Kodama J, Hongo A, Mizutani Y, Miyagi Y, Yoshinouchi M, Kudo T. A rare case of solitary metastasis of cervical cancer to the colon after radiation therapy. Eur J Gynaecol Oncol 1999;20(4):281-2.

Qiu H, Yuan L, Ou Y, Zhu Y, Xie C, Zhang G. Small intestine metastasis from cervical cancer with acute abdomen: a case report. Oncol Lett 2015;9(1):187-90. doi: 10.3892/ol.2014.2659

Barlin JN, Kim JS, Barakat RR. Recurrent cervical cancer isolated to the sigmoid colon: a case report. Gynecol Oncol Case Rep 2013;6:28-30. doi: 10.1016/j.gynor.2013.07.005

Yu X, Wang Z, Zhang Z, Liu Y, Huang J. Postoperation of cervical cancer with intestine metastasis: a case report and literature review. World J Surg Oncol 2016;14(1):2. doi: 10.1186/s12957-015-0759-3

Berezowski K, Stastny JF, Kornstein MJ. Cytokeratins 7 and 20 and carcinoembryonic antigen in ovarian and colonic carcinoma. Mod Pathol 1996;9(4):426-9.

Fukami T, Tsujioka H, Matsuoka S, Sorano S, Tohyama A,Yamamoto H, et al. Solitary transverse colon metastasis: a rare case of uterine cervical cancer recurrence. Eastern J Med 2016;21(2):98-100. doi: 10.5505/ejm.2016.40522

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23