ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอหลังได้รับรังสีรักษา

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา ช่วยแก้ว กลุ่มงาน โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน, รังสีรักษา, ฉายรังสี, มะเร็งศีรษะและลำคอ

บทคัดย่อ

ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลังและพบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา บริเวณศีรษะและลำคอ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาถึงอุบัติการณ์เกิดโรคในประเทศไทย การศึกษาแบบพรรณนานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์เกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษา และ ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะนี้ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษาใน โรงพยาบาลพุทธชินราชในช่วงตั้งแต่วันที่1มกราคม 2551-31 ธันวาคม 2559 การศึกษานี้มีผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ ลำคอที่ได้รับรังสีรักษาและมีผลตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์หลังสิ้นสุดการรักษา ทั้งหมด 151 ราย เป็นเพศชาย 123 ราย (81.46%) เพศหญิง 28 ราย (18.54%) อายุเฉลี่ย 60 ปี พบเป็นมะเร็งกล่องเสียงมากที่สุด มะเร็งหลังโพรงจมูก และมะเร็งคอหอยส่วนล่าง พบรองลงมา ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัดจำนวน 102 ราย (67.55%) รักษาร่วมกันทั้งสามวิธี 24 ราย(15.89%) ได้รับรังสีรักษาอย่างเดียว 23 ราย (15.23%) มีผู้ป่วยที่วินิจฉัย เป็นภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนและได้รับการรักษา 49 ราย (32.5%) มีอายุเฉลี่ย 59 ปี พบที่เวลาเฉลี่ย 23 เดือน (range 3-60เดือน) และเกิดได้มากที่สุดที่ระยะเวลา 1 ปีหลังสิ้นสุดการรักษา ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะนี้ คือ เพศชาย พบเกิดมากกว่าเพศหญิง 4 เท่า (p value = 0.009) แต่ไม่สัมพันธ์กับ อายุ (p = 0.060) ตำแหน่งของมะเร็ง (p = 0.216) วิธีการรักษาหลัก (p value= 0.520) การผ่าตัด (p = 0.238) หรือ เคมีบำบัด (p = 0.678) สรุปได้ว่า อุบัติการณ์เกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนภายหลังได้รับรังสีรักษาในการศึกษานี้ เท่ากับร้อยละ 32.5% เทียบเท่า กับหนึ่งในสามของผู้ปว่ ยทั้งหมด จึงควรใหค้ วามสำคัญในการคน้ หาโรคในผูป้ ว่ ยมะเร็งศีรษะและลำคอทุกรายที่ไดรั้บ รังสีรักษาและควรจัดทำแนวทางเพื่อสืบค้นโรคและการตรวจติดตามผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนและหลังได้รับรังสีรักษา

 

References

1. Alkan S, Baylancicek S, Ciftc?ic M, Sozen E, Dadas, B. Thyroid dysfunction after combined therapy for laryngeal cancer:a prospective study. Otolaryngol Head Neck Surg 2008;139:787-91.

2. Bhandare N, Kennedy L, Malyapa RS, Morris CG, Mendenhall WM. Primary and central hypothyroidism after radiotherapy for head and neck tumors. Int J Radiation Oncology Biol Phys 2007;68:1131-9.

3. Wu YH, Wang HM, Chen HH, Lin CY, Chen EY, Fan KH, et al. Hypothyroidism after radiotherapy fornasopharyngeal cancer patients. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2010;76:1133-9.

4. Lin Z, Wu VW, Lin J, Feng H, Chen L. A longitudinal study on the radiation-induced thyroid gland changes after external beam radiotherapy of nasopharyngeal carcinoma. Thyroid 2011;21(1):19-23.

5. Ory C, Ugolin N, Levalois C, Lacroix L, Caillou B, Bidart JM, et al. Gene expression signature discriminatessporadic from post-radiotherapy-induced thyroid tumors. Endocr Relat Cancer 2011;18: 193-206.

6. Vogelius IR, Bentzen SM, Maraldo MV, Petersen PM, Specht L. Risk factors for radiation induced hypothyroidism:a literature-based meta-analysis. Cancer 2011;117:5250-60.

7. กนกวุฒิ อนันต์สุขบรรณ. Incidence of hypothyroid in patient with nasopharyngeal cancer after radiotherapy. [cited2016 September 22]. Available from:URI: https://www.rcot.org/download/

8. Marjolein J. Boomsma,MD,Hendrik P. Bijl,MD.,et al.A prospective cohort study on radiation induced hypothyroidism development of an NTCP model.Int J Radiation Onco Biol Phys 2012;84:351-6.

9. Fujiwara M, Kamikonya N, Tanooka M, Miura H, Koi H, Terada T, et al. Hypothyroidism after radiation therapy for head and neck cancer:the retrospective DVH analysis of 75 patients volume of thyroid gland spared from doses can be a new dose constraint for treatment planning?. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2012;84(3):S52016.

10. Bakhshandeh M, Hashemi B, Mahdavi SR, Nikoofar A, Vasheghani M, Kazemnejad A. Normal tissue complication probability modeling of radiation induced hypothyroidism after head and neck radiation therapy. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2013;85:514-21.

11. Alterio D, Jereczek-Fossa BA, Franchi B, D'Onofrio A, Piazzi V, Rondi E, et al. Thyroid disorders in patients treated with radiotherapy for head?and?neck cancer:A retrospective analysis of seventy-three patients. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2007;67:144-50.

12. Srikantia N, Rishi KS, Janaki MG, Bilimagga RS, Ponni A, Rajeev AG, et al. How common is hypothyroidism after external radiotherapy to neck in head and neck cancer patients? Indian J Med Paediatr Oncol 2011;32(3):143-8.

13. Ling S, Bhatt AD, Brown NV, Nguyen P, Sipos JA, Chakravarti A, et al. Correlative study of dose to thyroid and incidence of subsequent dysfunction after head and neck radiation. Head Neck 2017;39(3):548-54.

14. Fan CY, Lin CS, Chao HL, Huang WY, Su YF, Lin KT, et al. Risk of hypothyroidism among patients with nasopharyngeal carcinoma treated with radiation therapy:A Population-Based Cohort Study. Radiother Oncol 2017;123(3):394-400.

15. Banipal R, Mahajan MK, Uppal B, John M. Thyroid diseases as a sequelae following treatment of head and neck cancer. Indian J Cancer 2011;48(2):194-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30