ความปลอดภัยในการฉีดยาม็อกซิฟลอกซาซินเข้าช่องหน้าลูกตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อในลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจก

การฉีดยาม็อกซิฟลอกซาซินเข้าช่องหน้าลูกตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อในลูกตา

ผู้แต่ง

  • ชิดชนก รุ่งรัตนาอุบล กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การติดเชื้อในลูกตา, การฉีดยาเข้าช่องหน้าลูกตา, ม็อกซิฟลอกซาซิน, การผ่าตัดสลายต้อกระจก

บทคัดย่อ

ภาวการณ์ติดเชื้อในลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกแม้เกิดได้น้อยแต่ทำให้เกิดภาวะพิการทางสายตาอย่างถาวรได้ มีผลงานวิจัยว่าการฉีดยาม็อกซิฟลอกซาซินเข้าช่องหน้าลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกสามารถป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้  การวิจัยแบบวิเคราะห์ชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยต่อลูกตาในการใช้ยาม็อกซิฟลอกซาซินฉีดเข้าช่องหน้าลูกตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกโดยศึกษาข้อมูลไปข้างหน้าระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจก 90 คน 100 ตา สุ่มด้วยวิธีจับฉลากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีจำนวนผู้ป่วย 50 ตา กลุ่มศึกษาจะได้รับยาม็อกซิฟลอกซาซิน 500 ไมโครกรัมต่อ 0.1 มิลลิลิตรฉีดเข้าช่องหน้าลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจก กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับยาฉีดม็อกซิฟลอกซาซินหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจก ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลินิกของทั้งสองกลุ่มก่อนผ่าตัดไม่แตกต่างกัน หลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ค่าการมองเห็นที่ดีที่สุด ค่าความดันลูกตา ค่าความหนาส่วนกลางกระจกตา จำนวนเซลล์กระจกตาชั้นใน และค่าความหนาจุดรับภาพชัดส่วนกลางจอตาของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน รวมทั้งไม่พบภาวะการติดเชื้อในลูกตาและภาวะ toxic anterior segment syndrome หลังผ่าตัดทั้ง 2 กลุ่ม สรุปได้ว่าไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาหยอดตา 0.5% ม็อกซิฟลอกซาซินฉีดเข้าช่องหน้าลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจก

References

1. Packer M, Chang DF, Dewey SH, Little BC, Mamalis N, Oetting, et al. Prevention, diagnostic and management of acute postoperative bacterial endophthalmitis. J Cataract Refract Surg 2011;37(9):1699-714.

2. Miller JJ, Scott IU, Flynn HW, Smiddy WE, Newton J, Miller D. Acue onset endophthalmitis after cataract surgery (2000-2004): incidence, clinical settings, and visual outcomes after treatment. Am J Ophthalmol 2005;139(6):983-7.

3. Endophthalmitis Vitrectomy Study Group. Results of the endophthalmitis vitrectomy study: a randomized trial of immediate vitrectomy and of intravenous antibiotics for the treatment of postoperative bacterial endophthalmitis. Arch Ophthalmol 1995;113(12):1479-96.

4. ESCRS Endophthalmitis Study Group. Prophylaxis of postoperative endophthalmitis following cataract surgery: result of the ESCRS multicenter study and identification of risk factors. J Cataract Refract Surg 2007;33(6):978-88.

5. Delyfer M-N, Rougier M-B, Leoni S, Zhang Q, Dalbon F, Colin J, et al. Ocular toxicity after intracameral injection of very high doses of cefuroxime during cataract surgery. J Cataract Refract Surg 2001;37(2):271-8.

6. Espiritu CR, Caparas VL, Bolinao JG. Safety of prophylactic intracameral moxifloxacin 0.5% ophthalmic solution in cataract surgery patients. J Cataract Refract Surg 2007;33(1):63-8.

7. Matsuura K, Miyoshi T, Suto C, Akura J, Inoue Y. Efficacy and safety of prophylactic intracameral moxifloxacin injection in Japan. J Cataract Refract Surg 2013;39(11):1702-6.

8. Koktekir BE, Aslan BS. Safety of prophylactic intracameral moxifloxacin use in cataract surgery. J Ocul Phamacol 2012;28(3):278-82.

9. Lane SS, Osher RH, Masket S, Belani S. Evaluation of the safety of prophylactic intracameral moxifloxacin in cataract surgery. J Cataract Refract Surg 2008;34(9):1451-59.

10. Arbisser LB. Safety of intracameral moxifloxacin for prophylaxis of endophthalmitis after cataract surgery. J Cataract Refract Surg 2008;34(7):1114-20.

11. Gardner SK. Ocular drug penetration and pharmacokinetic principles. In: Lamberts DW, Potter DE, editors, Clinical ophthalmic pharmacology. Boston, Massachusetts State, USA: Little, Brown and Company; 1987. p.1-52.

12. Stroman DW, Dajcs JJ, Cupp GA, Schlech BA. In vitro and in vivo potency of moxifloxacin and moxifloxacin ophthalmic solution 0.5%, a new topical fluoroquinolone. Surv Ophthalmol 2005;50(11):S16-31.

13. O'Brien TP, Arshinoff SA, Mah FS. Perspectives on antibiotics for postoperative endophthalmitis prophylaxis: potential role of moxifloxacin. J Cataract Refract Surg 2007;33(10):1790-800.

14. Andrew XZ, Wyatt BM, Steven S, Ambati BK. Safety of undiluted intracameral moxifloxacin without postoperative topical antibiotics in cataract surgery. Int Ophthalmol 2006;36(4):493-8.

15. Mamalis N. TASS associated with intracameral antibiotic injection [Internet]. 2013 [cited 2013 Sept 27]. Available from:URL:http://www.arcrs.org/Press-Releases

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-29