ระยะเวลาหนีบหลอดเลือดเอออร์ตากับการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

ระยะเวลาหนีบหลอดเลือดเอออร์ตากับการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • นันทภูมิ เนียงคันทา ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, ระยะเวลาหนีบหลอดเลือดเอออร์ตา, ภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การผ่าตัดโดยการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมนั้นต้องหยุดหัวใจผู้ป่วยและหนีบหลอดเลือดเอออร์ตาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชั่วคราวและมีผลต่อภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ การศึกษาแบบวิเคราะห์ชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้ศึกษาข้อมูลย้อนหลังในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเปรียบเทียบการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรระหว่างระยะเวลาที่หนีบหลอดเลือดเอออร์ตา ซึ่งมีจำนวน 212 คน พบว่าระยะเวลาหนีบหลอดเลือดเอออร์ตาเฉลี่ย 112.9 นาที อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบในผู้ป่วยที่หนีบหลอดเลือดเอออร์ตา ≤ 90  นาทีมากกว่าในผู้ป่วยที่หนีบหลอดเลือดเอออร์ตา > 90 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อัตราตายหลังผ่าตัดใน 30 วัน (p = 0.019) และการใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจหลังผ่าตัด (p = 0.048) ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด การบำบัดทดแทนไต ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตินั้นไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาที่หนีบหลอดเลือดเอออร์ตา จึงควรนำข้อมูลนี้ประกอบการวางแผนที่รอบคอบในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังผ่าตัด

References

1. The Society of Thoracic Surgeons of Thailand. Statistical report 2001-2019 [Internet]. 2020 [cited 2020 Mar 2]. Available from: https://ststhai.org/en/stats/

2. Thongcharoen P, Laksanabunsong P. Coronary artery bypass grafting [Internet]. 2006 [cited 2020 Mar 2]. Available from:http://www.thaiheart.org/images/sub_1296823951/Coronary%20Artery%20By pass%20 Grafting.pdf

3. Sayasathid J. Common cardiac surgery. Phitsanulok, Thailand: Global Print Partnership; 2012.

4. Smith PK, Carrier M, Chen JC, Haverich A, Levy JH, Menasche P, et al. Effect of pexelizumab in coronary artery bypass graft surgery with extended aortic cross-clamp time. Ann Thorac Surg 2006;82(3):781-8.

5. Ruggieri VG, Bounader K, Verhoye JP, Onorati F, Rubino AS, Gatti G, et al.Prognostic impact of prolonged cross-clamp time in coronary artery bypass grafting. Heart Lung Circ 2018;27(12):1476-82.

6. Onorati F, De Feo M, Mastroroberto P, Cristodoro L, Pezzo F, Renzulli A, et al. Determinant and prognosis of myocardial damage after coronary artery bypass grafting. Ann Thorac Surg 2005;79:837-45.

7. Kijjanon N, Deebanklong S. A comparison of length of hospital stay and complications in patients with on-pump and off-pump coronary artery bypass surgery. Rama Nurs J 2011;17(3):358-70.

8. Borde D, Gandhe U, Hargave N, Pandey K, Khullar V. The application of European System for cardiac operative risk evaluation II (EuroSCORE II) and Society of Thoracic Surgeons (STS) risk-score for risk stratification in Indian patients undergoing cardiac surgery. Ann Card Anaesth 2013;16(3):163-6.

9. Siriratwarangkul S. Complications after open heart surgery at Suratthani Hospital. Thai J Anesthesiol 2020;46(1):7-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29