อัตราการเกิดโรคซ้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเอวีเอ็นอาร์ที หลังจี้ด้วยคลื่นวิทยุพลังงานต่ำ

อัตราการเกิดโรคซ้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเอวีเอ็นอาร์ที

ผู้แต่ง

  • สินีนาฏ อุ้ยคัชชะ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การลัดวงจรไฟฟ้าหัวใจแบบย้อนวน, การจี้ไฟฟ้าหัวใจ

บทคัดย่อ

การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยคลื่นวิทยุผ่านสายสวนเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดที่มีเส้นทางลัดวงจรไฟฟ้าแบบย้อนวนเอ วีเอ็นอาร์ทีเป็นวิธีมาตรฐานและมีรายงานการใช้ค่าพลังงานตั้งแต่ 20 ถึง 60 วัตต์ การศึกษาแบบพรรณนานี้ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนและการเกิดโรคซ้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเอวีเอ็นอาร์ทีที่ได้รับการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ ด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุความถี่สูงแบบพลังงานต่ำในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557  ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 จำนวน 160 คน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยพลังงานคลื่นวิทยุค่าพลังงานต่ำตั้งแต่ 30 ถึง  35 วัตต์เป็นเพศหญิง 131 คน (ร้อยละ 81.9) อายุเฉลี่ย 53.69 ปี เกิดหัวใจเต้นช้าระหว่างทำหัตถการร้อยละ 18.8 และผู้ป่วยทุกคน ไม่พบ AVNRT ภายใน 30 นาที หลังจี้ ผลการติดตามหลังการรักษา 3 เดือนและ 6 เดือนพบว่าอัตราการเกิดเอวีเอ็นอาร์ทีซ้ำเท่ากับ ร้อยละ 0.6 เกิดการนำไฟฟ้าจากหัวใจห้องล่างไปยังห้องบนช้าลงอย่างถาวร 3 คน (ร้อยละ 1.9) ซึ่งผู้ป่วยยินยอมใส่เครื่องกระตุ้น ไฟฟ้าหัวใจ 1 คน (ร้อยละ 0.6) สรุปได้ว่าการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอวีเอ็นอาร์ทีโดยวิธีจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วย คลื่นวิทยุความถี่สูงแบบพลังงานต่ำเป็นการรักษาที่ได้ผลสำเร็จและปลอดภัย 

References

1. Neumar RW, Otto CW, Link MS, Kronick SL, Shuster M, Callway CW, et al. Adult advanced cardiovascular life support: 2010 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care. Circulation
2010;122(18 Suppl 3):S729-67.

2. Medi C, Kalman JM, Freedman SB, Supraventricular tachycardia. MJA 2009;190(5):255-60.

3. Wongcharoen W, Phrommintikul A, editors. 210 question & answer in cardiovascular disease. Chiangmai, Thailand: Trickthink; 2020.

4. Aroonsiriwattana S. Treatment of radiofrequency ablation of cardiac arrhythmia in Suratthani Hospital. Region 11 Med J 2015;29(1):137-43.

5. Dechering DG, Schleberger R, Greiser E, Dickow J, Koebe J, Frommeyer G, et al. Outcome of slow pathway modulation for atrioventricular nodal reentrant tachycardia with 50 versus 30 watts more power, more effect. J Interv Card Electrophysiol 2018;52(2):157-61.

6. Harkness A, Ring L, Augustine D, Oxborough D, Robinson S, Sharma V, et al. Normal reference intervals for cardiac dimensions and function for use in echocardiographic practice: a guideline from the British Society of Echocardiography. Echo Res
Prac 2020;7(1):G1-18.

7. Musa T, Darrat Y, Etaee F, Butt M, Czarapata M, Mcmullen C, et al. Gender differences in management of patients undergoing catheter ablation of atrioventricular nodal reentry tachycardia. Pacing Clin Electrophysiol 2019;42(7):937-41.

8. Knight B, Ebinger M, Oral H, Kim M, Sticherling C, Pelosi F, et al. Diagnostic value of tachycardia features and pacing maneuvers during paroxysmal supraventricular tachycardia. J Am Coll Cardiol 2000;36(2):574-82.

9. Wu J, Deisenhofer I, Ammar S, Fichtner S, Reents T, Zhu P, et al. Acute and long term outcome after catheter ablation of supraventricular tachycardia in patients after the Mustard or Senning operation for d-TGA. EP Europace 2013;15(6):886-91.

10. Feldman A, Voskoboinik A, Kumar S, Spence S, Morton BJ, Kistler PM, et al. Predictors of acute and long term success of slow pathway ablation for atrioventricular nodal reentrant tachycardia. PACE 2011;34(8):927-33.

11. Shailesh F, Sewani A, Paydak H. Recurrent AV block following ablation for AVNRT. Indian Heart J 2014;66(6):710-3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30