การระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มีก้อนในช่องอกที่มาด้วย อาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจบีบรัดหัวใจ

การระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มีก้อนในช่องอก

ผู้แต่ง

  • ณัชฎา ศุภกิจเจริญ กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การระงับความรู้สึก, ก้อนในช่องอก, ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจบีบรัดหัวใจ

บทคัดย่อ

ก้อนในช่องอกเป็นภาวะที่ทางเดินหายใจและระบบหัวใจหลอดเลือดถูกกดเบียดทำให้อาจมีปัญหาขาดออกซิเจน ในเลือดและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เมื่อมารับการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด โดยเฉพาะ ในกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินร่วมด้วยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงและอัตราตายมากขึ้น รายงานผู้ป่วยฉบับนี้นำเสนอผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 68 ปีมีก้อนในช่องอก มะเร็งปอด และน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดด้านซ้าย มาด้วยอาการเหนื่อยหอบจากน้ำในช่องเยื่อหุ้ม หัวใจบีบรัดหัวใจ มารับการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดเปิดช่องอกระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วย หายใจชนิดดัดงอได้ในขณะตื่นด้วยกล้องไฟเบอร์ออพติกร่วมกับการให้ยาระงับความรู้สึกปริมาณน้อย หลังจากเริ่มปรับท่า จากกึ่งนั่งเป็นนอนหงายพบมีภาวะระบบไหลเวียนเลือดแย่ลง ได้แก้ไขด้วยการให้สารน้ำ ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือด ร่วมกับปรับท่าผู้ป่วยเป็นนอนตะแคงเอาด้านขวาลง ระบบไหลเวียนเลือดและการหายใจของผู้ป่วยดีขึ้น การผ่าตัดราบรื่น หลังผ่าตัดผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจไว้ร่วมกับการใส่เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและ สามารถถอดทอ่ ชว่ ยหายใจไดใ้ นวันที่ 3 หลังผา่ ตัด ทั้งนี้การศึกษาขอ้ มูลผูป้ ว่ ย การวางแผนการรักษา การเลือกเทคนิค ในการใส่ท่อช่วยหายใจและให้ยาระงับความรู้สึกอย่างเหมาะสมทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้อย่างปลอดภัย ไม่เกิดภาวะที่เป็นอันตราย และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

References

Wijeysundera DN, Finlayson E. Preoperative evaluation. In: Gropper MA, Eriksson LI, Fleisher LA, Wiener-Kronish JP, Cohen NH, Leslie K, editors. Miller’s Anesthesia. 9th ed. Philadelphia, Pennsylvania State, USA: Elsevier; 2020. p.918-98.

Eisenkraft JB, Cohen E, Neustein SM. Anesthesia for thoracic surgery. In: Barash PG, Cullen BF, Stoelting RK, Cahalan MK, Stock MC, Ortega R, editors. Clinical anesthesia. 7th ed. Philadelphia, Pennsylvania State, USA:Wolters Kluwer; 2013. p.1030-75.

Campos JH. Managing the patient with an anterior mediastinal mass [online]. 2008 [cited 2010 Dec 24]. Available from: http://www.anesth.uiowa.edu/portal/portals/19/images/symposia/aaw/2008/Anterior_Mediastinal_Mass.pdf

Chen SH, Hsu JC, Lui PW, Chen CH, Yang CY. Airway obstruction by a metastatic mediastinal tumor during anesthesia. Chang Gung Med J 2005;28(4):258-63.

Slinger P, Karsli C. Management of the patient with a large anterior mediastinal mass: recurring myths. Curr Opin Anaesthesiol 2007;20(1):1-3.

Chauin W, RatanasuwanYimyaem P, Chernbamrung P. Correlation of laryngoscopic view between awake and anesthetized looks in patients with suspected difficult intubation: a preliminary report. Srinagarind Med J 2014;29(2):108-14.

Thompson JE, Jaffe MB. Capnographic waveforms in the mechanically ventilated patient. Resp Care 2005;50(1):100-9.

McMahon CC, Rainey L, Fulton B, Conacher ID. Central airway compression. Anaesthetic and intensive care consequences. Anaesthesia 1997;52(2):158-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29