การคัดกรองวัณโรคปอดในกลุ่มเสี่ยง และประสิทธิภาพของแบบคัดกรอง อาการสงสัยวัณโรคปอด

ผู้แต่ง

  • Sasitorn Sripotong
  • Wiroj Wanapira
  • Wasana Ketma

คำสำคัญ:

การคัดกรอง, วัณโรคปอด, กลุ่มเสี่ยง, ประสิทธิภาพ, แบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรค

บทคัดย่อ

กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้การยุติปัญหาวัณโรคเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งการเร่งคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงจะ ช่วยลดอุบัติการณ์วัณโรคได้ การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการคัดกรอง วัณโรคปอดในกลุ่มเสี่ยง และประสิทธิภาพของแบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรคปอด เก็บข้อมูลย้อนหลังจาก แบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรคปอดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมพ.ศ.2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติพรรณนาใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ความไวความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ พบว่า เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 12,607 คน คัดกรองได้ 5,887 คน คิดเป็นร้อยละ 46.7 แยกราย กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปี เป้าหมาย 7,072 คน คัดกรองได้ 2,200 คน คิดเป็นร้อยละ 31.1ผู้ป่วย เบาหวานอายุมากกว่า 60 ปี เป้าหมาย 2,756 คน คัดกรองได้ 1,185 คน คิดเป็นร้อยละ42.9 และบุคลากรทาง การแพทย์ เป้าหมาย 2,779 คน คัดกรองได้ 2,502 คน คิดเป็นร้อยละ 90 จากการคัดกรองพบผู้สูงอายุ 3 คน และบุคลากรทางการแพทย์ 1 คน ป่วยเป็นวัณโรคปอด แบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรคปอดมีความไวร้อยละ 50 ความจำเพาะร้อยละ 99.83ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 16.67 และค่าทำนายผลลบร้อยละ 99.96 โดยสรุป แม้ว่า แบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรคปอดจะมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งานและมีค่าความจำเพาะสูงมาก แต่มีค่า ความไวค่อนข้างต่ำ จึงอาจไม่เหมาะกับการใช้คัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีอาการสงสัยวัณโรคแบบตั้งรับที่สถานบริการ สาธารณสุข

Author Biographies

Sasitorn Sripotong

กลุ่มงานเวชกรรมสังคมและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

Wiroj Wanapira

กลุ่มงานเวชกรรมสังคมและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

Wasana Ketma

กลุ่มงานเวชกรรมสังคมและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-04