ประสิทธิภาพของอัตราการดึงน้ำและค่าอิเล็กโทรไลต์ระหว่าง Hemoconcentrator และ Dialyzer ด้วยแบบจำลองระบบไหลเวียนเลือดภายนอกร่างกาย

ประสิทธิภาพของอัตราการดึงน้ำและค่าอิเล็กโทรไลต์

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ จันทร์คำ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การกรองน้ำและสารละลายส่วนเกินในเลือด, ระบบไหลเวียนเลือดภายนอกร่างกาย, การผ่าตัด หัวใจชนิดเปิด

บทคัดย่อ

การใช้อุปกรณ์ดึงน้ำต่อกับวงจรของเครื่องหัวใจและปอดเทียมมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดปริมาณของ สารละลายส่วนเกินในการผ่าตัดหัวใจ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการดึงน้ำ ความเข้มข้น ของเลือด และค่าอิเล็กโทรไลต์ระหว่าง Hemoconcentrator และ Dialyzer โดยนำเลือดที่หมดอายุ 24 ถุงจาก ธนาคารเลือดมาผสมกับ acetar 2,200 มิลลิลิตรและเติม heparin ในทุกการทดลอง หลังจากนั้นนำเลือดที่ผสม ผ่านแบบจำลองระบบไหลเวียนเลือดภายนอกร่างกายและนำไปผ่าน Hemoconcentrator หรือ Dialyzer ด้วย อัตราเร็ว 300 มิลลิลิตร/นาทีเพื่อดึงน้ำ วัดอัตราการดึงน้ำ ค่าความเข้มข้นของเลือดและโพแทสเซียมที่ 30, 40 และ 80 นาที ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าอัตราการดึงน้ำโดยรวมและค่าความเข้มข้นของเลือดในกลุ่มที่ใช้ Hemoconcentrator เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ใช้ Dialyzer อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [766.17 ± 101.87 vs 103.58 ± 32.00 มล./นาที (p < 0.001) และร้อยละ 17.83 ± 6.91 vs 9.08 ± 1.24 (p = 0.001) ตามลำดับ] อย่างไรก็ตาม ค่าอิเล็กโทรไลต์ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่าควรใช้ Hemoconcentrator ดึงน้ำในขณะผ่าตัดหัวใจเพื่อลด ภาวะบวมน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำเกินในการใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกาย

References

The Society of Thoracic Surgeons of Thailand. Statistical report 2001-2019 [Internet]. 2020 [cited 2021 Oct 21]. Available from: https://thaists.org/en/stats/

Ziyaeifard M, Alizadehasl A, Massoumi G. Modified ultrafiltration during cardiopulmonary bypass and postoperative course of pediatric cardiac surgery. Res Cardiovasc Med 2014;3(2):e17830.doi:10.5812/cardiovascmed.17830

Heath M, Raghunathan K, Welsby I, Maxwell C. Using zero balance ultrafiltration with dialysate as a replacement fluid for hyperkalemia during cardiopulmonary bypass. J Extra CorporTechnol 2014;46(3):262-6.

Burnside JL, Ratliff TM, SalvatorA, Hodge AB. Albumin priming improves the efficiency of the Minntech HPH Jr. hemoconcentrator. Perfusion 2018;33(7):520-4.

Soliman R, Fouad E, Belghith M, Abdelmageed T. Conventional hemofiltration during cardiopulmonary bypass increases the serum lactate level in adult cardiac surgery. Ann Card Anaesth 2016;19(1):45-51. doi:10.4103/0971-9784.173019

Tagaya M, Matsuda M, Yakehiro M, Izutani H. Prospects for using a hemoconcentrator as an alternative hemodialysis method in cardiopulmonary bypass surgeries. Perfusion 2014;29(2):117-23.

O'Leary MF, Szklarski P, Klein TM, Young PP. Hemolysis of red blood cells after cell washing with different automated technologies: clinical implications in a neonatal cardiac surgery population. Transfusion 2011;51(5):955-60.

Saito D, Fujimaru T, Inoue Y, Hirayama T, Ezaki I, Kin H, et al. Serial measurement of electrolyte and citrate concentrations in blood-primed continuous hemodialysis circuits during closed-circuit dialysis. Pediatr Nephrol 2019;35(1):127-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30